พ.ร.บ.พลเรือนฉบับใหม่


พ.ร.บ.พลเรือนฉบับใหม่
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสาระ สำคัญหลายประการที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้ จึงสนใจติดตามความเคลื่อนไหวกันเป็นพิเศษวันนี้อยากให้ฟังความเป็นมาจากปากคำของ นายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งปัจจุบันเป็น กรรมการ ก.พ. และเป็นผู้มีบทบาทใน การผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น โดยกล่าวถึงสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปว่า สิ่งหนึ่งได้รับการปรับปรุงและระบุเพิ่มเติมไว้ในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ เป็นเรื่องของ ปรัชญาของความเป็นข้าราชการ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้ว่าการเป็นข้าราชการจะต้องวางตัวอย่างไร จะต้องยึดค่านิยม หลักอย่างไร ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมี แต่กฎหมายฉบับนี้ได้ใส่เพิ่มไว้ด้วย ซึ่งจะมีผลในทางปฏิบัติเรื่องของ ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน ซึ่งต้องเล่าย้อนไปถึงปี 2518 ซึ่งนำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ในราชการเพื่อที่จะบรรจุบุคคลเข้าทำงานได้ โดยใช้ความรู้ความสามารถเต็มที่ โดยตีค่างานตามหลักการ หลักวิชา   มาถึงวันนี้ระบบนั้นได้ถูกใช้มาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติ พบว่ามีหลายจุดที่จะต้องได้รับการปรับปรุง เช่น ความจำเป็นที่จะต้องเอา กลไกตลาด เข้ามาเป็นหลักพิจารณาในการกำหนดตำแหน่งด้วย เพื่อที่จะดึงดูดและรักษาคนดีคนเก่งให้เข้าในระบบ หรือเรื่องของระบบตำแหน่งที่มีหลายระดับขั้นการบังคับบัญชา มีคนทำงานทำแล้ว ส่งหน้าที่ส่งความรับผิดชอบต่อ ๆ กันไป   ก็มาคิดกันว่า ทำอย่างไรจึงจะให้เห็นงานหรือผลของงานจบลง
ในคนทำงานคนเดียวหรือกลุ่มเดียว แทนที่จะทำให้โครงสร้างการบริหารคนในองค์กรมันสูงขึ้น ก็ทำให้มันแบนราบลงเสีย จึงเสนอการบริหารทรัพยากรบุคคลในแบบผู้ปฏิบัติงานที่ ทรงความรู้ หรือ
Knowledge Worker โดยมีระบบตำแหน่งมารองรับ
เมื่อข้าราชการทำงานไปถึงจุดหนึ่ง อาจเติบโตก้าวหน้าไปเป็นผู้ อำนวยการ เป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ก็ให้มีการมอบหมายงานที่เหมาะสม กับความรู้ประสบการณ์ ให้มีการพัฒนาควบคู่ไป ยิ่งทำยิ่งเก่งแล้วก็มีตำแหน่ง มารองรับ โดยที่ไม่ต้องไปมีข้อจำกัดที่จะต้องไปดิ้นรนหาตำแหน่งที่อื่น หลักการนี้เป็นไปตามหลักสากลที่ได้ศึกษาและนำมาปรับแต่งให้เข้ากับสภาพทางการปฏิบัติ เข้ากับระบบวัฒนธรรมการทำงานของเรา มีประเด็นที่เกี่ยวกับการให้ข้าราชการบางประเภท บางระดับ รับราชการต่อได้หลังจากอายุครบ 60 ปี โดยเฉพาะงานทางวิชาการหรืองานที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นี่ก็เป็นเรื่องใหม่ อีกประเด็นหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ นอกจากนั้น ยังมีการตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่จะขยายความในโอกาสต่อไปนายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทในการผลักดันพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่มาตั้งแต่ต้น ได้ชี้ให้เห็นแนวคิดทันสมัยในการบริหาร คนของรัฐ ว่า พระราชบัญญัติระเบียบราชการพลเรือนฉบับเดิม จะวางอยู่บนหลักการสำคัญประการเดียวคือหลักระบบคุณธรรม (Merit System) ซึ่งประกอบด้วยความเสมอภาค” “ความสามารถ” “ความมั่นคงและความเป็นกลางแต่ภายใต้ข้อเสนอจัดทำร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ ได้เสนอหลักการในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นสากลขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนแนวใหม่ จะมีฐานที่วางอยู่บน สี่เสาหลักหลักแรก คือ หลักคุณธรรมหลักที่สอง คือ หลักสมรรถนะ ที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะที่ต้องการในตำแหน่งต่าง ๆ สำหรับทั้งราชการโดยรวม หรือสำหรับตำแหน่งต่าง ๆ เฉพาะกรม เฉพาะกลุ่ม ว่าต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในวิชา ที่จะทำอย่างไร แล้วเอาไปจับคู่ ถ้าจับคู่ ไม่ได้ ก็ต้องพัฒนาสมรรถนะขึ้นมาหลักที่สามคือ หลักผลงาน จะให้คุณให้โทษ จะเลื่อนตำแหน่ง จะพัฒนาคนต้องพิสูจน์ ต้องวัดผลงาน     ซึ่งสอดคล้องกับการบริหารผลงานตามหลักการการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ที่บอกว่าการมุ่งผลสัมฤทธิ์ หลักนี้เรียกว่า Performance Based เวลาจะให้เงินค่าตอบแทนคน เราบอกว่าตอบแทนด้วย Performance Pay หลักที่สี่คือ หลักกระจายอำนาจ ได้แก่ การกระจายความรับผิดชอบ กระจายการปฏิบัติอดีตเลขาธิการสีมา ขอพูดแทนสำนักงาน ก.พ. ว่า ตั้งใจที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ทราบว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความคืบหน้าไปแล้วอย่างไร ซึ่งก็จะพยายามสื่อสารกับทุกส่วนอย่างทั่วถึง ที่สำคัญคือ ต้องการให้ทุกคนได้เข้าใจถึงหลักปรัชญา แนวคิด หลักการ และเนื้อหาสาระของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตข้าราชการ ความพยายามที่จะให้กฎหมายมีความทันสมัย เป็นสากล และเหมาะสมกับสภาพการณ์ของปัจจุบันและอนาคต เราหวังที่จะเห็นการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยมีทุกฝ่ายร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดัน และสนับสนุนการที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบข้าราชการพลเรือนที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย นี่คือคำยืนยันจากผู้มีประสบการณ์ยาวไกลในวงราชการไทยรัฐ (คอลัมน์มุมข้าราชการ)   7  ส.ค.  50
หมายเลขบันทึก: 117607เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
            ปรับเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยนได้ เพราะเป็นแค่หลักการ แต่ยังไงก็คงต้งอพัฒนาจิตใจของผู้รับสโยบายให้ได้ก่อนนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท