ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

รับหรือไม่รับ


การรับ หรือไม่รับ สำหรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยวันที่ 19 สิงหาคม 2550 นั้นคงขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนคนไทยแล้วหละครับว่าท่านเห็นเป็นอย่างไร....แต่ที่สำคัญท่านอย่าลืมไปใช้สิทธิ์ และไตร่ตรองตามวิจารณญาณของท่านนะครับ

คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วนะครับว่า....ในวันพรุ่งนี้ (19 สิงหาคม 2550) นั้น เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างมากต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วประเทศ เพราะเป็นวันชี้ชตาของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติ ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านสำหรับร่างดังกล่าว

ดังนั้น พวกเราชาวเกษตรประณีต (Praneet Agriculture) จึงใคร่ขอเรียนเชิญพี่น้องผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ หรือผู้ที่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนทุกท่าน อย่านอนหลับทับสิทธิ์นะครับ จงไปสิทธิ์ของท่านในการลงมติเพื่อแสดงความคิดเห็นของท่าน สำหรับจะรับ หรือไม่รับร่างนั้น ก็คงอยู่ในดุลพินิจของท่าน อันจะนำมาซึ่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

 แต่เมื่อย้อนกลับมาดูด้านการทำเกษตรประณีต ของสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานนั่นสิครับ...ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการด้านการจัดการความรู้ ด้านการขยายตัวของแนวคิด เพราะจากที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสก็พบว่าแนวคิดนี้ คนส่วนมากบอกว่าดี แต่จากปรากฏการณ์ที่ผมมองตามเนื้อหากิจกรรมก็ดูว่าเหมือนจะดี แต่ก็ย้อนถามตัวเองครับว่า...เอ ถ้าชาวบ้านบอกว่าดี ทำไมพี่น้องเกษตรกรโดยรวม หรือคนที่มีที่ดินอยู่ติดกันไม่ทำตามล่ะ  นั่นหมายความว่าที่เขาไม่ทำ หรือที่ทำแล้วเลิกทำในภายหลังแสดงว่าเขาไม่ยอมรับใช่หรือไม่ 

เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้ผมเกิดข้อสงสัยอย่างยิ่งครับว่าแล้วจากแนวทางการส่งเสริมของเครือข่ายปราชญ์ฯล่ะ จะทำอย่างไรจึงจะขยายแนวคิดออกไปได้ ผมจึงได้ลองสืบค้นดูจากคนที่ทำ และทำแล้วเลิกทำภายหลัง หรือที่เรียกว่าไม่ยอมรับ (Adoption) นั่นเอง จึงได้คำตอบในเบื้องต้นครับว่า

1. เงื่อนไขที่ทำเกษตรประณีต (Praneet  Agriculture)  ประกอบด้วย

   1) ใช้พื้นที่น้อย ดูแลได้ทั่ถึง มีความเหมาะสมกับแรงงานที่มีอยู่

   2) ประหยัดพื้นที่ นั่นหมายความว่ามีพื้นที่น้อยๆ ก็สามารถทำการผลิตเพื่อให้พออยู่พอกินในครอบครัวได้

   3) เป็นแบบอย่าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนอื่นๆ มาร่วมเรียนรู้ได้ด้วย

   4) ได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพของตนเองอยู่ตลอดเวลา

   5) มีสุขภาพที่ดี เนื่องจากเกษตรกรที่ทำเกษตรประณีตจะเน้นการผลิตที่ปลอดสารเคี จึงทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนั้นยังได้ออกกำลังกายในการทำกิจกรรมการผลิต จึงส่งผลให้มีสุขภาพดีตามไปด้วย

2. เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าปัญหาของการทำเกษตรประณีตสำหรับพี่น้องเกษตรกรคือ

   1) ไม่มีแหล่งน้ำ จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้พบว่าการจัดการความรู้เรื่องน้ำในการเกษตรมีความสำคัญยิ่งนัก เพราะจากการศึกษาในเชิงพื้นที่พบว่ากิจกรรมที่พี่น้องทำส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการปลูกพืช เช่น พืชผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น และปศุสัตว์ ซึ่งทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ดังนั้นเมื่อขาดน้ำ หรือน้ำไม่พอใช้ก็ไม่สามารถทำการผลิตได้

   2) ขาดเงินทุน นับได้ว่าเป็นปัญหาพื้นฐานที่มีความสอดคล้องกับพี่น้องเกษตรกรที่ทำการผลิตในทุกระบบ ดังนั้นจึงทำให้การขยายตัวเป็นไปได้ช้า

   3) ขาดแรงงาน นับเป็นปัญหาหลักเช่นกันที่พบในทุกระบบ

   4) ผลผลิตขายไม่ได้ เนื่องจากการผลิตพืชผักของพี่น้องเกษตรกรทำการผลิตพืชที่เหมือนๆ กัน จึงไม่มีใครซื้อกิน หรือหากมีก็ไม่คุ้มกับการที่จะไปขาย

   5) ขาดทักษะการขาย เนื่องจากผลิตได้แล้วก็กินกันเอง แต่มีบางส่วนที่เหลือก็ไม่รู้จะไปขายที่ไหน อย่างไร

   6) มีรายได้ไม่พอรายจ่าย เนื่องจากการผลิตในระบบนี้มีเพียงได้อยู่ได้กิน ผลผลิตได้น้อย และช้า จึงทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายประจำวัน

ครับจากประเด็นของการยอมรับ และไม่ยอมรับแนวคิดการทำเกษตรประณีตของพี่น้องเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ บางท่านอาจจะนึกในใจครับว่าก็เป็นเหมือนๆ กันนั่นแหละ การส่งเสริมอาชีพไหนๆ ที่ว่าดีสุดท้ายก็ล้มไม่เป็นท่า...และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงละครับเราจะทำอย่างไรดี เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้มีอยู่มีกินอย่างมีความสุข...จึงเป็นประเด็นที่ใคร่ขอแลกเปลี่ยนกับท่านผู้รู้ทุกๆ ท่านครับว่าเราจะทำอย่างไร? จึงจะทำให้แนวคิดต่างๆที่ว่าดีนั้นเกิดการยอมรับ และแพร่หลายต่อไป

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

18 สิงหาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 120552เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท