กศน.กับการส่งเสริมสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญใหม่


โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน และโครงการเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่คุณอำนวยตำบล ซึ่งเป็นคนหน้างาน ใกล้ชิดคุณกิจ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ คงจะได้มีส่วนผลักดันอย่างแน่นอน

อ่านบทความเรื่อง กว่าจะถึง "ธงใหญ่" มอง สิ่งที่ได้จาก "ธงเล็ก" http://gotoknow.org/blog/chaimontree/116591 ของครูราญเมืองคอน คนนอกกระบบ เฉพาะอย่างยิ่งตรงข้อความ "หากถามว่า กศน. จะบรรลุถึงธง หรือเป้าหมายของตนเอง อย่างไร  เป็นเรื่องค่อนข้างยาก หากว่า กศน. ไม่ทำอย่างจริงจัง   การลงพื้นที่ในบทบาทคุณอำนวยร่วมกับภาคีีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน กิจกรรม... ให้คนเกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งหาก มองแล้ว  ธงของ หน่วยงานอื่นจะถึงก่อนของ  กศน.  แต่การที่ กศน. จะไปให้ถึง เป้าหมายของตัวเอง ก็ต้องเก็บตามธงต่าง ๆ ของหน่วยงาน อื่นๆ ที่กศน. ได้ไปร่วมขับเคลื่อนแล้ว เรียกว่าเก็บรายทาง  ทุกกิจกรรม"

ผมเห็นด้วยกับครูราญเมืองคอนเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะต้องเรียนรู้และพัฒนา เครื่องมืออีกมาก ฝึกทักษะ สร้างความชำนาญของผู้ปฏิบัติให้มีความสามารถในการสกัด หรือถอดความรู้ที่มืออาชีพจากหน่วยงานนอื่นๆเขาได้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ไว้แล้ว รวมทั้งที่พวกเราชาว กศน.ด้วยกันได้ส่งเสริมกระบวนการไว้ และที่สำคัญเหนืออื่นใดคือความรู้ที่ผุดบังเกิดขึ้นจากตัวผู้เรียน ชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมายนั้นๆเอง......เราจะมีปัญญาพอที่จะเข้าถึงความรู้ที่เขาสั่งสม และตกผลึกไว้ได้หรือไม่ นี่คือประเด็น

ซึ่งในเรื่องนี้เท่าที่ผมทราบ ในระยะต่อไป กศน.จะมุ่งเน้นจัดการเรียนการสอนควบคู่กันสองระบบและเป็นสองระบบที่เชื่อมต่อกัน คือระบบหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้้้้าหมายที่มุ่งเข้ารับการศึกษาเพื่อหวังยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยใหสูงขึ้นหรือมีวุฒิการศึกษาสูงขึ้นด้วยหลักสูตรเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว และหลักสูตรชีวิตหรือหลักสูตรการเปลี่ยนแปลงสังคมชุมชนอะไรประมาณนี้ หลักสูตรอย่างหลังนี้อาจจะเป็นหลักสูตรที่เรียกว่าหลักสูตรที่ไม่มีหลักสูตร ก็ว่าได้ ผู้เรียนไม่ได้มุ่งเรียนเพื่อยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยโดยตรง แต่เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง ครอบครัว สังคม ชุมชนเป็นหลัก ทั้งสองระบบนี้จะไหลความรู้ ชุดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปมาเสริมหนุนกันและกัน

การศึกษาอย่างหลังนี้ตามความเข้าใจของผมเป็นการศึกษาที่เป็นวิถีของแต่ละคนแต่ละชุมชน ที่ใครอยากรู้อยากเรียนเรื่องอะไร ด้วยวิธีการใด ด้วยเครื่องมือใด ตามที่บุคคล สังคม ชุมชน เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ นับว่า สอดคล้องกับรัฐธรรมฉบับรอลงประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ที่บัญญัติเรื่องสิทธิิิชุมชนเอาไว้มากทีเดียว บุคคล สังคม ชุมชน จะนำคนอื่น ชนะคนอื่น ให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลสังคมอื่นก็ต้องมีพื้นที่เรียนรู้ให้ เพื่อให้บุคล สังคม ชุมชน มีชุดความรู้ องค์ความรู้  ชุดประสบการณ ไว้อธิบายแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุด้วยผลกันเป็นหลัก มิใช่ตัดสินแพ้ชนะโดยนับจำนวนสมาชิกประชากรมากน้อยกันอย่างเดียว การศึกษาอย่างหลังนี้นี่แหละที่จะทำให้สิทธิชุมชนเข้มแข็งขึ้น

ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเรากำลังทำโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์  หรือชุมชนเรียนรู้นั่นเอง ทุกฝ่ายมาบูรณาการกันทำงานร่วมกันเพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้บรรลุความเป็นอินทรียในชุมชน ห้าประการ คือ ชุมชนนั้นมีแผนชุมชนอินทรีย์ มีคณะผู้นำและผู้สืบทอดที่มีคุณภาพ มีการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ มีการพึ่งตนเองได้จากการจัดตั้งกองทุนต่างๆ  และมีการจัดทัพจัดทีม ไกกลแก้ไขปัญหาต่างๆ ไว้รองรับการแก้ปัญหาที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต

ด้วยการเรียนรู้แบบนี้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหากจะได้ถอดความรู้ ถอดดบทเรียนกันในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับของผู้เรียนหรือชาวบ้านหรือคุณกิจ หรือครัวเรือนทั้งหลายที่เข้าร่วมโครงการก็คงจะได้ชุดความรู้ออกมามาย

เกิดชุดความรู้ ชุดประสบการณ์ทำให้สิทธิชุมชนดีขึ้นและชุมชนเข้มแข็งขึ้น

โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน และโครงการเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่คุณอำนวยตำบล ซึ่งเป็นคนหน้างาน ใกล้ชิดคุณกิจ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ  คงจะได้มีส่วนผลักดันอย่างแน่นอน

บันทึกมาเพื่อ ลปรร.กันครับ 

หมายเลขบันทึก: 117384เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะครูนง

ชอบแนวคิดมากค่ะ  โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนสองระบบที่มีเป้าหมายชัดเจนแต่เชื่อมโยงกัน  ทั้งสองเป้าหมายมีความสำคัญในตัวเองและคงต้องการเครื่องมือหรือลักษณะหลักสูตรที่ต่างกัน (แต่เชื่อมโยงกันได้)  เพียงแต่หลักสูตรแรกที่ยกระดับวุฒิการศึกษานั้น  คิดว่าต้องสอดแทรกด้วยจิตสำนึกต่อส่วนรวมและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยค่ะ

ตัวเองสอนอยู่ในระบบ เด็กส่วนใหญ่อาจจะมีแนวคิดแบบแรก ก็พยายามสอนให้เด็ก เป็น "คนของสังคม" ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เห็นด้วยกับข้อความที่ครูนง highlight ไว้นะคะ

เอาใจช่วยเต็มที่ค่ะ

อ.ปัทมาวดี ครับ

                   อาจารย์เมื่อไหร่จะมานครศรีฯอีกครับ ตั้งแต่วันที่คุยกันที่ร้านชาวเรือที่นครศรีฯก็ไม่ได้พบกันอีกเลย  ที่นครศรีฯนำแนวคิดดท่านผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ ที่คุยแนวทางพัฒนาคุณอำนวยแบบการเรียนรู้เชื่อมโยงวิถีโค้ง มาขับนำมาเคลื่อนตอนนี้คึกคักครับ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท