มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ ๔ ภูมิภาค โครงการ EdKM ครั้งที่ ๒ : ภาคเหนือ ตอนที่ ๓


ตอนที่ 2

           

        สำหรับช่วงเสวนา  “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรการศึกษา”  มีผู้เข้าร่วมเสวนา  ดังนี้คือ

         ๑. นายโกศล  ปราคำ  ผู้อำนวยการ  สพท. เชียงใหม่  เขต  ๒
         กล้าคิดและกล้าทำเพื่อประโยชน์ขององค์กร โดยได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ KM อยู่ต่างหาก  ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างงานปกติ  และมีคนทำโดยเฉพาะ ที่สำคัญต้องทำให้คนในองค์กรรู้สึกเต็มใจ  เห็นผลประโยชน์  และมีส่วนร่วม

          ๒.นายอุทัย  ศรีพันธ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมืองแปง  สพท.แม่ฮ่องสอน เขต  ๑
        
ทำให้วิกฤตเป็นโอกาส  มีความเชื่อว่า นวัตกรรมการบริหาร  เกิดมาจาก Tacit  Knowledge แต่ไม่ได้มีโอกาสจัดการ  โดยโรงเรียนบ้านเมืองแปง  เน้นไปที่การทำงานช่วยเด็กด้อยโอกาส  ชนกลุ่มน้อย  การพัฒนาเพื่อรับเด็กเข้ามาเรียน 

          ๓. นางปาริชาต ปรียาโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนปรียาโชติ  สพท. นครสวรรค์ เขต ๓
        
เมื่อเข้าร่วมโครงการฯ  ได้ไปอบรม แล้วกลับมาหาความเข้าใจกันภายในทีมงาน  มีการจูนกันให้ชัดเจน  เพราะบริบทแตกต่าง  ต้องมาดูว่า   Concept  เราเข้าใจตรงกันหรือไม่  ถ้าเข้าใจตรงกันแล้วก็มาสร้างทีมงาน  เพราะ  KM  ทำคนเดียวไม่ได้  เมื่อได้แล้วก็มาคิดว่า  เราจะนำ  KM  เข้ามาในองค์กรได้อย่างไร  เรามีครูร้อยกว่าคน  เลยคิดว่า เรามาขายแฟรนไชส์กันดีกว่า  โดยมาหาว่า  อะไรที่เราทำได้สำเร็จ  คุยแล้วไม่เบื่อ 
         สรุปว่า  ได้เรื่องของการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษ  ทำให้รู้ว่า ครูแต่ละคนได้ทำอะไรมากมายที่ทำให้เด็กได้มีชีวิตใหม่  การเป็นครูมีคุณค่ามหาศาล  ทำให้รู้ว่า  เด็กต้องการโอกาสพัฒนาได้  และต้องการความรัก  ครูมีส่วนสำคัญมาก  เราจึงนำเรื่องราวดีๆ ของครูแต่ละคนมานำเสนอในที่ประชุม  และก็ขยายเรื่องราวเหล่านั้นออกไปเรื่อยๆ  เอาคนต้นเรื่องมาคุยแลกเปลี่ยนกัน  ดังนั้น  KM  จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ของเรา  แต่เรื่องของการแก้ปัญหา  แก้ได้  แก้อย่างไร  ก็มาคุยกัน
         ปัจจุบันเรามีคนต้นเรื่องมากมาย  ทำให้เด็กพิเศษไม่ถูกทอดทิ้ง  การพัฒนานักเรียนไม่เฉพาะเด็กที่เก่งและเรียนเลิศเท่านั้น  แต่สิ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ  การพัฒนาบุคลากร  การให้ความสำคัญกับคน  การพัฒนาคน 

         ๔.นางปราณี  ทองคำพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนจ่านกร้อง สพท. เขต  ๑
         ไม่มั่นใจ  KM  ของโรงเรียน  แต่มั่นใจการปฏิบัติของครูในโรงเรียน โดย  KM  ของโรงเรียนเริ่มต้นจากการเรียนรู้ไปพร้อมการปฏิบัติ   ดูว่าแต่ละกลุ่มอยากทำเรื่องอะไร โดยเน้นการพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ  และพิจารณาว่า โรงเรียนของเรามีความสำเร็จอะไรบ้าง  แล้วเริ่มจากเรื่องที่เราทำได้ดีก่อน  เช่น  JR-Band  เราได้หากันว่า ความสำเร็จของ JR-Band  คืออะไร
          สรุปได้ว่า  ความสำเร็จเกิดมาจากบทบาทของครู และบทบาทของนักร้อง  จึงนำกลุ่มทั้งสองมานั่งคุยกัน แลกเปลี่ยนกันว่า  เราทำสำเร็จได้อย่างไร สกัดเป็นความรู้ขององค์กร  ซึ่งจากการที่ทำ  KM  มา  ๑  ปี  เห็นผลว่า  ครูใฝ่หาความรู้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  เป็นการเรียนรู้แบบซึมซับ  โดยที่เราไม่รู้ตัว  เมื่อรู้จัก  KM  แล้ว  ผู้บริหารก็สามารถนำพาคนในองค์กรทั้งหมดไปได้ ตอนนี้ คิดว่า  เรากำลังหาความรู้อยู่  แต่จุดเน้นไม่ได้อยู่ที่ตำรา  อยู่ที่การลงมือปฏิบัติจริงๆ  มากกว่า

          ๕.นายเกรียงศักดิ์  สุวรรณรัตน์ ตัวแทน  สพท. พิษณุโลก  เขต  ๑
         สพท. พิษณุโลกใช้ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน  KM  ดังนี้
๑. ปรับตัว ปรับใจ ปรับกระบวนการคิด
๒. การเรียนรู้สถานการณ์  การแก้ปัญหาทำให้เกิดองค์ความรู้
๓. การนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ตามบริบท
๔. การสืบค้นเพื่อการพัฒนางาน  เช่น  เอกสาร  Internet
๕. ต้องมีการสร้างเครือข่าย  CoP
๖. ผู้ที่จะเข้าสู่วังวนของการเป็นแกนนำ KM  ต้องปรับจิตสำนึกให้มีความรักในการทำงาน  ความรักกับคนที่เราทำงานด้วย
๗. การที่จะรู้อะไร เราไม่สามารถะรียนรู้ได้ทุกเรื่อง แต่รู้วิธีการหาความรู้ที่ต้องการ
๘. ต้องให้ความเป็นอิสระในการพัฒนา  ในการใช้ KM  กระบวนคิด กระบวนการทำงานจะแตกต่างกัน

 ผู้เข้าร่วมงานมหกรรมตลาดนัดฯ

         สำหรับภาคบ่าย  เป็นการเสวนาห้องย่อย  ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ  ดังนี้  คือ 
๑. KM   เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
- การพัฒนายุทธศาสตร์การนิเทศการจัดการศึกษา  :  การเพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพของ
   เรียน  ของ สพท. แม่ฮ่องสอน  เขต  ๑
- การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ  ของ สพท. นครสวรรค์  เขต  ๓
- การพัฒนาระบบเครือข่ายการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา  ของ สพท.
   พิษณุโลก  เขต ๑
๒. KM เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การพัฒนารูปแบบปฏิรูปกาเรรียนการสอน  ของโรงเรียนวัดเทพสุทธาวาส  สพท. นครสวรรค์  เขต ๓
- การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ของโรงเรียนบ้านเมืองแปง สพท. แม่ฮ่องสอน
   เขต  ๑
- KM  สู่การพัฒนางานให้การช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาส  ของโรงเรียนชุมชนวัดหัวถนนใต้  สพท.
  นครสวรรค์  เขต ๓
- KM  เพื่อการส่งเสริมบ้านและโรงเรียนสร้างทางถูกให้ลูกรัก  ของโรงเรียนตะคร้อพิทยา  สพท. นครสวรรค์
  เขต ๓
๓. KM เพื่อการจัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลาย
- การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโรงเรียนเพื่อนเด็ก  ของโรงเรียนบ้านวนาหลวง  สพท. แม่ฮ่องสอน
  เขต ๑
- การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ของโรงเรียนชุมชนบ้านเมืองปอน  สพท.แม่ฮ่องสอน เขต ๑
- KM  สู่ความสำเร็จของ  JR-Band  และเทคนิคการฝึกซ้อมกีฬาเทควันโด  ของโรงเรียนจ่านกร้อง สพท.
  พิษณุโลก เขต ๑
๔. ประสบการณ์การใช้  Blog  และการเขียนเล่าเผยแพร่ใน  Blog

การเสวนาห้องย่อย

โปรดติดตามตอนต่อไปคะ

หมายเลขบันทึก: 116259เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท