กิจกรรมตรวจสอบเครื่องมือ


รู้เครื่อง รู้ใช้ รู้ใจ รู้รักษา รู้พัฒนา หน้าที่นักรังสีเทคนิค

สวัสดีครับ

วันนี้ได้พานักศึกษารังสีเทคนิคฝึกปฏิบัติ

หัวข้อ การตรวจสอบเครื่องเอกซเรย์เบื้องต้น

qc 1

การตรวจสอบเครื่องเอกซเรย์เบื้องต้น ต้องทำอะไรบ้าง?

qc 2

1.ตรวจรายละเอียดของเครื่องที่จะใช้งาน ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทผู้ผลิต รุ่นที่ผลิต หมายเลขเครื่อง หมายเลขครุภัณฑ์ รวมถึงขนาดของไส้หลอดเอกซเรย์และแผ่นกรองรังสี เป็นต้น (ข้อนี้ไม่ต้องทำทุกวัน แต่ควรมีการจัดทำเป็นเอกสารคู่มือประจำเครื่อง)

2.ส่วนประกอบดังกล่าวในข้อ 1 มีการทำงานส่วนใดที่ผิดปกติ(ที่สามารถมองเห็น)หรือไม่ ส่วนใดชำรุด ขาดหาย บกพร่อง หรือไม่ จากนั้นจดบันทึกไว้ เช่น มีหลอดไฟตำแหน่งใดเปิดไม่ติดหรือไม่ มีคราบสิ่งสกปรก รอยแตกร้าว บริเวณที่ต้องใช้มือจับหรือไม่ ระบบล็อกต่างๆทำงานปกติหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น ในทางปฏิบัติ หากพบว่ามีส่วนใดผิดปกติ ให้ทำบันทึก เพื่อดำเนินการแจ้งผู้รับผิดชอบและแจ้งซ่อมต่อไป

3.การทำอย่างนี้ ควรจัดทำเอกสารบันทึกเป็นประจำวัน โดยเฉพาะก่อนใช้งานในแต่ละวัน

นอกจากนี้ควรเก็บเครื่องมือประกอบเข้าที่ในแต่ละวัน หลังเสร็จกิจกรรมต่างๆ ดังกิจกรรมหนึ่งของ 5ส. คือ สะดวก หากเราเก็บของเครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างมีระเบียบ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน สถานที่ทำงานน่าอยู่ ได้นะครับ ดังสำนวน หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งานตา หากทำได้จนเป็นประจำ ก็จะได้อีก ส.คือ สร้างนิสัย ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 118110เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับท่านอาจารย์และศิษย์น้องทุกท่าน คิดถึงจังเลย เห็นภาพแล้วก็เหมือนที่อาจารย์ต้อมได้ว่าไว้ มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือปล่าว หากเราจะรู้ว่ามีความผิดปกติไปอย่างไร ก็ต้องทราบว่าที่ม้นปกติเป็นอย่างไรเสียก่อน แต่ที่แน่ๆ น้องอีฟใส่แว่น ดูสดใสขึ้น ยิ้มจนแก้มปริ สงสัยจะเจออะไรถูกใจล่ะสิครับเนี่ยะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท