โยคะ...ศาสตร์แห่งการบริหารจิต


อาจารย์ชาวญี่ปุ่นจากสถาบันโยคะวิชาการ ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน ด้วยทุน สสส ในแผนพัฒนาจิต มาสาธิตการปรับสมดุลด้วยการทำโยคะ

ภาพรวมของความรู้ที่ได้รับในบ่ายนี้ ผมในฐานะอาจารย์กิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม ได้รับรู้ข้อมูลที่ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพร่วมกับอาจารย์และนักกายภาพบำบัดมหิดล สรุปได้ดังนี้

  • โยคะไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เน้นการฝึก Body Awareness เมื่อเรามีการรับรู้ความรู้สึกสบายขณะมีการเคลื่อนไหวแกนหนึ่งๆของร่างกาย และมีความสามารถแยกแยะข้างที่สบายกับข้างที่ไม่สบาย จากนั้นปรับสมดุลด้วยการเคลื่อนไหวไปในข้างที่สบายอีกสี่ครั้งๆละแปดวินาที ค้างอย่างช้าๆ จากนั้นมีการพักให้ร่างกายอยู่ในสมมาตร และทดสอบการรับความรู้สึกข้างที่ไม่สบายน่าจะสบายขึ้น เมื่อมีการยืดข้างที่สบายแล้ว
  • หลักการโยคะมีการพัฒนาการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิค BBM (Body Balancing Movement) เน้นให้เรามี structural component of movment หรือ มี Muscle Balance ที่ดี จะส่งผลให้เกิด functional movement ที่ดีตามมา เช่น Physical activity มากขึ้นและมี Emotion disturbance ลดลง จากนั้นก็จะส่งเสริมสุขภาพร่างกายที่สมดุลกับสุขภาพจิตใจ
  • นี้คือตัวอย่าง Humanized Health Care ที่พยายามให้บุคลากรทางสุขภาพเกิดมิติของจิตวิญญาณมนุษย์ร่วมกับมิติของร่างกายและจิตใจ
  • การสร้างบุคลิกที่ดีจากการตระหนักรู้ถึงเส้นของความสมดุลสี่เส้น ได้แก่ เส้นตั้งฉาก (กระหม่อมมายังจุดกึ่งกลางสะโพก) เส้นหลัก (เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขามายังเชิงกรานทั้งสองข้าง) เส้นสอง (เชื่อมระหว่างกระดูกต้นแขนในแนวไหล่) และเส้นสาม (เชื่อมระหว่างรูหูทั้งสองข้าง)
  • ลองพิจารณาดูแนวแกนสมดุลของร่างกายขณะเคลื่อนไหวเป็นส่วนๆ เมื่อมีความผิดปกติของท่าทาง เช่น กล้ามเนื้อแข็งตัว เหน็บชา ปวดเข่า หลังค่อม ขาโก่ง สะโพกย้อย และอื่นๆ เราคงต้องพยายามพิเคราะห์แกนสมดุลและการปรับการรับรู้การเคลื่อนไหวผ่านแกนสมดุลแล้วหละครับ

 

หมายเลขบันทึก: 116143เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าโยคะไม่ใช่การออกกำลังกาย

แต่การทำโยคะทำให้รูปร่างดี เป็นเพราะอะไรคะ

ขอบคุณสำหรับคำถามที่น่าสนใจครับคุณอุบล

โยคะเป็นการฝึกจิต มีการบริหารจิตให้เข้าใจถึงวิธีการเคลื่อนไหวท่าทางให้สมดุลย์ต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมการดำเนินชีวิต

เมื่อเราเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหว และมีการกระทำอยู่สม่ำเสมอ ร่างกายในแต่ละส่วนก็มีการปรับพร้อมๆกับรูปแบบการดูแลสุขภาพอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหาร การนำท่าทางโยคะมาฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อพร้อมๆกัน เป็นต้น

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมนี้ทำให้คุณมีรูปร่างที่ดี มิใช่การทำโยคะอย่างเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท