โรงเรียนสุขานารี
โรงเรียน สุขานารี สพท.นครราชสีมาเขต1

โกะ คืออะไร


เรียนโกะ เก่งงาน รู้จัดการชีวิต

เรียนโกะ  เก่งงาน  รู้จัดการชีวิต  เป็นคำขวัญประจำสมาคมกีฬาหมากล้อม (โกะ) แห่งประเทศไทย  แสดงว่าการเล่นหมากล้อมจะส่งผลให้ทำงานเก่ง (คิดวิเคราะห์) และยังสามารถดำเนินชีวิต(ในอนาคต)ได้อย่างมีความสุข         ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสุขานารี  จึงเห็นความสำคัญในการที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเล่นเกมหมากล้อมหรือโกะนั่นเอง  โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ"การพัฒนากระบวนการคืดวิเคราะห์ด้วยเกม และเทคนิคการคิดเลขเร็ว" โดยการจัดอบรมการเล่นและแข่งขันการเล่นโกะ ขึ้นในวันที่  27 กรกฏาคม  2550   ผลจากการอบรมนักเรียนมีความสนใจและต้องการที่จะเล่นหมากล้อมมากขึ้น  โรงเรียนสุจานารี จึงจะจัดตั้งสมาคมหมากล้อมขึ้นต่อไป          ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจท่าน ๆ อื่น ๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสุขานารี จึงยินดีที่จะเผยแพร่กฏกติกาการเล่นหมากล้อม (โกะ)ต่อไป  

โกะคืออะไร  หมากล้อมหรือเรียกอีกอย่างว่าโกะ  เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมานานกว่า 3,000 ปี และมีเอกลักษณฺเฉพาะตัวที่โดเด่นมาก จนกระทั่งได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 ของศิลปะประจำชาติของจีน อันได้แก่ ดนตรี การวาดภาพ การเขียนตัวอักษรและ หมากล้อม

      กระดานโกะมาตรฐานจะมีเส้นตั้ง 19 เส้น ตัดกับเส้นนอน 19 เส้น เกิดเป็นจุด 361 จุด ผู้เล่นมี 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถือหมากดำ อีกฝ่ายหนึ่งถือหมากขาว  เมื่อเริ่มเล่นจะเริ่มต้นโดยผลัดกันวางหมากของตนครั้งละ 1 เม็ด ตรงจุดตัดจุดใด ๆ ก็ได้ที่ว่างอยู่บนกระดาน ปกติแล้วผู้ที่ถือหมากดำจะเป็นผู้ที่เริ่มวางหมากเม็ดแรกก่อน และเพือเป็นการชดเชยการเสียเปรียบของผู้ถือหมากขาว เมื่อนับคะแนนตอนจบเกมผู้ที่ถือหมากดำจะต้องให้แต้มกับผู้ถือหมากขาว 5 แต้มครึ่ง สำหรับผู้เล่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน

กฎกติกาการเล่นหมากล้อม (โกะ)

แบ่งได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ ดังนี้

1. เป้าหมายการเล่นหมากล้อม คือ เล่นหรือวางหมากบนจุดตัดของเส้น เพื่อยึดครองพื้นที่บนกระดานให้เกินครึ่งหนึ่งหรือมากกว่า 181 จุดขึ้นไป  สาวนการนับคะแนนเมื่อจบเกม จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อหมากดำและหมากขาวไม่มีจุดตัดที่สามารถวางได้ต่อไปอีก เพราะในแต่ละพื้นที่บนกระดานจะถูกครอบครองจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว  สำหรับหมากของแต่ละฝ่ายที่ถูกกินเป็นเชลยจะถูกเก็บมาไว้นอกกระดาน

การนับคะแนน  แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1. การนับคะแนนแบบจีน

คำสำคัญ (Tags): #หมากล้อม
หมายเลขบันทึก: 119506เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

อยากลองเล่นโกะดูจังเลยค่ะ คงต้องมาขอคำแนะนำจากบล็อกนี้ซะแล้ว ขอบคุณมากนะคะ 

สวัสดีค่ะ 

สนับสนุนไห้นักเรียนเล่นหมากโกะ  ค่ะ

ทาบมาว่าช่วยพัฒนาการคิดแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์

เป็นหมากชั้นสูงของคนในวังสมัยจีนโบราณ

 

 

มีข้อสงสัยถามได้นะครับ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบเล่นหมากล้อม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท