ม.มหิดล กับ สช.


 

          วันที่ ๑๐ ก.ค. ๕๐  นพ. อำพล จินดาวัฒนะ  รักษาการเลขาธิการ สช. (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) มาท้าทาย ม. มหิดล     ในการประชุมระดมความคิด บทบาทของ ม. มหิดล ในเรื่องนโยบายสำคัญของบ้านเมือง

          • ม. มหิดล มีความรู้  มีคน  มีความตั้งใจ
          • จาก Univ for Health สู่ Healthy university
          • การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
          • สช. ต้องการขับเคลื่อน จาก สุขภาพว่าด้วยเรื่องโรค  สู่สุขภาพว่าด้วยสุขภาวะ (well-being)      การขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยน mindset ของผู้คนในสังคม     การสร้างความรู้ด้าน socio-cultural เพื่อสุขภาวะ     การทำความเข้าใจ “ระบบสุขภาพ” อย่างครบถ้วนเชื่อมโยง     ผมมองว่า สช. ต้องการทำ change management ในระดับ “เปลี่ยนใจคน”   หรือ “เปลี่ยนความเชื่อ” ของผู้คนทั้งประเทศ     bio – humo – social,  การทำงานผ่าน public policy, area / community / target group oriented, partnership / participation    ท้าทายกระบวนคิด / กระบวนงาน
          • การแสดงศักยภาพ “ผู้นำทางวิชาการ”     มองภาพใหญ่  : การจัดการความรู้  การพัฒนาคน  การนำเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ 
          • การทำให้สังคมเคลื่อนไหว (social movement)
          • การเข้าไปร่วมใช้ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ      ใช้ พรบ. เป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลง    เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ    ร่วมพัฒนาธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ     ร่วมกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ     ร่วมกระบวนการ HPP/ HIA    การสนับสนุนการใช้สิทธิ / หน้าที่ ตาม พรบ.
          • อยากให้เกิดโครงสร้างการจัดการภายใน ม. มหิดล  ที่ร่วมมือกับ สช. และ สวรส. ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้     เพื่อแสดงศักยภาพทางวิชาการของ ม. มหิดล  

ศ. นพ. สุทัศน์ ฟู่เจริญ  ลุกขึ้นมาแย้งว่า  biomedical research มีบทบาทสำคัญมาก ในการสร้าง well-being ของคนในสังคม    ตนมองว่า biomedical research ในประเทศไทย ยังล้าหลัง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ     

          การประชุมกลุ่ม มีโจทย์ให้ช่วยกันหาประเด็นวิจัย     ผมไปสังเกตการณ์ในกลุ่ม ๑      มีการเสนอให้ ม. มหิดล พัฒนาพื้นฐานการทำงานแบบใหม่     มีการใช้ branding สร้างสำนึกร่วมของชาวมหิดล     มีคนเอ่ยถึง positive psychology ผมจึงได้ประเด็นสำหรับนำไปศึกษาต่อ ว่าจะเอาไปใช้

ดร. สุทธิลักษณ์ สะมิตะสิริ     เอ่ยถึง Humann development for happiness and wellbeing (www.gnh-movement.org)   และอ้างถึงบทความของ อ. หมอ ประเวศ เรื่อง “เอาอนาคตมาดึงเราออกจากวิกฤตการณ์ปัจจุบัน” ใน มติชน ๙ ก.ค. ๕๐ 

ศ. นพ. ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล    กระบวนทัศน์ใหม่ เช่น
          • เกษตรใหม่  ที่ก้าวข้าม Green Revolution      มองเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร โภชนาการ การเกษตร   
          • Chronic disease : มะเร็ง เบาหวาน syndrome X  ทำ ๓ อย่าง : อาหารและโภชนาการ   บุหรี่  ออกกำลังกาย
          • ระบบการขนส่งใหม่
          สภามหาวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์    ให้ฝ่ายบริหาร และปฏิบัติริเริ่มได้    มี M&E ที่ feedback ไปสู่การจัดสรรทรัพยากร (คน เงิน ของ) 
          บูรณาการการสร้างคน ความรู้ งาน
          ระบบสุขภาพ เกี่ยวกับคนด้อยโอกาส   พิการ สูงอายุ

ดร. ชาติชาย  สถาบันอณูฯ  
          คน ม. มหิดล ต้องมี health behavior     ต้องมีกลไกให้เกิด     มีกิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัย
   
          ผมมองว่า คนมหาวิทยาลัย ยังคิดเรื่องสร้างความรู้บนฐานของการวิจัยเท่านั้น     ยังไม่มีวิธีคิดสร้างความรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือการจัดการความรู้

มีคนเอ่ยเรื่องสุขภาพจิต 
 
สรุปประเด็นวิจัย
๑. โภชนาการ อาหาร การเกษตร
๒. โรคเรื้อรัง  พฤติกรรมเสี่ยง   การขนส่ง
๓. กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ  ผู้พิการ  สูงอายุ
๔. กระบวนการแปลงความรู้ สู่การปฏิบัติ
๕. สุขภาพจิต
๖. human dev for happiness & wellbeing

กลไก  
          การปักธงและชี้เป้า
          M&E
          ความยืดหยุ่นและคล่องตัว
          Endowment เป็นกลไกให้ อจ commit   
          Branding การสร้างความเป็นคน   

นพ. อุกฤษณ์ สช.
         social determinant of health

         Self-reliance ด้านสุขภาพของผู้คน    ช่วยตัวเองในระดับหนึ่ง     รับผิดชอบตัวเองด้านสุขภาพ     ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองอย่างไรให้มีสุขภาวะ     เทคโนโลยีช่วยให้คนช่วยตัวเองได้มากขึ้น

กลุ่ม ๔ เสนอผลการประชุม   โดย รศ. ดร. กอบกุล
ระบบและกลไก
         เอาชนะ infrastructure เดิม     มีกลุ่มนักคิดเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์     มีเวลาทุ่มเท  มีจิตอาสา  ออกมาจากงานประจำ  มาสร้างเครือข่าย    และทำงานให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย 
          ศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ  อาจทำหน้าที่เชื่อมโยงกับสังคม     นำโจทย์จากสังคมเข้ามาในมหาวิทยาลัย
          กรอบใหญ่วิจัย  ลำดับความสำคัญ
          • งานวิจัยสร้างความรู้  นำไปประยุกต์เชิงนโยบาย  นำไปขับเคลื่อนเชิงสังคมได้   
          • ลำดับความสำคัญ  (๑) วิจัยสถาบัน สร้างความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดล และสร้างเครือข่าย ภายใน กับภายนอก   (๒) วิจัยสร้างสุขภาวะคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตาย

      ผมออกจากที่ประชุมก่อนการประชุมจบ

วิจารณ์ พานิช
๒๘ ก.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 117738เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท