Leaflet to Folder


                    

 

การพัฒนาของแผ่นปลิว ไปสู่ แผ่นพับ   

 

 

แผ่นปลิวมีลักษณะเป็นจดหมายเปิดผนึกหรือโปสการ์ด ออกแบบให้ถึงมือประชาชนโดยตรงหรือโดยทางไปรษณีย์ แทรกในหนังสือพิมพ์เพื่อแจกจ่าย หรืออาจวางไว้ในที่ชุมนุมชน ร้านค้า ภัตตาคาร ร้านกาแฟ ห้องสมุด และในทุกที่ที่คาดว่าจะสะดุดตาคน 

 

  • จุดมุ่งหมายในการผลิตแผ่นปลิว

          แผ่นปลิวมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนและสร้างความน่าสนใจให้หน่วยงานหรือองค์กร ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป หรือเพื่อการแข่งขัน แผ่นปลิวมีพื้นที่สำหรับเสนอแนวคิดให้กระชับชัดเจนผ่านตัวพิมพ์ นอกจากนั้นกลุ่มเป้าหมายยังสามารถนำแผ่นปลิวกลับบ้าน ซึ่งหมายความว่าบุคคลเหล่านี้สามารถใช้เวลาในการพิจารณาเนื้อหาในแผ่นปลิวนั้นได้ ทำให้สามารถมีความทรงจำกับสิ่งที่ได้พบเห็น ยิ่งไปกว่านั้นแผ่นปลิวยังอาจถูกส่งต่อไปยังผู้อ่านคนอื่นได้อีก ทำให้สามารถสื่อสารได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

·         หลักการเบื้องต้นในการออกแบบแผ่นปลิว

          แผ่นปลิวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากการพกพา สามารถส่งต่อหมุนเวียนข้อมูลข่าวสารนั้นได้ ขนาดที่เหมาะสมคือขนาดที่คนทั่วไปสามารถพกใส่กระเป๋าได้ ถ้าใหญ่เกินไปแผ่นปลิวนั้นอาจถูกโยนทิ้ง (ถ้าหยิบกระดาษขนาด A4 จากเครื่องพิมพ์มา 1 แผ่น พับครึ่งจะได้ขนาด A5 พับอีกครั้งจะได้ขนาด A6) จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แผ่นปลิวจะมีขนาด   A4   ให้จำไว้ว่าคนส่วนใหญ่ ไม่สนใจจะอ่านมากนัก  ข้อความน้อย ๆ ที่มีคุณภาพ  จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและสนใจมากกว่า อย่าใส่เนื้อความมากจนรกเพราะคนจะไม่อ่าน ดังนั้นสิ่งที่สื่อสารคือข้อความที่ชัดเจน มีเหตุผลหนักแน่นและมีคุณภาพ 

·         ออกแบบแผ่นปลิวทีละขั้น

          เมื่อจะออกแบบแผ่นปลิว ต้องเตือนตนเองเสมอว่าไม่ใช่จะมีเพียงข้อความเท่านั้นแต่ต้องมีภาพและกราฟิกด้วยงานจึงจะสมบูรณ์ ภาพและกราฟิกที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้ผู้อ่านรับรู้ถึงความสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอ

 

 ขั้นตอนในการออกแบบแผ่นปลิวมีดังนี้

          1.    ตัดสินใจว่าต้องการบอกอะไรแก่ผู้อ่าน...ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการทำอะไร แม้ว่าจะมีพื้นที่มากมายบนแผ่นปลิวแต่ก็ต้องตั้งมั่นว่าจะทำให้ชัดเจนและสามารถเชิญชวนได้ ถ้าการออกแบบนั้นต้องทำกันเป็นทีม ก็จะต้องต้องอภิปรายให้เกิดแนวคิดที่ตรงกันเสียก่อน

          2.พิจารณาข้อความ...บางคนต้องการออกแบบแผ่นปลิวด้วยการใช้ ข้อความที่มีประสิทธิภาพ และผสมผสานกับกราฟิกเพื่อการตกแต่ง แต่พึงรำลึกไว้เสมอว่า...

·         ข้อความต้องเชิญชวน

·         ดึงดูดความสนใจในการอ่าน

·         จับใจและสามารถทำให้จดจำ

นำเนื้อความนั้นมาจัดหน้าให้สวยงามเป็นเสมือนหมัดเด็ด ด้วยประโยคสั้น ๆ แต่จับใจ ใส่สัญลักษณ์กราฟิก (Bullet-pointed)ที่ช่วยให้ง่ายต่อการอ่าน อาจขีดเส้นใต้หรือเน้นด้วยขนาดหรือสีของตัวอักษร  ให้แตกต่างเมื่อต้องการให้รู้ประเด็นหลักคืออะไร

          3. ออกแบบภาพ...พิจารณาให้มั่นใจว่าภาพที่หามาประกอบเรื่องสามารถช่วยให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปภาพเหล่านั้นจะได้มาจาก....

·         รูปจากหน่วยงานที่คุณติดต่อด้วย

·         ภาพที่สร้างขึ้นเอง

·         ภาพจากกล้องดิจิตอล

·         ภาพที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เนต

·         ภาพกราฟิกอื่นๆ

  • ต้องแน่ใจด้วยว่าภาพเหล่านี้ได้รับการยินยอมจากแหล่งที่มาของภาพ

          4. จัดเลย์เอาท์...เลย์เอาต์บนแผ่นปลิวของควรออกมาดีด้วยการจัดวางกลุ่มของภาพและตัวอักษรที่เตรียมมาให้มีเอกภาพ ใช้กระดาษเปล่าสเกตช์ภาพ แล้วกำหนดว่าบล๊อกของตัวอักษรจะอยู่ที่ใด, หัวข้อจะวางที่ใด, รูปภาพจะวางที่ใด, คิดถึงเรื่องสีของตัวอักษรและพื้นหลังด้วย และที่สุดของที่สุดคือ ระบบตาราง (Grid System)....

    นั่นคือการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม

          5.  การพัฒนาแผ่นปลิว ไปสู่ แผ่นพับ  ... คิดถึงหนังสือเล่มเล็ก...จินตนาการถึงแผ่นปลิวขนาด A5 ซึ่งเกิดจากการพับกระดาษ A4 หนึ่งครั้งก็จะได้แผ่นปลิวขนาด A5 ที่มีปกหน้าและปกหลัง มีหน้ากระดาษ 2 หน้าอยู่ด้านใน

หน้าแรก...เป็นปกเดี่ยวออกแบบกราฟิกให้โดดเด่นสวยงามเป็นหัวเรื่องของแผ่นปลิว เป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

หน้าสอง...คือด้านซ้ายมือให้ใส่หัวข้อหรือข้อความที่เป็นปัญหาที่ต้องการเชิญชวนหรือแข่งขัน

หน้าสาม...คือด้านขวามือนั้นสามารถอธิบายข้อความที่บอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร

ปกหลัง...ใส่ข้อมูลของหน่วยงาน อย่าลืมใส่รายละเอียดเพื่อการติดต่อกลับหรือเพื่อคนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าต้องทำงานร่วมกับองค์กรอื่นให้กล่าวถึงด้วย รวมทั้งโลโก้ของหน่วยงานเพื่อการสนับสนุนให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

          6. เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์...เราสามารถออกแบบแผ่นปลิวได้ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการพิมพ์และจัดตัวอักษร อาจเริ่มต้นที่ (MS-Word) แล้วไปทำเป็นโปรแกรมกราฟิกเช่น Illustrator หรือ InDesign ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง หรือไม่สามารถยืมจากเพื่อนได้ ให้ไปพิมพ์ที่ห้องคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมซึ่งมีอยู่ 2 แห่ง คือที่อาคาร 10 ชั้น 2 และที่ อาคาร 6 ชั้น 2 สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตฟรี แต่ค่า Print Out ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายแผ่น 

          7.  กล่าวถึงเครื่องพิมพ์อีกครั้ง...มีข้อควรระวังดังนี้

                    7.1 เครื่องพิมพ์จะตัดขอบของแผ่นปลิว ดังนั้นต้องเว้นเผื่อขอบไว้ 2-3 มม. รอบ ๆ งานที่ออกแบบไว้ อย่าให้ข้อความหรือส่วนสำคัญของแผ่นปลิวที่ต้องการสื่อล้ำเข้าไปในขอบเขตนั้น

                    7.2 ถ้าภาพมีคุณภาพต่ำ ตามขอบตามมุมจะเป็นรอยหยัก จึงต้อง Save ภาพที่ 300 dpi และเก็บเป็นไฟล์ JPG หรือ TIFF

                    7.3 ถ้ากระดาษบางเกินไป สีจะรั่วซึมกลับมาอีกด้านหนึ่ง

 

ศึกษาเพิ่มเติมและดูตัวอย่างได้จาก Web ข้างล่างนี้    ..............

http://portfolio.tomaszkrok.com/

http://www.captuscom.com/solutions/publishing.html

http://www.thaiportfolio.com/room.php?kw=template

http://www.hardcoregraphic.com/html/main.php

http://www.mark-design.co.uk/print/brochure_design_brighton.html

http://www.clientel.co.uk/flyer-design-leaflet.htm

http://www.apperleydesign.co.uk/leaflets.htm

http://office.microsoft.com/en-us/templates/CT101432911033.aspx

http://www.keal.com.br/v1/#/home/

WEB : Background...........

http://www.istockphoto.com/file_search.php?action=file&text=backdrop&0959c1c5d1a4a9f87cbe2dd02b69aeb8_1_189143=backdrop

http://www.shutterstock.com/pic-16169884-music-out-of-time-retro-background.html

http://www.visionarydigital.com/tam_1.html

http://www.2textured.com/main.php?g2_itemId=1887&g2_page=2

 

คำสำคัญ (Tags): #leaflet#flyer#แผ่นปลิว
หมายเลขบันทึก: 117637เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท