การนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ


*****

เหตุที่มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ ก็คือมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ เช่น การมีข้อมูลและสารสนเทศมากขึ้น  มีการแข่งขันกันมากขึ้น  ความซับซ้อนในการวางกลยุทธ์มากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกหลายประการ คือ 

1.  เหตุผลในส่วนของสารสนเทศ   เนื่องจากสารสนเทศมีความสำคัญต่อการตัดสินใจมาก  การตัดสินใจโดยไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนจะมีความยากมาก เนื่องจาก                                

1.1 จำนวนทางเลือกในการแก้ปัญหามีมากขึ้น              

1.2 การตัดสินใจภายใต้เวลาที่จำกัด                               

1.3 สภาพการณ์ตัดสินใจมีความผันผวน หรือ มีความไม่แน่นอนมากขึ้น                               

1.4 ความจำเป็นที่ต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่างสถานที่กัน 

2. เหตุผลในส่วนของเวลา       ผู้ตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นผูบริหารซึ่งมีงานที่จะต้องทำเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นการใช้เวลาในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป ย่อมมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาอื่น ๆ  

ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

มีผู้ให้ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ไว้ต่าง ๆ กัน  ดังนี้Scott Morton (1971) กล่าวว่า  “DSS เป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง คอมพิวเตอร์นี้จะช่วยทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูล และแบบจำลองต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้Keen & Scott Morton (1979) “DSS เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกับความสามารถของคอมพิวเตอร์  เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ DSS เป็นระบบ ระบบหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือและให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคคลผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจสามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิวัฒนาการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ               

ระยะเริ่มแรก  กลางปี 1950 นำ คอมพิวเตอร์เครื่องแรก (UNIVAC I) มาประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจ  ใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรของอเมริกา                ระบบที่นำมาใช้ในระยะเริ่มแรกนี้เรียกว่า ระบบประมวลผลรายการข้อมูล (Transaction Processing System : TPS)  ระบบจัดทำรายงานสารสนเทศ (Information Reporting System)  และเกิดแนวคิดการจัดทำสารสนเทศขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เรียกระบบนี้ว่า  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) 

ระยะที่สอง ประมาณปี 1960-1970  มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์  และเกิดมีระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) 

ระยะที่สามระบบที่มีอยู่ยังมีข้อจำกัดในการสนับสนุนการตัดสินใจ  จึงมีความพยายามพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ขึ้น ในช่วงปี 1970-4980  ต่อมา DSS ถูกนำไปใช้งานใน 2 ลักษณะ คือ  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นทีม (Group Support System: GSS)  

ระยะที่สี่ตั้งแต่กลางปี 1980 เป็นต้นมา  มีการพัฒนาระบบที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาของผู้บริหาร เรียกว่า ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)  โดยอาศัยแนวคิดจากเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  ต่อมามีการคิดเทคนิคแก้ไขข้อบกพร่องของ AI คือ คิด โครงข่ายใยประสาทเสมือน/คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Artificial Neural Network/Neural Computing)  และระบบตรรกคลุมเครือ (Fuzzy Logic) เพื่อช่วยให้ระบบสามารถตัดสินใจได้มากกว่า 2 ด้าน  ในที่สุดมีการพัฒนาเทคโนโลยี การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP)  

ระยะที่ห้าวิวัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในศตวรรษ 21 คือ ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) เพื่อลดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั่วโลก โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต    

ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1.       สามารถสนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์ของปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

2.       สามารถรองรับการใช้งานของผู้บริหารทุกระดับ

3.       สามารถสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม และแบบเดี่ยว

4.       สามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ทั้งปัญหาแบบเกี่ยวพันและ/หรือปัญหาต่อเนื่อง

5.       สนับสนุนการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการตัดสินใจได้

6.       สนับสนุนกระบวนการและรูปแบบการตัดสินใจที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.       มีความยืดหยุ่นสูง

8.       ใช้งานง่าย

9.       ในการพัฒนาจะเน้นหนักในการทำงานที่สำเร็จตามเป้าหมายมากกว่า         ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ

10.    มีหน้าที่สนับสนุนการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ใช่ทำหน้าที่แทนผู้ตัดสินใจ

11.    ระบบที่มีความซับซ้อน ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

12.    เป็นระบบที่ใช้วิธีวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจด้วยแบบจำลอง             ต่าง ๆ ระบบจึงต้องสามารถสร้างแบบจำลอง เพื่อทดสอบป้อนค่า           ตัวแปร และเปลี่ยนค่าไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ

13.    สามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลได้หลากหลาย 

ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1.       พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ2.       พัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ผู้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ยังสามารถช่วยแก้ปัญหากึ่งโครงสร้าง และปัญหาไม่มีโครงสร้างได้อีกด้วย                                                                                                                   3.       ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร DSS ที่ทำงานในลักษณะ Groupware ทำให้ผู้บริหารสามารถทำการปรึกษา ประชุม และเรียกใช้สามารถสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวก  ประหยัดเวลาและงบประมาณ                                                                          4.       ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด  เมื่อใช้งานบ่อย ๆ                                            5.       เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร  เนื่องจากการตัดสินใจถูกต้องทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น 

ประเภทของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ      จำแนกตามผลลัพธ์ที่ได้

1.       ระบบสอบถามข้อมูล (File Drawer System) เป็นระบบที่ง่ายที่สุด  โดย ช่วยสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น สอบถามยอดเงินในบัญชีผ่านทาง ATM  เพื่อประกอบการตัดสินใจเบิกเงิน

2.       ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis System)  ระบบที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยให้การตัดสินใจทำได้ง่ายขึ้น

3.       ระบบวิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis System)  เป็นระบบที่ใช้การวิเคราะห์และวางแผน โดยระบบจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายฐานข้อมูล

4.       แบบจำลองด้านการบัญชี (Accounting Model) ใช้งานด้านการวางแผนและจัดทำงบประมาณ  โดยคำนวณข้อมูลเพื่อประเมินผลลัพธ์โดยใช้ข้อกำหนดทางบัญชี   เช่น อัตราเงินเฟ้อ รายได้ และรายจ่ายในอนาคต

5.       แบบจำลองการนำเสนอ (Representational Model)  เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายผลลัพธ์จากการตัดสินใจและสะท้อนให้พฤติกรรมที่ไม่มีความแน่นอน

6.       ระบบคัดเลือกแนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุด (Optimization System) เป็นระบบที่ทำการคัดเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดบนพื้นฐานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และช่วยกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

7.       ระบบให้คำแนะนำ (Suggestion System)  เป็นการให้คำแนะนำจากการพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ควรใช้กับการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างสูง     

จำแนกตามแนวคิดของ Holsapple และ Whinston

1.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยอาศัยข้อความ (Text-Oriented DSS)  เนื่องจากสารสนเทศมักจะถูกเก็บในรูปแบบของข้อความ

2.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่อาศัยฐานข้อมูล (Database –Oriented DSS)   ฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

3.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกระดาษคำนวณ (ฆSpreadsheet-Oriented DSS)  อาศัย Microsoft Excel มาช่วยในกระบวนการแก้ปัญหา และให้คำแนะนำ

4.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหา (Solver-Oriented DSS)  เป็นระบบที่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยใช้แบบจำลองและภาษา ต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

5.       ระบบสนับสนุนโดยอาศัยกฎ (Rule-Oriented DSS)  ใช้กฎที่เกิดจากการจำลองรูปแบบของกระบวนการคิดและให้เหตุผลของมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตัดสินใจ 

6.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบผสม (Compound DSS)  เป็นระบบที่นำระบบต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกัน อาจประกอบด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่กล่าวมาข้างต้นตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป     

จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้

1.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล (Personal Support) ส่วนมาใช้สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง

2.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Support) ช่วยการตัดสินของกลุ่ม  ช่วยลดปัญหาการเดินทาง  ความล่าช้า  และค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม3.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบองค์กร  (Organizational Support) ใช้กับงานต่าง ๆ ในองค์กร    ซึ่งงานต่างประเภทกันก็อาจจะใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในลักษณะที่แตกต่างกัน      

จำแนกตามการใช้ระบบงาน

1.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ (Custom-Made System)  เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง

2.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำเร็จรูป (Ready-Made System) เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานทั่ว ๆ ไป ในองค์กร ต่าง ๆ  

--------------------------------

หมายเลขบันทึก: 116109เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท