ผัดทอด ใช้น้ำมันอะไรดี


พวกเราคงจะสงสัยกันไม่มากก็น้อยว่า เวลาผัดเวลาทอดจะใช้น้ำมันอะไรดี เพราะมีความเห็นออกมามากมายเหลือเกิน...

พวกเราคงจะสงสัยกันไม่มากก็น้อยว่า เวลาผัดเวลาทอดจะใช้น้ำมันอะไรดี เพราะมีความเห็นออกมามากมายเหลือเกิน...

อาจารย์ ม...สุภาณี ดิศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชทิพ จำกัด กล่าวว่า คนไทยใช้น้ำมันพืชประมาณปีละ 9,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตมากกว่า 10% ต่อปี

น้ำมันพืชที่คนไทยใช้มากปรากฏดังตาราง (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: แสดงน้ำมันพืชที่คนไทยใช้มาก

ชนิดน้ำมันพืช ร้อยละ (%)
น้ำมันปาล์ม 65%
น้ำมันถั่วเหลือง 25%
น้ำมันรำข้าว 6%
น้ำมันชนิดอื่น 4%

ท่านอาจารย์สุภาณีแนะนำให้ใช้น้ำมันดังต่อไปนี้...

  1. น้ำมันเมล็ดฝ้ายในการทอดที่ใช้น้ำมันมาก และความร้อนสูงเป็นเวลานาน
  2. น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันดอกทานตะวันในการผัด หรือทอดที่ใช้ความร้อนสูงในเวลาสั้นๆ
  3. น้ำมันสลัด ให้ใช้ปรุงอาหารที่ไม่ใช้ความร้อนมากนัก

การทอดที่ใช้น้ำมันมาก และความร้อนสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง หรือน้ำมันเสื่อมสภาพจากความร้อนสูงที่มีอันตรายต่อร่างกายได้

วิธีที่ดีคือ ควรหลีกเลี่ยงการทำ และการกินอาหารประเภทนี้ เช่น การทอดน้ำมันท่วม (deep fry) ด้วยความร้อนสูง ฯลฯ

ถ้าหลีกเลี่ยง(การทำอาหารทอดความร้อนสูง)ไม่ได้... ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated fatty acids / PUFA) สูง

เนื่องจากน้ำมันพืชกลุ่มนี้ไม่ทนต่อความร้อนสูง และอาจเกิดสารก่อมะเร็ง หรือน้ำมันเสื่อมสภาพจากความร้อนสูงที่มีอันตรายต่อร่างกายได้

น้ำมันกลุ่มที่ไม่ทนต่อความร้อนสูงได้แก่ น้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำมันปลาทะเล

น้ำมันกลุ่มที่ทนต่อความร้อนสูงหน่อยได้แก่ กะทิ น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ฯลฯ น้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดฝ้าย และน้ำมันรำข้าว

ปัญหาคือ น้ำมันกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ น้ำมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม ฯลฯ

ไขมันอิ่มตัวทำให้ร่างกายสร้างไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น

  • โคเลสเตอรอล 70-80% ในร่างกายมาจากการสร้างขึ้นใหม่ภายในร่างกาย
  • ส่วนน้อยมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอล

ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลที่สูงมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงโรคเส้นเลือดแตก-ตีบตัน เช่น เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ฯลฯ

ข่าวดีคือ น้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วลิสง (มีจำหน่ายในพม่า) มีไขมันอิ่มตัวไม่สูง และมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดตำแหน่งเดียว (monounsaturated fatty acids / MUFA) สูง

ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวช่วยเพิ่มระดับไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยทำความสะอาดเส้นเลือด นอกจากนั้นน้ำมันรำข้าวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) สูงด้วยขอเรียนเสนอวิธีเลือกน้ำมันพืชง่ายๆ แบบประหยัดสำหรับคนไทยดังต่อไปนี้...

  1. น้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันรำข้าวสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนต่ำหน่อย และใช้เวลาไม่นาน เพื่อให้ได้น้ำมันกลุ่มโอเมกา-3 จากน้ำมันถั่วเหลือง และได้สารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำมันรำข้าว
  2. ถ้าใช้ความร้อนสูงขึ้น... ควรลดสัดส่วนน้ำมันถั่วเหลืองให้น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนน้ำมันรำข้าวให้มากขึ้นถ้าใช้ความร้อนสูงมาก หรือใช้เวลานาน
  3. วิธีที่ปลอดภัยกว่าคือ ปรับเปลี่ยนวิธีทำอาหารเป็นแบบใช้ความร้อน และทำให้เร็ว เน้นทอด-ผัดให้น้อย เพิ่มอาหารประเภทต้ม-ยำ-นึ่ง-สลัด-น้ำพริกเพื่อลดการกินน้ำมันให้น้อยลง เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และเพิ่มผักผลไม้(ผลไม้ทั้งผล ไม่ใช้น้ำผลไม้) เพื่อให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอทุกมื้อ

โรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุงที่ระบาดไปทั่วโลกเป็นผลจากการกินอาหารประเภท ผัด-ทอดมากขึ้น อาหารประเภทนี้มีน้ำมันที่มองไม่เห็น (invisible oil)” แฝงอยู่มากมาย

วิธีที่ดีคือ ไม่ควรกินอาหารประเภท ผัด-ทอดเกินวันละ 1 มื้อ หรือดีที่สุดคือ ไม่ควรเกิน 1 มื้อต่อ 2 วัน เนื่องจากอาหารประเภทนี้ให้กำลังงาน (แคลอรี) สูงมาก

นอกจากนั้นการกินเครื่องดื่มเติมน้ำตาล หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ เพิ่มขึ้น ร่วมกับการออกแรง-ออกกำลังน้อยมีส่วนทำให้คนเราอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ

น้ำที่ดีกับสุขภาพจริงๆ คือ น้ำเปล่า หรือน้ำชาเจือจาง

วิธีที่ดีและปลอดภัยกว่าคือ กินอาหารประเภท ผัก-น้ำพริกอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ เน้นการล้างผักเพื่อลดสารพิษ เช่น แช่น้ำ เติมน้ำยาล้างจานไป 2-3 หยด ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด 3-4 น้ำให้สะอาด

พริกเป็นอาหารเสริมชั้นเยี่ยม มีธาตุเหล็กและวิตะมินซีสูงมาก ผักมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และทำให้อิ่มนาน พยายามอย่าเลือกผักทอด ให้เลือกผักสด ผักต้มแทน อย่างนี้จึงจะดีกับสุขภาพในระยะยาว

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ กินของทอดน้อยๆ ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ข่าวประกาศ...                                                  

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหาร"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ใช้ชีวิตให้ปลอดภัย"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "น้ำมันกับสุขภาพ"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ > “ขวดเดียวไม่พอ” “ทิพแตกเซ็กเมนท์หนีสงครามราคา. กรุงเทพธุรกิจ BizWeek. 7-13 กรกฎาคม 2549. หน้า C7-C8.
    • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
    • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 8 สิงหาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 118109เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท