KNOWLEDGE MANAGEMENT การจัดการความรู้


KNOWLEDGE MANAGEMENT คือ การรวบรวมความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในองค์กรให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินธุรกิจและจะสร้างกระบวนการให้มีการปรับปรุง และเสริมสร้างความรู้ที่มีอยู่ให้ก้าวหน้า ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
KNOWLEDGE MANAGEMENT หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า KM ซึ่งปัจจุบันนี้เราไปไหนมาไหนก็มักได้ยินคำนี้ในองค์กรต่างๆค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนตัวผมรู้สึกว่าองค์กรต่างๆในบ้านเราสมัยนี้ ส่วนใหญ่เมื่อมีเครื่องมือในการบริหารจัดการอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นมา ก็จะพยายามรีบนำมาใช้ในองค์กรของตนเพื่อให้เป็นที่ยอมรับขององค์กรอื่น ซึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการบางอย่างก็นำมาใช้โดยไม่รู้จริง หรือองค์กรของตนเองยังไม่มีความพร้อม ก็จะทำให้เสียทั้งแรงและเวลาโดยปล่าวประโยชน์
       
แต่เมื่อไม่นานมานี้จากการที่ได้เห็นและได้ฟังทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ในเรื่องของ KNOWLEDGE MANAGEMENT ก็มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่องค์กรควรจะต้องทำ และสามารถทำได้จริงโดยไม่ยากมากนัก และถ้าทำได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ได้รับกลับมาสู่องค์กรนั้นจะมีค่ามหาศาล และจะเป็นส่วนหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว หากเรามีการจัดการความรู้ที่ดีสำหรับในประเทศไทยผู้ที่กำลังศึกษาเรื่อง KM ควรจะต้องรู้จัก สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม หรือเรียกย่อว่า สคส. www.kmi.or.th ซึ่งจะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ โดยยึดหลักที่ว่าองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนพลังภาคี เพื่อให้สังคมไทยมีการหา สร้าง ใช้ และแลกเปลี่ยนความรู้ในทุกหย่อมหญ้า”  ซึ่งทุกๆคนสามารถเข้าไปศึกษาและแลกเปลี่ยนหาความรู้ต่างๆได้ และสิ่งที่ประทับใจก็คือมีข้อความใน web site นี้แสดงถึง รางวัลสุดคนึงประจำเดือน เดือน พฤษภาคม 2550 ของ คุณ Citrus จาก SCG ผมจึงขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้ด้วยครับ และสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาและแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ก็ที่นี่เอง www.gotoknow.org ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่นักจัดการความรู้ใช้ในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ซึ่งนับว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในตอนนี้
       
KNOWLEDGE MANAGEMENT คือ การรวบรวมความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในองค์กรให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินธุรกิจและจะสร้างกระบวนการให้มีการปรับปรุง และเสริมสร้างความรู้ที่มีอยู่ให้ก้าวหน้า ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาประเภทความรู้ ได้มีการจำแนกความรู้ที่มีอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
        1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน เช่น หนังสือสอนการเล่นกีตาร์ เอกสารวิธีการตรวจสอบสินค้า หนังสือขั้นตอนการเจรจาต่อรอง เป็นต้น
        2.
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา เช่น เมื่อได้อ่านหนังสือสอนวิธีการว่ายน้ำ แล้วเมื่อลงไปว่ายจริงก็อาจจะจมน้ำได้ เนื่องจากต้องฝึกฝนเพราะไม่ใช่แค่อ่านทฤษฎีจึงจะสามารถว่ายน้ำได้
       
เครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ กลุ่มเครื่องมือที่ถ่ายทอดความรู้จะเหมาะกับความรู้ที่อยู่ในตัวคน หรือ Tacit Knowledge โดยมีเครื่องมือ เช่น
  • การทำงานข้ามสายงาน (Cross Functional) โดยให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กัน  แล้วมีการจัดบันทึกและรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นไว้   
  • ชุมชนนักปฏิบัติการความรู้ (Community of Practice) หรือเรียกสั้นๆว่า CoP โดยให้พนักงานรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยอาจมีการจัดสถานที่ไว้ให้เหมาะสม หรืออาจผ่านระบบ Intranet หรือ Internet ก็ได้          
  • ระบบการสับเปลี่ยนงาน (Rotation) โดยสให้มีการโยกย้ายสลับหน้าที่การทำงานกัน ซึ่งอาจภายในสายงานเดียวกันหรือข้ามสายงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และรู้ปัญหาของแต่ละฝ่าย         
  • ระบบพี่เลี้ยง (Peer Assist) หรือ อบรมหน้างาน (On the Job Training : OJT) เมื่อมีการรับพนักงานใหม่หรือการทำเรื่องใดใหม่ๆ อาจจัดให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้นๆ มาประกบหรือสอนงานให้แบบพี่เลี้ยงเพื่อให้ได้มีการถ่ายทอดความรู้ที่มี ซึ่งจะสามารถได้รับความรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้เอง
    เครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงความรู้ กลุ่มเครื่องมือที่ใช้เข้าถึงความรู้ จะเหมาะเมื่อนำไปใช้กับความรู้ที่สามารถมองเห็นได้ชัด หรือ  Explicit Knowledge โดยมีเครื่องมือ เช่น         
  • การเก็บความรู้ให้เป็นเอกสาร         
  • การใช้วิธีการเขียนเล่าเรื่อง         
  • การนำความรู้มารวบรวม แยกกลุ่ม ดัชนี ตามความเหมาะสม         
  • การบันทึกจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศ
    KNOWLEDGE MANAGEMENT Framework 
    1. กำหนดเป้าหมายความรู้ ว่าความรู้ได้บ้างที่องค์กรจำเป็นต้องมี 
    2.
    การแสวงหาความรู้
    3.
    การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้
    4.
    การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
    5.
    การแลกเปลี่ยนความรู้
    6.
    การประยุกต์ความรู้
    7.
    การริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้
    8.
    การวัดผล
    9.
    การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
    ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้
    1. ป้องกันความรู้สูญหาย เพราะความรู้บางอย่าจะอยู่ที่ตัวคน เมื่อลาออกไปก็จะสูญเสียความรู้นั้นๆไป
    2.
    ทำให้การตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เพราะมีความรู้ที่มากพอทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง
    3.
    เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน ลดความขัดแย้ง ทำให้สามารถนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้
    4.
    เกิดเป็นสินทรัพย์ อาจเกิดนวัตกรรมใหม่ ซึ่งสามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้
    5.
    ได้เปรียบต่อการแข่งขันเพราะความรู้จะช่วยในการลดปัญหาในการจัดการได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
    6.
    การได้พัฒนาบุคคลากร ซึ่งการทำให้คนเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จะช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไม่หยุดนิ่ง
    ปัญหาของผู้ที่ดำเนินการจัดการความรู้
    1. ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญ
    2.
    การดำเนินการสร้าง แลกเปลี่ยน ค้นหา ประยุกต์ ยังไม่เป็นระบบ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่สะดวกที่จะทำ
    3.
    การตัดสินใจในการจัดการความรู้ ขาดการเปรียบเทียบ ทำให้ไม่รู้ หรือไม่ได้นำวิธีการที่ดีที่สุดมาเป็นแนวปฏิบัติ
    4.
    ข้อมูลเยอะมากเกินความจำเป็น ทำให้ค้นหาได้ช้า หรือระบบการค้นหาที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
    5.
    การปิดบังข้อมูล หรือความรู้  เพราะกลัวความไม่มั่นคงทางอาชีพ
    6.
    ขาดความเชื่อใจ กลัวความลับจะถูกนำออกไปนอกองค์กร มีความระแวงเกินความจำเป็น
    7.
    ขาดการยกย่อง ให้รางวัล กับผู้ที่ให้ความร่วมมือกับการจัดการความรู้
    ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางแก้ไข โดยการ Change Management แต่ก็ยากพอสมควรสำหรับบางองค์กร
    อ้างอิงจาก ภราดร จินดาวงศ์. 2549.Knowledge Management The Experience
    *** ตัวอย่าง KM ในองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ***
            การจัดการด้านความรู้จะมีการเชื่อมโยงกับระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการขององค์กรตลอดเวลา เช่น คอมพิวเตอร์ PDA ระบบเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi โทรศัพท์ระบบ 3G เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL เป็นต้น แต่การจัดการความรู้ที่ดีจะไม่ได้เน้นเรื่องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ใหม่ที่สุดสำหรับองค์กร ผู้บริหารจำเป็นจะต้องตระหนักถึงหลักการที่แท้จริงของการจัดการความรู้อยู่เสมอ มิฉะนั้นจะหลงทางในการจัดการความรู้ได้
        กรณีศึกษาจากต่างประเทศ
  • 3M : มี Forum และ Conference  ภายในสำหรับพนักงานได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ จนทำให้ 3M เป็นบริษัทชั้นนำ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีการสร้านวัตกรรมยอดเยี่ยมของโลก                
  • Dow Chemical : ได้เก็บข้อมูลสิทธิบัตร 25,000 รายการ ไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้พนักงานได้นำความรู้ใหม่ๆ มาต่อยอดจากความคิดในสิทธิบัตรเดิม              
  • Xerox : จัดสร้างห้องกาแฟส่วนกลาง เพื่อให้พนักงานจากทุกฝ่ายที่ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ มาพบปะพูดคุยกันได้ตลอดเวลา
    กรณีศึกษาจากในประเทศ
  • TRUE : มีการผสมผสานระหว่างการจัดการความรู้กับ Call Center ที่ต้องการความรวดเร็วและความเชี่ยวชาญในการค้นหาข้อมูลจากพนักงาน ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยมีการใช้ซอฟต์แวร์ จาก eGain เข้ามาช่วยบริหารงานด้าน Call Center ในองค์กร                
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) : เริ่มจากเป้าหมายของธุรกิจหรือหน่วยงาน มาใช้เป็นตัวกำหนดความรู้ที่ต้องการใช้ โดยรวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การเผยแพร่ความรู้ ได้ใช้วิธีการผสมผสาน เช่น การจัดอบรมในห้องเรียน การใช้ระบบที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Coaching และ Mentor) การเรียนรู้จาก E-learning ภายในบริษัท เป็นต้น
    นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้การจัดการความรู้ของเครือปูนซิเมนต์ไทย ประสบควาสำเร็จนั่นคือ การใช้ Web Board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพ การใช้กรณีศึกษา (Case Study) มาวิเคราะห์ทั้งความล้มเหลวและประสบความสำเร็จของกิจการที่เรียนรู้จากกรณีศึกษา การมีเป้าหมายเพื่อสร้างพฤติกรรมโดยอิงหลักการวินัย 5 ประการของ Peter Sengeเป็นต้น
  • บริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) : มีการบริหารความรู้และกระตุ้นให้เรียนรู้ในลักษณะเชิงรุก และทำงานเป็นระบบโดยการสอนงานอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัว เช่น วิศวกรอาวุโสเป็นผู้ให้แนวทางการทำงาน และเป็นครูฝึกให้กับวิศวกรใหม่ เพื่อเรียนรู้ระบบการผลิต เครื่องจักร แล้วนำความรู้ที่ได้มาเขียนเป็นคู่มือปฏิบัติงานเก็บไว้ในศูนย์กลางข้อมูล ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาใช้โดยผ่านระบบอินทราเน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมายเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการจัดการความรู้ในองค์กร และผู้บริหารเป็นผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่
    อ้างอิงจาก วารสารนักบริหารเดือน มกราคม-มีนาคม 2548
    การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในมุมมองนักบริหารรุ่นใหม่ 
    KNOWLEDGE MANAGEMENT in Crop Integration Business C.P. Group
    Core Competencies for KM specialists/teams โดยกำหนด Competency ให้กับคณะทำงาน KM ดังนี้
    1. มีความสามารถ และใส่ใจในการเรียนรู้ (Ability to learn)
    2. มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น (Customer empathy)
    3. มีความคิดริเริ่มเป็นตัวของตัวเอง (Self initiation)
    4. มีความคิดแบบบูรณาการ (Collaborative)
    5. มีความคิดในการเชื่อมต่อความรู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual linking)
    6. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility)
    7. มีความชอบที่จะแก้ไขกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น (Solution orientation)
    8. มีความเป็นสรรพ (เก็บ จด จำ) ในข้อมูล (Information literacy)
    9. มีความตระหนักรู้ และเชี่ยวชาญในสาย IT (Technology awareness)
    10. มีความเข้าใจและเกลี้ยกล่อมความคิดเป็น (Persuasive)
    11. มีความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ได้อย่างเป็นระบบ (Ability to share)
    12. มีความสามารถในการกลั่น เลือกสรร และสื่อสารในประเด็นที่สำคัญ (Able to extract and communicate key issues)
    สำหรับการทำ KNOWLEDGE MANAGEMENT ในการบริษัทฯของผม ยอมรับว่าเป็นแค่เพียงการเริ่มต้นเองครับ โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
    กำหนดวัตถุประสงค์
    เพื่อรวบรวมความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในองค์กร ให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุดในการดำเนินธุรกิจและจะสร้างกระบวนการให้มีการปรับปรุง และเสริมสร้างความรู้ที่มีอยู่ให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
    แผนการดำเนินงานในการจัดทำ KNOWLEDGE MANAGEMENT
    1.
    นโยบายและแนวทางในการพัฒนาระบบ KM
    2.
    กำหนดโครงสร้างข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงาน
    3.
    ระดมสมองในความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน และความรู้ทั่วไปตามแบบฟอร์ม
    4.
    ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบันทึกในแบบฟอร์มกรณีศึกษา
    ขั้นตอนการดำเนินงาน
    1. รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในแต่ละหน่วย โดยจะมองในภาพรวมของธุรกิจ- กระบวนการผลิตมาตรฐาน- กระบวนการสนับสนุนการผลิต และการส่งเสริมการขาย- ความเชี่ยวชาญและเทคนิคพิเศษ- กรณีศึกษา โครงการที่ประสบความสำเร็จ โครงการที่มีปัญหา และบทเรียนที่ได้รับ- ปัจจัยของความสำเร็จและการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ- นวตกรรมและการพัฒนาในอนาคต
    สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ รายงานข้อมูลความรู้ที่ใช้อยู่และความรู้ที่คาดว่าจะต้องใช้ในอนาคต
    2. วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดข้อมูลทั้งหมด ให้ได้มุมมองทั้ง 7 ประการ ดังนี้
    1. ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
    Knowledge in Customer
    2.
    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต Knowledge in Processes
    3.
    ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ Knowledge in Products (and Services)
    4.
    ความรู้เกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร Knowledge in People
    5.
    แหล่งที่เก็บข้อมูลขององค์กร Organizational Memory
    6.
    ความรู้ที่สัมพันธ์กันในองค์กรในด้านต่างๆ Knowledge in Relationships
    7.
    ะบบการจัดการที่จะกำหนดลักษณะทุนทางปัญญาขององค์กร Knowledge Assets
    สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ รายงานโครงสร้างของความรู้และกลุ่มของข้อมูลในแต่ละมุม
    ครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงาน KM (Practices & Tools used)
    กิจกรรมกับพนักงาน
    1. ประชุมกลุ่มระดมสมอง
    2.
    สอบถามกันตัวต่อตัว
    3. สังเกตุการปฏิบัติงาน
    4.
    ประชุมกับทีมอื่นที่เกี่ยวข้อง
    5.
    บอกเล่าความเป็นมา
    6.
    สร้างรายชื่อของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
    7.
    ประชุมทีมที่มีการปฏิบัติงานคล้ายๆ กัน
    ระบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์
    1. ระบบค้นหาข้อมูลในคอมพิวเตอร์
    2.
    ระบบฐานข้อมูล
    3.
    ระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็คทรอนิกส์
    4.
    คลังสื่อ เช่น CD วิดีโอเทป
    5.
    ระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์
    6.
    ระบบการวัดเกณฑ์ของกระบวนการที่ดีที่สุด
    7.
    ระบบบันทึกบทเรียนที่ได้รับ
    8.
    ระบบสมุดบันทึกการตัดสินใจ
    3. การจัดวางโครงสร้างระบบ KM วางแผนและพัฒนาโครงสร้างของข้อมูลสำหรับการแบ่งปันความรู้บนระบบ Intranet รวมทั้งกำหนดฟังก์ชั่นที่ทำให้ผู้ชำนาญเฉพาะด้านสามารถปรับปรุง เพิ่มเติม หรือลบข้อมูล เนื้อหาได้เองตามการให้สิทธิ์
    สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ ระบบข้อมูลความรู้ที่สามารถใช้ได้ในบริษัทในระยะทดลอง
    4. เก็บบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ
    ข้อมูลความรู้ ==> Inventory ==> Severs ==> Workstations
    สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ  ระบบงาน KM ที่เป็นระบบระเบียบบนงาน IT ที่เหมาะสม
    5. สื่อสารและส่งเสริมการยอมรับการใช้ความรู้ในองค์กร โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น วารสารภายใน กิจกรรม E-mail และอื่นๆ
    สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ รายงานกิจกรรมที่นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการค่อยๆ ปรับทัศนคติให้สามารถใช้ระบบ KM เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
    การประยุกต์ใช้กับองค์กร
    เนื่องจากบริษัทของผม Knowledge Management เพิ่งเริ่มมีการจัดทำขึ้นและผมก็ได้เข้าร่วมประชุมและอบรมการทำ KM ของบริษัท เพื่อวางแผนและจัดกิจกรรม KM ต่างภายในบริษัท ดังนี้
    1. สร้างมุมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรเพื่อแบ่งปันความรู้ เช่น บอร์ด Newsletter จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดทำ Knowledge Conner โดยการจัดบอร์ด ( เนื่องจากบริษัทของผมดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร ดังนั้น มีความคิดเห็นว่า การจัดบอร์ดน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่ก็จะมีการนำความรู้ต่างๆที่ได้ขึ้นเวปของบริษัทด้วยที่ www.cpcrop.com ) ซึ่ง HR ต้องทำหน้าที่เป็น Knowledge Capture เพื่อดึงความรู้มาจากส่วนงานต่างๆ และในบอร์ดจะมีการติดรูปของผู้ที่ให้ความรู้ ให้มีการติดดาวเพื่อแสดงความนิยม และมีช่องว่างให้พนักงานแสดงความคิดเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบ หรือมีความคิดเห็นอย่างไรกับความรู้นั้นๆ เพื่อเป็นการแสดงความสนใจ และเพื่อ feed back ให้กับความรู้ที่ขึ้นบอร์ด
    2. จัดทำ KM Day ซึ่งจะจัดอาทิตย์ละครั้ง โดยกำหนดเป็นรายบุคคล และ set แผนทั้งปี สำรวจเก็บสถิติของผู้ให้ความรู้ ว่าพนักงานคนไหนนำความรู้มานำเสนอมากที่สุด
    3. จัดกิจกรรม Big Bang ซึ่งจะจัดตอนสิ้นปีเพื่อจัดประกวดว่า Knowledge ชิ้นไหนสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อองค์กร โดยให้แต่ละหน่วยงานส่ง Knowledge ของแต่ละฝ่ายออกมา เพื่อประกวดให้รางวัลโดยให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการให้รางวัล
    ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้
    KM ประสบผลสำเร็จ มีดังนี้
    - ผู้นำเห็นความสำคัญของการทำ KM
    - เห็นภาพชัดว่าจะได้อะไรจากการทำ KM
    - กระบวนการทำ KM ที่เป็นระบบ
    - วัฒนธรรมองค์กรในเรื่องของการแบ่งปันข้อมูล
    - ทัศนคติของการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
    - ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT

หมายเลขบันทึก: 115740เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
พี่บอยครับ ข้อมูลพี่บอยเยี่ยมเลยครับ ทำให้คิมไม่ต้องใส่รายละเอียดเกี่ยวกับ knowledge management เลย แต่ว่าคิมอยากรู้ว่าพี่พอจะมีแนวทางในการสร้างความใฝ่รู้ให้เกิดขึ้นกับคนได้อย่างไรอ่ะครับ แค่อยากถามความคิดเห็นอ่ะนะครับ เพราะว่าที่ออฟฟิสคิมเองก็มีการทำเรื่องนี้ แต่ว่าพนักงาน รวมทั้งคิมเอง ก็ยังไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องนี้เท่าไรนัก

citrus say:

ขอบคุณมากนะคะ ที่แสดงความยินดี และช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วย สำหรับรางวัลสุดคะนึง อยาก share feeling ว่า การทำ KM ในองค์กรอาจจะไม่ success เท่ากับที่พนักงานเข้าไปเสาะหา network และเรื่องที่สนใจเอง เพราะอย่างของพี่เอง ในบริษัทก็พยายามให้เราเข้าไปเขียน แต่พอเราเขียน ก็ไม่เห็นจะมีคนมาอ่าน ซึ่งผิดกับใน G2K ที่มีวงกว้าง และมีโอกาสที่จะเจอคนคอเดียวกันได้มากกว่า และเป็นเรื่องที่เราอยากรู้ อยากแบ่งปันเอง ไม่มีใครมาบังคับ

 

ส่วนเรื่องรายงาน อยากให้เพิ่มเติมรายละเอียดเรื่อง case ตัวอย่าง บทวิเคราะห์ สังเคราะห์

 โปรดอ่านบันทึกของพี่ฉบับล่าสุดที่เขียนเรื่องรายงาน และลองอ่านที่ให้ความเห็นในบางรายงานของเพื่อนไปหลายคนแล้วค่ะ

ดีจังค่ะที่มีคนเขียนเรื่องนี้ เพราะของเราทำเรื่อง Community of Practice ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ KM ตอนเขียนเรื่อง CoP ก็กังวลว่า เอ เราจะพูดถึง KM ประมาณไหนดีนะ น้อยไปเดี๋ยวผู้อ่านไม่เข้าใจ มากไปก็จะไม่ได้เขียนเรื่องของตัวเอง  แต่ว่าตอนนี้มีเรื่อง KM ให้อ่านละเอียดแล้ว น่าจะทำ link มานะเนี่ย ^-^ 

แป๋ม

IO#2

เรื่องนี้ให้ความรู้มากเลยค่ะ เป็นการแนะนำวิธีการสร้างความรู้ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาแต่คิดไม่ถึงค่ะ และวิธีการเขียนก็อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ

จากอุไรวรรณ ทองเจริญ i/o ค่ะ

ตอนนี้ที่บริษัทมีการนำเรื่อง knowledge managment มาใช้เหมือนกันค่ะ เช่น KLOG Committee ซึ่งจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กร เท่าที่ทราบ CP กำลังทำเรื่องนี้เหมือนกัน ไม่สามารถว่าทำในเรื่องใดบ้างคะ

บริษัทพี่บอยมีการจัดทำอย่างไรคะ เริ่มต้นจากการเก็บเป็นแผนกๆ หรือว่ามีหน่วยงานที่จัดทำKMโดยเฉพาะเลยหรือเปล่า

พัฑ 

Knowledge Management ดูจะเป็นเรื่องที่บริษัท หน่วยงานต่างๆ กำลังให้ความสนใจกันมากในตอนนี้เลยค่ะ ส่วนตัวก็ยังไม่มีข้อมูลและได้ทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มากนัก ได้อ่านข้อมูลของบอยก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น คิดว่า  KM เป็นเรื่องที่ต้องติดตามผลกันในระยะยาว แต่ละบริษัทจึงอาจมีกระบวนการต่างๆ และบริษัทก็ต้องมีนโยบายให้ความสำคัญด้วย  อย่างที่บริษัท ก็มีทำเรื่องนี้ในรูปของ Lerning Center  เป็นศูนย์เรียนรู้ มีหนังสือและมัลติมีเดียต่างๆ ทั้งในเรื่องความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะสำหรับการทำงานในบริษัท เช่น หน่วยการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ การออกแบบเครื่องยนต์ ฯลฯ ให้พนักงานได้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้ก็มี project หนังสือคัดสรร โดยผู้บริหารคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจของปีเป็นของขวัญปีใหม่ให้พนักงาน ซึ่งเป็นการส่งเสริมความรู้อีกทางหนึ่ง  ....อยากทราบการว่าที่บริษัทของบอยมีการนำมาใช้ในรูปแบบใดบ้างอะคะ    (^0^)  เกด
     พอดีทำหัวข้อ Peer Assist ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการทำ KM เหมือนกันค่ะ ยังไงก็เข้าไปอ่านในหัวข้อนี้ได้นะคะ จะได้เป็นการแชร์ความรู้กัน เพราะ Peer Assist ก็ไม่ถือว่าเป็นระบบพี่เลี้ยงซะทีเดียว หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับ Peer Assist ก็นำไปโพสต์ได้นะคะ...ส่วนผู้ที่อ่าน Peer Assist แล้วสงสัยทฤษฎีเกี่ยวกับ KM ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ที่หน้านี้ ช่วยกันสุดๆ ถือเป็นการทำ KM อย่างหนึ่ง ^_^  แล้วจะติดตามอ่านตอนต่อไป หลังที่บันทึกสมบูรณ์แล้วนะคะ ขอบคุณค่ะ :-)

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง KM ดีทีเดียวแต่ช่วยยกตัวอย่าง case ขององค์กรที่มีการจัดทำ KM แล้วผลเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ปัญหาและอุปสรรคของการทำเรื่องนี้ในองค์กรคืออะไร นอกจากพนักงานไม่ให้ความสนใจแล้ว ยังมีอย่างอื่นอีกมั้ยคะ...  :-)

ณัฐดา (นัท)

ดีครับ พี่บอย

 

การจะใช่ KM นั้น ส่วนใหญ่เราใช่เครื่องมืออะไรเก็บครับ เช่น เก็บเป็นไฟล์เอกสารในเซิฟเวอร์ หรือมีการใช้โปรแกรม หรืออาจจะเป็นบล็อคของเราได้หรือไม่ครับ

 

อยากรู้ว่าที่ที่ทำ KM นั้นใช้เครื่องมืออะไอบ้างอะครับ

การมาแชร์ข้อมูลความรู้ในแต่ละสายงานต่างๆ นั้นดีมากๆ เราจะได้รู้ว่าฝ่ายงานอื่นๆ เขาทำอะไรกันบ้างแล้วเรายังได้ความรู้เพิ่มด้วย แต่การจะจูงใจให้พนักงานมาช่วยกันสะสมความรู้ นี้สิครับ เรื่องยากมากกว่าเนอะ

 

ไว้จะมารอความเห็นเพิ่มเติมนะครับ

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

สวัสดีพี่บอย ........เขียนเรื่องนี้ได้ละเอียดดีนะครับทำให้ทราบเลยว่าทำไมเราต้องทำ KM ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยถ้าบริษัทไหนไม่ทำ KM คงจะลำบากน่าดู ยิ่งความรู้แบบ Tacit Knowledge ถ้าเราจัดความรู้หรือเก็บความรู้เหล่านี้ไม่ได้ถ้าเค้าออกไปเราคงเสียดาย ความรู้ ประสบการณ์ ของเค้าแน่ๆเลย..........แต่อยากทราบครับพี่บอยว่าการทำ KM มันควรเริ่มอย่างไรจะเริ่มเป็นเรื่องๆ หรือเป็นแผนก หรือแล้วแต่ความพร้อมของบริษัท   ขอคำแนะนำพร้อมตัวอย่างหน่อยนะพี่

ช่วยพี่บอยตอบพี่ต้องนะว่าเครื่องมือของ KM มีอะไรบ้าง พี่ต้องเข้าไปดูที่ http://gotoknow.org/blog/practicallykm/119306 เลยเป็นบล็อกของคุณหมอ Dr. Phichet Banyati ลองเข้าไปอ่านนะพี่มีเครื่องมือการทำ KM เพียบ (ไปเอาลิงค์ที่ อ. ส้ม เค้ามาแปะมาให้มาอะ 5555+  ....เหนเป็นเรื่องเดียวกันเลยเอามาแปะให้

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

 

บอย

น่าสนใจที่จะรู้ว่าเขาประเมินผลสำเร็จของKM ได้ด้วยวิธีไหนค่ะ

พี่บุป

ขอบคุณทุกๆคนนะครับ ที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะ จะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ Thank you..
เด็กเรียนโท IO ธรรมศาสตร์ & โท E-business บางมด

ผมได้ยิน KM คำนี้ มาหลายปีมากๆ รวมทั้งเข้าร่วมสัมมนาอีกหลายแห่ง ทำงานกับองค์กรใหญ่มาบ้าง ซึ่งมี comment กับเรื่องดังกล่าวดังนี้

1. KM ที่พูดถึงกันส่วนใหญ่ (ในหลายบริษัท) ยังเป็นแค่แนวคิด (แต่เป็นแนวคิดที่ดีนะครับ) อาจมีบางแห่งเริ่ม Implement บ้าง แต่สุดท้าย วัดผลลำบากครับ ว่าองค์กรหรือบริษัทเราตอนนี้เป็น KM แล้วหรือยัง ถ้าเป็นแล้วอยู่ในระดับใด อะไรจะมาเป็นเกณฑ์ (Criteria) ในการประเมินบ้าง แต่ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่ามีระบบ KM มีดีกว่าไม่มีครับ ถ้าไม่ต้องใช้เงินลงทุนด้านนี้สูง โดยเฉพาะในเรื่อง technoloy ดังนั้น การเลือกใช้ tech. จึงมีความสำคัญควบคู่กับเรื่องที่เราอยากจะทำ รวมทั้งผู้บริหารต้องเห็นด้วย และยอมรับว่าบางเรื่องยังเป็นนามธรรมหรือแนวคิดในการพัฒนาองค์กร (OD) อยู่ ไม่งั้นทำไปแล้วเครียดครับ (โดยเฉพาะถ้าผู้บริหารต้องการวัดผลเป็นตัวเงิน หรือ หาROI, หา Break Event-Point แล้วละก้อ แนะนำว่าอย่าทำมันเลยครับ HR หรือคนเกี่ยวข้องต้องเครียดแหง๋ๆ) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องนะครับ ที่อยู่ใน scope ดังกล่าว เช่น KPI&Balance ScoreCard, Change Management ซึ่งปัจจุบันผมก้อกำลังทำอยู่ใน SAP Project ฯลฯ

2.ระบบเทคโนโลยีที่มาสนับสนุนทางด้านนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น IT ครับ เห็นด้วยกับบทความนี้นะครับที่บอกว่าอย่าไปหลงทางกับ tech. จริงๆ อยู่ที่ content & สาระในการทำระบบ KM มากกว่า สามารถเลือกทำแบบง่ายๆ ก็ได้ ใช้แค่ WebSite, WebBlog, MicrosoftOffice แค่นี้ก็อาจจะพอสำหรับเริ่มต้น แต่สุดท้ายระบบ KM ที่มีประสิทธิภาพ ก็ต้องเพิ่งพา IT ที่แพงๆ อยู่ดี ขอแนะนำ tech ทางด้าน IT อีกหลายตัวเช่น Datawarehouse, DataMining, AI (ไม่ขออธิบายเพิ่มใน tech. แต่ละตัวนะครับ ไม่งั้นยาวมากแน่ๆ 555)

3.เรื่อง "คน" กับ "วัฒนธรรมองค์การ" ครับ ผมคิดว่า 2 ปัจจัยนี้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน และเป็น 2 ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำระบบ KM ให้ประสบความสำเร็จ (จากประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว) หากคนไม่สนใจ วัฒนธรรมองค์การ ไม่เอื้อหรือไม่สนับสนุนการเรียนรู้ ต่อให้ tech ทีมงานในการทำ และระบบต่างๆ ดีขนาดไหน ก้อไม่สำเร็จ ดังนั้น การทำระบบ KM ต้องเน้นพัฒนา "คน" กับ "วัฒนธรรมองค์การ" ควบคู่ไปด้วย แนะนำให้อ่านหนังสือ ชื่อ คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน (Happy) ของ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ จะเข้าใจและเห็นตัวอย่างจากเรื่องนี้มากขึ้น

4.แนะนำโมเดลของเรื่อง (Explicit Knowledge) & (Tacit Knowledge) เพิ่มเติมนะครับ จริงเรื่องนี้จะมี Model อยู่ อธิบายเป็นรูปภาพ จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่าการเขียนเป็นบทความ ถ้าผมเจอ Link จะส่งมาให้นะครับ

5. หนังสือ The Fifth Discipline ของ Peter M. Senge น่าศึกษาเพิ่มเติมครับ แต่ขาดการนำไป Implement และวัดผลจริง เป็นแค่แนวคิด (เท่าที่พลิกดูคร่าวๆ ) ถ้าใครมีความเห็นแตกต่างหรือมีแนวคิดวัดผลเรื่องพวกนี้ได้ ส่งข้อมูลมาให้อ่านหน่อย จะขอบคุณหลายๆ ที่ [email protected]

สุดท้ายนี้ ขอให้ บอย โชคดี (ได้ A) ในการเรียนที่นี่นะครับ จาก พี่ต้าร์ เอง :)

ขอบคุณมากครับ พี่ตาร์ สำหรับคำแนะนำที่ดีมากๆและร่วม share ความรู้และประสบการณ์ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นประโยชน์สำหรับการทำ KM เป็นอย่างมาก

ปล.เรียนโท 2 ใบพร้อมกันและก็ทำงานไปด้วย ทำได้ไงสุดยอดจริงๆ ปีนี้จบทั้ง 2 ใบเลยใช่ป่าว รับปริญญาเมื่อไหร่บอกด้วยนะครับ จะไปร่วมแสดงความยินดีนะครับ พี่ต้าร์

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

อ่านเรื่องของพี่บอยจบแล้วรู้สึกว่าการมี KM ในองค์กรนี่ดีจริงๆเลยนะคะ แต่ก็อย่างที่อาจารย์ส้มบอกว่าเวลาเราเข้าไปเขียนก็ไม่เห็นจะมีคนเข้าไปอ่าน ทำให้สงสัยอ่ะค่ะว่าทางบริษัทของพี่บอยเองมีการทำ motivation อย่างไร เพื่อที่จะให้พนักเข้ามาสนใจในการทำ KM น่ะค่ะ อย่างบริษัทโบว์เค้าจะมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเลยว่าวันนี้ Update แล้วนะ แล้วมีหัวข้ออะไรใหม่ แล้วก็มีการส่ง mail เข้ามาให้พนักงานได้ทราบถึงการ Update ครั้งนั้นๆด้วยนะคะ โบว์ว่ามันก็มีส่วนดี เพราะว่าวันๆพนักงานก็ยุ่งกันมากจนอาจจะลืมหรือไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องดีๆไปได้ แล้วบริษัทพี่บอยล่ะค่ะมีวิธีอะไรเด็ดๆบ้างยังไงช่วย Share ให้ฟังหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

เนื้อหาใกล้เคียงกับของ "คิม" ช่วยต่อยอดกันได้ดีเลยค่ะ เพราะเอา 2 คนมารวมกันได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยค่ะ กำลังมองหา Model เรื่องนี้ ขอบคุณนะคะ แต่อยากได้ Model ฉบับเต็ม/มากกว่านี้ ช่วย Share มาให้ได้บ้างไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

[email protected]

เมื่อ Knowledge Management-KM เป็นสิ่งที่แพร่หลายอย่างมาก ที่แต่ละองค์กรมีความรู้สึกว่าจะต้องทำแล้ว  จึงมีความคิดว่าแล้วจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จริง ๆ มิได้เป็นไปตามกระแส  จากที่ได้ไปอาจเพิ่มเติมมา ก็สนใจในเรื่องของแรงจูงใจในการเริ่มทำ KM เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นที่ดี  โดยควรมีแรงจูงใจแท้ คือ การจัดการความรู้โดยมีเป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นสำคัญ มากกว่าแรงจูงใจเทียม คือ ทำเพราะถูกบังคับ หรือทำเพื่อให้ได้ผลงาน เพราะจะนำไปสู่การจัดการความรู้แบบเทียม http://www.kmi.or.th/autopage/file/WedJuly2005-9-16-35-Introduce_KM.pdf

บอยเขียนดีค่ะ เรื่องนี้หาคนทำยาก

พี่เอ๋

หวัดดี บอย อืมมข้อมูลนายแน่นมากทำให้เข้าใจได้เลยว่า การจัดการความรู้มีข้อดี ข้อเสียยังงัยบ้าง เราว่าการเก็บข้อมูลสำคัญ แต่ว่า การเอาข้อมูลมาใช้นี่ดิ ยากกว่าอีก ดูจากที่เคยเก็นมาอ่ะนะ เพราะว่าไม่มีการจัดวิธีการเก็บที่สะดวก เป็นลักษณะที่มีอะไรก็เก็บเข้าไปในนั้นอย่างเดียวเลย กว่าจะหาข้อมูลได้แทบตายเลย ถ้ามีการถ่ายทอดที่ดีมันก็จะทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอชื่นชมนะบอย ว่านายเอาข้อมูลมาทำให้สนใจเรื่องนี้มากๆเลย ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะพี่บอยคนดีของ.....ทุกคน

          เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแต่บางทีไม่รู้ตัวว่าทำอยู่เนื้อหาครบถ้วนมากมายค่ะ  ทำให้คนอย่างที่ไม่เคยอยู่ในองค์กรไหนเลยอย่างนันทน์พอจะนึกภาพตามได้   รู้สึกว่าเรื่องนี้จะเป็นการจัดรูปแบบการเรียนรู้หลายๆอย่างให้เป็นระบบมากขึ้น   เครื่องมือก็เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบต่างๆ   คิดว่าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งสำคัญมากๆในเรื่องของการทำ innovation  culture  ใช่มั้ยคะ

        มีข้อมูลของ สคส มาเพิ่มเติมนิสนึงค่ะ

แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้

แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

โมเดลปลาทู เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ

. ส่วน หัวปลา(Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คุณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ

. ส่วน ตัวปลา(Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

. ส่วน หางปลา(Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

น้องนันทน์

ขอบคุณทุกๆ คนนะครับ ที่เข้ามาอ่านและเสนอแนะต่างๆ ในที่สุด Blog KM ของผมก็สำเร็จ 100% แล้วครับ

ขอบคุณครับ
บอย..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท