ชุดกิจกรรมโครงงาน


โครงงาน

ชื่อนวัตกรรม                        ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์  พัฒนาโครงงาน

ประเภท                       การจัดการเรียนการสอน         ชื่อโรงเรียน  ชุมชนบ้านตาหลังใน

                                    .วังน้ำเย็น   .สระแก้ว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต 1ชื่อผู้พัฒนานวัตกรรม  นางสาววรรณา   ใจกว้าง        ตำแหน่ง  ครูหมายเลขโทรศัพท์       087 – 0214905  (มือถือ)     037 – 243629  (โรงเรียน)……………………………………………………………………………………………………….

ที่มาของนวัตกรรม

1.       ทำอย่างไรผู้เรียนจะทำโครงงานได้2.       สร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน  เป็นเทคนิคการสอนอย่างหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ  ได้เลือกปัญหาที่ตนเองสนใจมาศึกษา  โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด  แก้ปัญหา  ได้บูรณาการทักษะ  ประสบการณ์ความรู้  ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้  โรงเรียนชุมชนบ้านตาหลังใน  ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดการเรียนรู้โดยโครงงานเพราะหลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับ

ผู้เรียนแล้วพบว่า  ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน  มีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น  แต่ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานที่ผ่านมาพบว่าผู้เรียนยังประสบปัญหาในการทำโครงงานทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นการคิดและคัดเลือกปัญหาในการทำโครงงาน   จนถึงการจัดแสดงผลงานโครงงาน   ซึ่งผลจากการศึกษาปัญหาและสาเหตุพบว่า 

 1.  ขาดสื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพให้นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจในการทำโครงงาน   3.       สาเหตุจากตัวนักเรียน  นักเรียนบางส่วนขาดความผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายไปจึงทำให้โครงงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ดังนั้นครูจึงต้องคอยติดตามสอบถามความก้าวหน้าของผลงานการทำโครงงานของนักเรียน

การคิดค้นวิธีแก้ปัญหา

                จากสภาพปัญหาดังกล่าว  ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้า  ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์  การสร้างสื่อการเรียนการสอนในลักษณะต่างๆ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์  พัฒนาโครงงาน  และนำชุดกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน   

วิธีดำเนินการ

1.       ศึกษาหลักสูตรและทฤษฎี  หลักการที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน1.1      ศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์1.2      ศึกษาหนังสือการทำโครงงานจากหนังสือการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษา             ของกิ่งทอง  ใบหยก1.3      ศึกษาหนังสือโครงงานวิทยาศาสตร์  ของวิมลศรี  สุวรรณรัตน์1.4      ศึกษาหนังสือคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของ  วนา   ชลประเวศ1.5      ศึกษากรณีศึกษาการทำโครงงาน  ของธีรชัย   ปูรณโชติ1.6      ศึกษาเอกสารการอบรมครูวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษา  ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1.7      ศึกษาเอกสารการอบรมครูวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษา  ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1.8      ศึกษาเอกสารการอบรมครูวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษา  ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2.       ศึกษารายละเอียดวิธีการสร้างชุดกิจกรรม และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์3.       ประมวลความรู้ที่ได้รับจากเอกสาร  หลักการ  นำมากำหนดกรอบความรู้เพื่อให้นักเรียน  ศึกษาเป็นขั้นตอน 

ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม 

 1.  ดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมแบ่งเป็น  7  ชุดกิจกรรม  ดังนี้
ชุดกิจกรรมที่  1   โครงงานคืออะไร
ชุดกิจกรรมที่  2    ปัญหาน่าเรียนรู้ชุดกิจกรรมที่  3    นักออกแบบรุ่นเยาว์ชุดกิจกรรมที่  4    ผู้นำเสนอข้อมูลชุดกิจกรรมที่  5    นักวิจัยน้อยชุดกิจกรรมที่  6    นักเขียนรายงาน ชุดกิจกรรมที่  7   นักสร้างสรรค์ผลงาน

2.    นำชุดกิจกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง

4.       นำชุดกิจกรรมไปแก้ไขปรับปรุง5.       นำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้  แล้วนำมาแก้ไข  ปรับปรุง  6.       นำชุดกิจกรรมมาใช้สอนจริง

สรุปผล

องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม

1.       นักเรียนสามารถทำโครงงานได้ถูกต้องทุกขั้นตอน2.       นักเรียนนำความรู้ไปบูรณาการกับการทำโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้3.       นักเรียนรู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้า  และเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ4.       นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้  หรือให้คำแนะนำในการทำโครงงานกับนักเรียนคนอื่นได้ผลที่เกิดขึ้น / ที่ปรากฏจากการใช้นวัตกรรม1.       ทำให้นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจจากการได้เรียนรู้วิธีการทำโครงงานจากชุดกิจกรรม  7  ชุด2.       ทำให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่ม  และฝึกการแก้ปัญหา3.       นักเรียนสามารถทำโครงงานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน

ผลกระทบที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้

1.       ครูมีสื่อสำหรับนำไปใช้จัดการเรียนรู้โดยโครงงาน2.       นักเรียนสามารถทำโครงงานได้  และผลงานที่ดีได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ   จนได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศ  ระดับจังหวัด  และระดับเขตพื้นที่การศึกษา3.       ผู้นำเสนอผลงานได้รับคัดเลือกให้เป็นครูต้นแบบ  ครูมืออาชีพ  และครูเกียรติยศ4.       ผู้นำเสนอผลงานได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรเรื่อง  การจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน 

ประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอด

                การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน  เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดและฝึกการทำงานกลุ่ม  ฝึกแก้ปัญหาและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  โดยมีการบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ 

แนวคิดในการพัฒนาต่อยอด

                ครูผู้สอนควรมีการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานอย่างต่อเนื่อง  โครงงานของผู้เรียนจะพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันหรือพัฒนาท้องถิ่นได้  และควรให้ความรู้กับครูท่านอื่นๆ  เพื่อนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นอื่นต่อไป      

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1.       การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน  สำหรับครูผู้สอนที่สอนเวียนเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้  สิ่งที่

ไม่ควรทำคือ  ครูแต่ละคนต่างให้ผู้เรียนทำโครงงานของตนเองในเวลาเดียวกัน  เพราะเท่ากับเพิ่มภาระให้ผู้เรียน  และอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย  ไม่อยากทำ  หรือทำ  ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ครูสามารถบูรณาการการเรียนรู้การทำโครงงานของนักเรียนได้ในหลายสาระการเรียนรู้

                2.   ก่อนครูนำชุดกิจกรรมไปใช้ควรมีการศึกษาคู่มือการใช้ให้เข้าใจ  จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในแต่ละชุดกิจกรรม  เพื่อให้การดำเนินการมีความพร้อมและเกิดปัญหาน้อยที่สุด              3.   กิจกรรมนี้ครูควรดูแลนักเรียนให้ทั่วถึงทุกกลุ่มและคอยสังเกตพฤติกรรมการเรียน   พฤติกรรม    การทำงานกลุ่ม  โดยเน้นฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบ  ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม   การให้ความ    ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
หมายเลขบันทึก: 117029เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท