เวชกรรมแผนโบราณ


โรคไข้พิษต่าง ๆ

ไข้พิษไข้กาฬต่างๆ

คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลักษณะอาการ การรักษาไข้พิษไข้กาฬต่างๆ ซึ่งจำแนกไว้หลายอย่าง โรคไข้พิษไข้กาฬต่างๆ ที่กล่าวในคัมภีร์ตักศิลา มีดังนี้

ไข้กาฬ o จำพวก

                ไข้กาฬ คือ จำพวกโลหิตพิการเป็นพิษอย่างร้ายแรง มีรอยโรคที่ผุดออกมาภายนอก เป็นจุดแดงดำ ไม่มียอด เท่าเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วดำ หรือเป็นวงโตขนาด ๑-๓ นิ้ว ผุดเป็นเม็ดเสมอผิวหนัง ในผิวหนัง ในเนื้อ  ส่วนรอยโรคที่ผุดที่อวัยวะภายใน ถ้าผุดขึ้นที่ใด ทำให้ที่นั่นบวมหรืออ่อนเหลวไป อาการไข้จะเกิดขึ้นหรือหลังรอยโรคที่ผุดขึ้นภายนอกก็ได้ คนไข้ตัวร้อนจัดนอนซบเซาไม่ลืมหูลืมตา มีพิษร้อนภายในเป็นกำลัง มักจะตายใน ๓๑๑ วัน เมื่อตายแล้วจะเห็นตามผิวหนังเป็นแผ่น เป็นแว่นเป็นวง สีแดงไหม้เกรียม เล็บมือเท้าดำ ริมฝีปากดำไหม้ ขอบตาก็มีสีดำเช่นกัน ไข้เหล่านี้ได้แก่

. ไข้ประกายดาษ                                .  ไข้เริมน้ำค้าง

. ไข้ประกายเพลิง                               .  ไข้เริมน้ำข้าว

. ไข้ออกหัด                                          .  ไข้ลำลาบเพลิง

. ไข้ออกเหือด                                       .  ไข้ไฟลามทุ่ง

. ไข้งูสวัด (หรือตวัด)                           o.ไข้กำแพงทะลาย

 

ไข้ประดง ๘ จำพวก

                ไข้ประดง ๘ ประการนี้ มีอาการคล้ายคลึงกันคือ ตัวร้อนดังเปลวไฟ แต่มือเท้าเย็น ปวดศรีษะมาก เมื่อยในกระดูก เจ็บเสียวทั่วตัว สะท้านร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว เพ้อพกกลุ้มใจ ปากลิ้นแห้ง ปากเปื่อย ปากขม ปากหวาน คอแห้ง ร้อนในกระหายน้ำ หอบ สะอึก

. ไข้ประดงมด                                      . ไข้ประดงลิง

. ไข้ประดงช้าง                                     . ไข้ประดงแมว

. ไข้ประดงควาย                                 . ไข้ประดงแรด

. ไข้ประดงวัว                                       . ไข้ประดงไฟ

 

ลักษณะอาการของไข้พิษไข้กาฬ

การจับไข้                คนไข้อาจรู้สึกเป็นปกติดี แล้วมีผื่นผุดจากภายใน หรือเป็นไข้ 1-3 วันก่อน ทำพิษต่างๆ แล้วผื่นจึงผุดขึ้นมา หรือผื่นผุดขึ้นมา ๑-๓ วันก่อนแล้วจึงมีไข้ก็ได้

ลักษณะผื่น            ผุดขึ้นมาเป็นแว่น เป็นวง เป็นเม็ด หรือเป็นเม็ดทรายทั่วตัว มีสีแดง สีดำ สีเขียว หรือสีคราม

ถ้าผื่นยังอยู่ลึก ยังไม่ผุด ให้เอาเทียนส่องดู

อาการ                    แล้วแต่กรณี อาจถ่ายอุจจาระเป็นมูกเป็นเลือด ไม่ถ่ายปัสสาวะ บ้างอาเจียนเป็นเลือด บ้างชักคางแข็ง ตาเหลือกตากลับ ในบางรายอาจมีอาการดีซ่าน เหลืองไปทั้งตัว

ไข้ทำพิษ หรือพิษกระทำภายใน มักมีอาการตัวร้อนดังเปลว (ไข้สูง) ร้อนในกระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ฟันแห้ง (อาการของการขาดน้ำ) ตาแดงดังโลหิต หอบ สะอึก ลิ้นกระด้างคางแข็ง (จากไข้สูง โดยไม่มีอาการชักก็ได้) เชื่อมมัว เพ้อ ชัก และหมดสติ

 

การรักษาไข้พิษไข้กาฬ

มีข้อห้ามหลายประการดังนี้

๑.      ห้าม วางยารสร้อน รสเผ็ด รสเปรี้ยว

๒.      ห้าม นวดและประคบ

๓.      ห้าม ถูกน้ำมันและเหล้า

๔.      ห้าม อาบน้ำร้อน

๕.      ห้าม กินน้ำร้อน กะทิ น้ำมัน ส้ม (ที่เปลือกมีน้ำมันระเหยหอม เมื่อปอกมีลักษณะเป็นควันออกมา)

๖.      ห้าม ปล่อยปลิงมาดูดเลือด (ห้ามเอาโลหิตออก)

ถ้าไม่รู้กระทำผิดดังกล่าวมานี้ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้

 

ยารักษาไข้พิษไข้กาฬ

ให้แพทย์ใช้ยากระทุ้งพิษให้สิ้น ถ้ากระทุ้งพิษไม่หมด ก็จะกลับลงไปกินตับกินปอด ให้ถ่ายออกมาเป็นโลหิตเสมหะ ทำพิษต่างๆ ถ้ารักษาดีก็มีโอกาสรอด ถ้ารักษาไม่ดีก็ตาย ดั้งนั้นแพทย์เมื่อจะกระทุ้งพิษ ให้ไข้พิษไข้กาฬออกมานั้น จะต้องใช้ยาชื่อ ยา ๕ ราก (ยายาเบญจโลกะวิเชียร) และยาอื่นๆ ตามลำดับดังนี้

ยากระทุ้งพิษ        มี ๑ ขนาน เป็นยากิน (ยา ๕ ราก)

                                ประกอบด้วยตัวยาและสัดส่วน ดังนี้

๑.      รากชิงชี่

๒.      รากหญ้านาง

๓.      รากคนทา

๔.      รากเท้ายายม่อม

๕.      รากมะเดื่อชุมพร

ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละเสมอภาคกัน

วิธีทำและขนาดรับประทาน เติมน้ำ ๓ ส่วน ต้มให้เหลือ ๑ ส่วน เอาน้ำดื่ม ครั้งละครึ่ง ถึง ๑ ถ้วยกาแฟหรือ บดเป็นผงละลายน้ำร้อน หรือปั้นเม็ดขนาดลูกมะแว้งไว้ รับประทานครั้งละ ๓-๗ เม็ด ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าไข้สูง เพิ่มก่อนนอนอีก ๑ ครั้ง แล้วตามด้วยยาประสะกระทุ้งภายนอก

สรรพคุณ กระทุ้งพิษไข้ ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ตัวร้อน แก้อาการลิ้นกระด้างคางแข็ง หรือเป็นไปต่างๆเนื่องจากเป็นไข้ทับระดู หรือกินของแสลง ทำพิษให้อาจถึงตาย ก่อนให้ยาแก้ไข้ทับระดูต่อไป

                ยาประสะกระทุ้งภายนอก มี ๔ ขนาน เป็นยาพ่น ๒ ขนาน ทั้งกินทั้งพ่น ๒ ขนาน

                                ขนานที่ ๑ เป็นยาพ่น ประกอบด้วย

๑.      ใบย่านาง

๒.      ใบมะขาม

๓.      เถาวัลย์เปรียง

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ละลายน้ำซาวข้าวพ่น ถ้ายังมิดีขึ้น กระทำพิษให้ตัวร้อนเป็นเปลวไฟ ถ้าตัวร้อนจัดให้แต่งยาขนานต่อไป

                                ขนานที่ ๒  เป็นยากินยาพ่น ประกอบด้วย

๑.      เถาขี้กาแดง เอาทั้งเถา ใบ และราก

๒.      เถาย่านาง    เอาทั้งเถา ใบ และราก

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกดินประสิวพอควร ละลายน้ำซาวข้าวทั้งให้กินและพ่นภายนอก เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้ใช้ยาขนานต่อไปนี้

                                ขนานที่ ๓ เป็นยากินยาพ่น ประกอบด้วย

๑.      ใบทองหลางใบมน

๒.      เปลือกทองหลางใบมน

๓.      ข้าวสาร

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ทั้งกินทั้งพ่น เมื่อได้ใช้ยากินกระทุ้งภายในและพ่นภายนอกแล้ว ก็ได้ต้มยากินรักษาภายในอีกด้วย ดังต่อไปนี้

                                ขนานที่ ๔ ยาแปรไข้ มีดังนี้

๑.      ใบมะยม        

๒.      ใบคนทีสอ

๓.      ใบมะนาว

๔.      ใบหมากผู้

๕.      หญ้าแพรก

๖.      ขมิ้นอ้อย

๗.      ใบมะกรูด

๘.      ใบมะเฟือง

๙.      ใบมะตูม

๑๐.  ใบหมากเมีย

๑๑.  หญ้าปากควาย

ยาทั้งนี้หนักสิ่งละเสมอภาค บดละลายน้ำซาวข้าว รับประทานแปรไข้จากร้ายเป็นดี นอกจากยารับประทานแปรไข้ภายในแล้ว ยังมีพ่นแปรพิษภายนอกอีกคือ

                                                ขนานที่ ๕ ยาพ่นแปรผิวภายนอก มีดั้งนี้

๑.      รังหมาร่าที่ค้างแรมปี

๒.      หญ้าแพรก

๓.      หญ้าปากควาย

๔.      ใบมะเฟือง

ยาทั้งนี้หนักละเสมอภาคบดปั้นเม็ด เอาน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย พ่นเพียง ๓ ครั้งเท่านั้น เมื่อได้ทำการรักษาเป็นระยะมาแล้ว อาการไข้ดีขึ้นตามลำดับ ก็ควรให้กินยารักษาไข้เฉพาะ เรียกว่า ยาครอบไข้ตักศิลา มีดังนี้

                ยาครอบไข้ตักกะศิลา ประกอบด้วยตัวยา ดังนี้

๑.  จันทน์แดง

๒. จันทน์ขาว

๓.   ใบสวาด

๔.   หัวคล้า

๕.  ง้วนหมู

๖.  รากสะแก

๗.  กฤษณา

๘.    รากจิงจ้อ

๙.     รากฟักข้าว

๑๐.  ข้าวไหม้

๑๑.  ใบผักหวานบ้าน

๑๒.  เถาย่านาง

๑๓.  ใบมะนาว

๑๔.  กระลำพัก

ยาทั้งนี้หนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกพิมเสนพอควร ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย รับประทานเป็นยารักษาภายใน รับประทานเป็นประจำจนกว่าจะหาย

  ไข้กาฬ ๑o จำพวก

๑.      ไข้ประกายดาษ ลักษณะการผุด ผุดข้นมาเหมือนเม็ดฝีดาษทั่วทั้งตัว ทำพิษให้สลบ

อาการ จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว จับเท้าเย็นมือเย็น ปวดศรีษะ ตาแดงดังโลหิต เชื่อมซึมปวดในเนื้อในกระดูก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ให้หอบให้สะอึก

๒.      ไข้ประกายเพลิง ลักษณะการผุด ผุดขึ้นมาเหมือนประกายดาษ แต่เม็ดผิดกัน เม็ดใหญ่กว่าเม็ดทรายขึ้นทั่วทั้งตัว

อาการเหมือนประกายดาษ ร้อนเป็นไฟ ศรีษะนั้นร้อนเป็นไฟ เหมือนไฟลวก ทำพิษมาก

๓.      ไข้ออกหัด ลักษณะการผุด ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆ ถ้าหลบเข้าไปในท้องให้ลง

อาการ จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว เชื่อมซึม เชื่อมมัว ให้ปวดศรีษะอยู่วันหนึ่งหรือสองวัน จึงมีเม็ดผุดขึ้นมา

มักพบในเด็กขาดอาหารหรืออ่อนแอ ที่พบบ่อยคือ ปอดอักเสบ ท้องเดิน ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคอื่นต่อไปง่ายขึ้น

๔.      ไข้ออกเหือด (หัดเยอรมัน) ลักษณะการผุด ผื่นอาจผุดขึ้นในวันเดียวกับที่มีไข้ หรือหลังมีไข้ ๑-๒ วัน ผื่นมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป เริ่มขึ้นที่หน้าผากตรงชายผม รอบปากและใบหูก่อน แล้วลงที่คอ ลำตัว และแขนขา อาจคันหรือไม่คันก็ได้ ผื่นจะจางหายไปโดยเร็ว และไม่ทิ้งรอยแต้มดำๆ ไว้ให้เห็นเหมือนผื่นของหัด

อาการโดยทั่วไปมักไม่ค่อยรุนแรง  บางคนอาจมีผื่นโดยไม่มีไข้หรือมีไข้โดยไม่มีผื่นก็ได้ ถ้ามีไข้ก็เป็นไข้ต่ำๆ ถึงปานกลาง คลำพบเม็ดน้ำเหลืองโตตรงหลังหู  หลังคอ และท้ายทอย

ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์ในระยะ ๓ เดือนแรก อาจทำให้ทารกพิการได้ มักแนะนำให้ทำแท้ง

๕.      ไข้งูสวัด (ตวัด) ลักษณะการผุด เป็นเม็ดทรายขึ้นมาเป็นแถว มีสัณฐานเหมือนงูเป็นเม็ดพองๆ เป็นเงาหนองก็มี ถ้าหญิงเป็นซ้ายชายเป็นขวา และถ้าข้ามสันหลังไปรักษาไม่ได้ (ตาย)

อาการ จับสะบัดร้อนสะบัดหนาว บางทีปวดศรีษะ บางทีก็ไม่มีไข้ ปวดตามผิวกาย โดยเฉพาะตามแนวเส้นประสาทที่จะเกิดเป็นงูสวัด อาจปวดมากหรือปวดแสบปวดร้อนคล้ายถูกไฟไหม้ ประมาณ ๓๔วันต่อมา ผื่นจะขึ้น เม็ดน้ำเหลืองที่รักแร้และคอมักโตและเจ็บ

ถ้าเกิดขึ้นที่ตาดำ อาจทำให้อักเสบเป็นแผล ถึงกับตาบอดได้ นอกจากนี้ ถ้าเป็นที่หน้าอาจพบ อาการปากเบี้ยวชั่วคราวได้

,ไข้เริมน้ำค้าง, ไข้เริมน้ำข้าว ลักษณะการผุด ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดน้ำใสๆ ขนาด ๒-๓ มม. อยู่กันเป็นกลุ่มโตขนาด ๑-๔ นิ้ว โดยรอบจะเป็นผื่นแดง เรียกว่า เริมน้ำค้าง ต่อมาน้ำใสๆ จะกลายเป็นสีเหลืองขุ่น เรียกว่า เริมน้ำข้าว แล้วแตกกลายเป็นสะเก็ด หายไปได้เองใน ๑-๒ สัปดาห์  ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ริมฝีปาก แก้ม จมูก ตา ก้น และอวัยวะสืบพันธุ์

อาการ มีอาการแสบๆ คันๆ นำมาก่อนเล็กน้อย จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ปวดศรีษะ

อาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ทำให้กลายเป็นหนองพุพอง ถ้าเป็นที่ตาดำ อาจทำให้อักเสบถึงบอดได้ ถ้าเป็นกับหญิงใกล้คลอด ทารกอาจติดเชื้อเริมขณะคลอดและอาจมีอาการรุนแรงถึงตายได้ จึงควรผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง เชื้อไวรัสเริมอาจผ่านรกไปสู่ทารก ทำให้ทารกพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้

    ,ไข้ลำลาบเพลิง, ไข้ไฟลามทุ่ง   ลักษณะการผุด ผุดขึ้นมาเป็นจุดเล็กๆ ก่อน แล้วจะลามแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ ผิวหนังในบริเวณนั้นจะนูนเป็นขอบแยกออกจากผิวหนังที่ปกติอย่างชัดเจน เมื่อกดลงบริเวณนั้นสีจะจางลง และมีรอยบุ๋มเล็กน้อย ถ้าเป็นมากอาจมีตุ่มน้ำพอง

มักเกิดที่บริเวณหน้า ที่แก้มข้างเดียวหรือสองข้าง หรืออาจเกิดที่แขนขา ถ้าเป็นบ่อย อาจทำให้ท่อน้ำเหลืองมีอาการพองตัวอย่างถาวร ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นขรุขระ

อาการ มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน เริ่มแรกจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการปวดบวมแดงร้อนที่ผิวหนัง ในคัมภีร์ว่า ถ้าวางยาไม่ดี น้ำเหลืองแตกตาย

เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้โลหิตเป็นพิษ ถ้าเป็นในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้

  o. ไข้กำแพงทะลาย เป็นฝี แล้วผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบลุกลาม มีเม็ดขึ้นมาหัวเดียว มีพิษมาก ให้ฟกบวม น้ำเหลืองแตกออก พังออก ถ้ารักษาไม่หยุดพังออก ถึงตายได้

อาการ สะท้านร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ร้อนใน กระหายน้ำ

 

ไข้ประดง ๘ จำพวก

๑.      ไข้ประดงมด   ผุดขึ้นมาเหมือนยุงกัดทั่วตัว ทำให้คันและแสบร้อน

๒.      ไข้ประดงช้าง  ผุดขึ้นมาเหมือนผิวมะกรูด ทำพิษให้คัน และปวดแสบปวดร้อน

๓.      ไข้ประดงควาย ผุดขึ้นมาเหมือนเงาหนอง ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน

๔.      ไข้ประดงวัว    ผุดขึ้นมาเหมือนผลมะยมสุก ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน

๕.      ไข้ประดงลิง    ผุดขึ้นมาเหมือนเมล็ดข้าวสารคั่ว ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน

๖.      ไข้ประดงแมว ผุดขึ้นมามีสัณฐานดังตาปลา ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน

๗.      ไข้ประดงแรด ผุดขึ้นมามีสัณฐานดังหนังแรด แล้วคล้ำเป็นดำ แตกเป็นเกล็ดดังหนังแรด ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน

๘.      ไข้ประดงไฟ    ผุดขึ้นมาเหมือนไข้ระบุชาด มีเม็ดแดง ยอดดำ จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว เชื่อมซึม กระหายน้ำมาก

 

ไข้ประดงทั้ง ๘ ประการนี้ ให้เร่งวางยาดับพิษและยากระทุ้งพิษกาฬ อย่าให้พิษกลับเข้าในกระดูก ถ้ากระทุ้งพิษออกไม่หมด กลับทำพิษคุดในข้อในกระดูก กลายเป็นโรคเรื้อน เป็นลมจับโปง และลมประโคมหิน ให้บวมไปทุกข้อทุกลำ ไหวตัวมิได้ ร้อนทั้งกลางวันกลางคืนราวคอจะแตก

สำหรับไข้ประดงแรดนั้น เมื่อแก้พิษตกคลายไปปีหนึ่ง เป็นเม็ดยอดไม่หาย กลายไปทำพิษ มีอาการคัน ผิวหนังหนาดังหนังแรด อาการให้คลายลงอีกปีหนึ่ง แล้วให้ตกโลหิต กินตับปอดขาดออกมาตาย

  ที่มา: แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์              
คำสำคัญ (Tags): #โรค#ไข้พิษ
หมายเลขบันทึก: 118830เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท