ทำการบ้านก่อนการนำเสนองาน


"แล้ววันนั้น... ผมก็โชคดีกลับมาอย่างคาดไม่ถึง เมื่อผมคำตอบรับที่ผมได้รับเป็นข้อสุดท้าย..."

ปล. บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อาจจะตรงกับความคิดเห็น  หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของใคร...  ซึ่งมิได้จงใจให้เกิดผลเสียหายใด ๆ  ทั้งสิ้น... 

เมื่ออาทิตย์ก่อน...  เป็นอีกวันที่ผมนั่งไม่ค่อยจะติดโต๊ะสักเท่าไหร่....  นัก

แน่หละ...  วันนี้ผมต้องไปนำเสนองานนี่   ใครจะจะนั่งอยู่กับที่ได้  หลายคนคงคิดสิว่า...  เรื่องแค่นี้เรื่องเล็ก ๆ  เท่านั้นมันง่ายเหมือน  “แคะขี้เล็บ”  ซะอีกแน่ะ

ถ้าคุณ...  คิดแบบที่ผมว่ามา  นั่นคงเป็นความคิดที่ผิด  และมันก็เป็นเรื่องยากของใครหลาย ๆ  คนเหมือนกันนะครับ...  คุณลองนึกดู  ว่าวันนี้จะเกิดอะไรกับตัวคุณบ้าง  และจะเกิดอะไรหลังจากที่ผ่านวันนี้ไป  คนที่ตั้งความหวังไว้สูงต้องคิดทั้งนั้น 

อะไรล่ะ...  จะเกิดขึ้นในวันนี้

เขา...  จะสนใจในสิ่งที่เราพูดไหม  เราจะทำอย่างไรเมื่อมันเกิดสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิดมาถึง...

เรา...  ต้องทำการบ้านให้ดี  เตรียมตัวให้พร้อม  และรู้จักอ่านใจคน  สิ่งนี้...  คือสิ่งที่นักขาย  แม้แต่มนุษย์ไอเดียยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ...

ไม่ว่า...  คุณจะอยู่กับคนฟังเพียงแค่คนเดียว  หรือรายล้อมตัวคุณอยู่นับร้อย  สิ่งหนึ่งที่คุณต้องพยายามทำในตอนนั้นก็คือ  “อ่านใจผู้ฟังของคุณให้ออก”  ไม่ว่าจะเป็นสีหน้า  ท่าทาง  แม้แต่อาการขยุกขยิกของผู้ที่อยู่เบื้องหน้าของคุณก็ตาม  ทุกสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้การพูดและการนำเสนอของคุณผ่านไปได้...  ดีกว่าที่คุณจะพูดพร่ำอยู่คนเดียวโดยรอบตัวคุณไม่มีใครสนใจคุณเลย

 อ่านใจ...  ผู้ฟังของคุณอย่างไร

เริ่มแรก...  ให้ดูปฏิกิริยาของผู้ฟังขณะที่คุณกำลังพูด  เพราะในบางครั้งสีหน้าของผู้ฟังของคุณก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้เลยจริง ๆ  ที่จะให้เรารู้ถึงความตั้งใจฟังของเขาเหล่านั้น  ดังนั้นสิ่งที่คุณจะกระทำได้ตอนนั้นก็คือ  สังเกต...  การเปลี่ยนอิริยาบทของผู้ฟังอย่างกระทันหัน  จะช่วยให้เราพอจะรู้ได้ว่าเขาตอบสนองในการฟังของเราอย่างไร  ถ้าเกิดในเวลานั้นผู้ฟังของคุณเกิดเปลี่ยนอิริยาบทมาเป็นนั่งกอดอก  ไขว่ห้าง  หรือหันซ้านหันขวา  มองไปมาที่ผนัง  ประตู  หรือหลังคา  ถ้าคุณไม่สามารถทำให้สายตาของเขาเหล่านั้นกลับมาอยู่ที่ตัวคุณได้  นั่นหมายถึงว่าวันนั้นคุณเสนองานไม่ได้อย่างแน่นอน...

หรือถ้า...  ตอนนี้ผู้ฟังของคุณเกิดอาการหน้ายับยู่ยี่  สายหน้าไปมา...  ให้คาดการเบื้องต้นไว้ก่อนเลยว่าตอนนี้คุณเจอกระดูกชิ้นโตซะแล้ว  เพราะตอนนี้ความคิดของคุณกับผู้ฟังกำลังหักล้างกันอยู่ในใจ...  ถ้าคุณเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นพูดเมื่อไหร่  คุณได้ปวดหัวแน่...  ทางที่ดีเมื่อคุณเห็นท่าทางแบบนี้คุณควรพิจารณาคำพูดของคุณให้ดีกว่าเดิม  แต่งเสริมเติมแต้ม  ขยายความในคำพูดของคุณให้ละเอียดยิ่งขึ้น  สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ฟังของคุณเข้าใจอะไรง่ายขึ้น  แต่อย่าพยายามพูดแบบพายเรือในอ่างเด็ดขาด  เพราะนั่นหมายถึงว่า  อีกชั่วโมงถัดไปคุณพับเสื่อกลับบ้านได้เลย....

และถ้า...  ผู้ฟังของคุณเริ่มกอดอก  หรือไขว่ห้าง  นั่นก็อาจหมายถึงว่าผู้ฟังกำลังมีความคิดที่ขัดแย้งกับคุณ  คุณควรพยายามจับประเด็นคำพูดของคุณ  แล้วขยายความถึงข้อดีของมันออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพราะนั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้ฟังของคุณให้มาอยู่ในความคิดเดียวกันกับคุณนั่นเอง...

และ...  เมื่อไหร่ที่มีผู้ฟังคนใดคนหนึ่งของคุณ  เกิดแสดงอาการกำจมูกหรือเอามือจับจมูกอยู่ในเวลานั้น  ให้คุณพยายามหาช่องให้ซักถามทันที  เพราะว่าในขณะนั้นอาจมีคนสงสัยในคำพูดของคุณอยู่ก็เป็นได้...

และถ้าหากวันนี้...  คุณโชคดี  คุณก็จะเห็นสายตาของผู้ฟังของคุณมองมาที่ตัวคุณ  พร้อมทั้งพยักหน้าตอบรับ  เพื่อบ่งบอกถึงการรับรู้  การยอมรับในคำพูดของคุณ  ในเวลานี้...  คุณลองสับสายตาของคุณไปมองทางอื่นดู  ถ้าผู้ฟังของคุณหันตามไปในทิศทางเดียวกับคุณ  ให้คุณมั่นใจไว้ก่อนเลยว่าคุณสำเร็จมาครึ่งทางแล้ว....

แล้ววันนั้น...  ผมก็โชคดีกลับมาอย่างคาดไม่ถึง  เมื่อผมคำตอบรับที่ผมได้รับเป็นข้อสุดท้าย...

คำสำคัญ (Tags): #idea#นำเสนอ
หมายเลขบันทึก: 116621เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท