ประชุมคณะกรรมการกลางเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๒


 

          ประชุมที่ห้องประชุม ๑๔๐๒  ชั้น ๔  ตึกอำนวยการ มหาวิทยาลัยมหิดล  นครสวรรค์ วันที่ ๒๑ ก.ค. ๕๐
 
          ศ. นพ. ประเวศ วะสี ประธานของคณะกรรมการ     กล่าวชี้แจงต่อที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมจาก ม. มหิดล ทั้งที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการสภาฯ ว่า การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และความสุข     ย้ำว่าไม่เน้นการมองปัญหา      แต่เน้นการมองอนาคต     มองอนาคตร่วมกัน

          มหาวิทยาลัยมหิดล มีสรรพวิทยา ๑๐๘    แต่ต่างคนต่างอยู่  แยกส่วน     ไม่เกิดพลังร่วม     ไม่เกิดมิติใหม่   

          ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย เตือนว่า กระบวนการนี้ในที่สุดจะได้วิสัยทัศน์ร่วม ที่ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง     ต้องไม่เกิดความรู้สึกว่าความเห็นของตนถูกปฏิเสธ     ต้องเข้าใจว่าความเห็นของตนได้ผสมผสานเข้าไปอยู่ในวิสัยทัศน์ร่วมแล้ว

          ห้ามว่ากัน    ทุกคนเท่าเทียมกัน   มีอิสระ   ให้ชื่นชมคนอื่น    เรียก AIC – A = Appreciation ฝันเต็มที่ เกิดอุดมคติที่ทุกคนร่วมสร้าง, I = Influence จะทำอะไรร่วมกัน, C = Control ทำ Plan of Action ร่วมกัน

อมเรศ ภูมิรัตน  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
          วิจัย มีความร่วมมือกัน เช่น โครงการลุ่มน้ำ ท่าจีน-แม่กลอง,    Molecular Medicine    เน้น multidisciplinary ค่อนข้างมาก     ฝันเห็นการวิจัยเป็นกลุ่มก้อนชัดเจน  
          คณะวิทย์  ต้องการเพิ่ม publication per head  ที่ผ่านมาเพิ่มจาก ๐.๕ – ๐.๗ – ๑๐ เป้า ๒-๓    ต้องมีระบบ เช่น postdoc  มีการสนับสนุนโดย สกว., สวทช. แต่ยังติด     มม. น่าจะพัฒนาระบบ postdoc อย่างจริงจัง   
          การเรียนการสอน  อยากได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ  นศ. ที่มีคุณภาพ    ได้ดำเนินการโดยรับตรง  ให้ทุน   process การเรียนการสอนปรับปรุงหลายอย่าง     อยากให้ บัณฑิตของคณะเข้า grad program  มากกว่าออกไปทำงาน    
          นศ. ปี ๑ เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์    หลายคณะยังไม่ได้เรียนร่วมกันเท่าที่ควร      โดยคณะต่างๆ เข้ามาร่วมที่คณะวิทยาศาสตร์     การทำศาลายาให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย คณะต่างๆ ลงขันกัน พัฒนา ปี ๑  

ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา   ผอ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
          อยากเห็นมหาวิทยาลัยรู้ร้อนรู้หนาวต่อสังคม  ไม่อยู่ใน comfort zone     เข้าไปผลักดันนโยบายของสังคม     ชี้นำสังคมในทางปัญญา      นำทุนทางปัญญาไปต่อยอด สร้างประโยชน์ต่อสังคม      มีกลไกให้ทำได้    มีหน่วยงานรับผิดชอบ สนับสนุนทางวิชาการ  เชื่อมโยงคณะ เอา ความรู้ มาสังเคราะห์     (ฟังแล้วผมนึกถึงการจัดการ Translational Research)    การเชื่อมโยงกับภายนอกมากขึ้น    ปรับตัวให้ทำงานในบริบทใหม่ได้    
          เพื่อนในหน่วยงานระดับปฏิบัติบอกว่าโลกเคลื่อนเร็ว    ไทยไม่มีทางแข่งด้านเทคโนโลยี     ต้องแข่งด้านการประยุกต์ใช้   
          อยากเห็นบรรยากาศวิชาการที่กระตือรือร้น    เป็นฝันไปไกล  ไม่แน่ใจว่าทำได้แค่ไหน

ประเวศ
          ใช้จินตนาการ     มองการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นโอกาส  ที่จริงเป็นทั้งปัญหาและโอกาส 

พรชัย มาตังคสมบัติ  อธิการบดี 
           เคยพูดว่าเมืองไทยต้องเป็นมหาอำนาจ     คนไทยถ่อมตัวเกินไป     ฝรั่งเศส ประเทศเท่าๆ กับไทย     มีระบบใช้ปัญญาของคนอย่างแหลมคม    ประเทศไทยสามารถแข่งได้
           จุดสำคัญที่สุดคือพัฒนาคน     ให้เด็กทุกคนเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่     ได้รับการกระตุ้นให้คิด วิเคราะห์  ประมวลเรื่อง   สรุปคำตอบ เป็น     เราไม่ได้ทำ    ถ้าทำ เด็กของเราจะรู้ตั้งแต่ ม. ต้นว่าตนเองมีความสามารถพิเศษด้านไหน    และเลือกเรียนตามถนัด ชอบ และทำได้ดี     ทั้งหมดนี้เมืองไทยทำพลาดหมด     หน่วยงานเชิงสร้างสรรค์การศึกษา (สสวท.) ก็ทำพลาด     เพราะไม่ได้วัดสิ่งที่ต้องการให้เกิด     กลับไปวัดความจำ    
            การวัดความสำเร็จของ รร. ที่ผลสอบเข้าเรียนในคณะที่เป็นที่นิยม     เป็นสิ่งที่ผิดพลาด    ทำให้เด็กไม่เรียนในสิ่งที่ตนชอบ  ไม่มีความสุข

ประเวศ
           เผชิญโลกที่ซับซ้อนเคลื่อนไหวมาก     โดยการพัฒนามนุษย์ให้เต็มศักยภาพ     การศึกษา ทำให้โง่เท่ากันหมด    
         
พรชัย
          คนมหิดลใช้ศักยภาพไม่เกิน ๓๐%

ประเวศ
          มีคนบอกว่า คนทั่วไปใช้ ๕% เท่านั้น

กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล   คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์
         สร้าง inspiration ของคน     ต้องการการสนับสนุนของส่วนกลางของมหาวิทยาลัย     จะทำอย่างไร    ประสบการณ์การดำเนินการของคณะ เพิ่มการใช้ศักยภาพขึ้นจาก ๕๐% ยากมาก   

ประเวศ
          Bill Smith ว่าแรงบันดาลใจร่วมกัน ทำให้เกิด enormous energy

วิชิต
          Inspiration ขึ้นกับ dream      ฝันใหญ่จะเอาชนะปัญหา     ฝันเล็กจะไม่มีพลังพอ     ต้องกล้าฝัน    ฝันใหญ่ปัญหาจะเล็กลง     ฝันเล็กปัญหาจะใหญ่
          List สิ่งที่เราจะ build     ไม่ใช่สิ่งที่เราจะ solve   

ประเวศ
         สื่อฝันโดยภาพวาด  โดยกวีนิพนธ์     บางเรื่องสื่อเป็นถ้อยคำไม่ได้

สายฤดี วรกิจโภคาทร  ผอ. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  
          สมองคนเป็นสิ่งมหัศจรรย์     เด็กทุกคนรักเรียนรู้     ความรู้ด้านสมองทำให้การจัดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปมาก     มีการใช้รูป ซีดี เพลง ประกอบ    เรายังมีน้อยไป    
          เอาสาระใส่สื่อที่เด็กเรียนรู้สนุก    
          เด็กที่ร่างกายมีปัญหา  เรียนรู้ยาก ยังไม่ได้ตรวจพบและแก้    ซึ่งถ้าแก้ไขทันจะทำให้เรียนรู้ได้ปกติ  
          Rating TV    อบรมผู้ เซ็นเซอร์ รายการ      กำหนดช่วงเวลา    เพื่อประโยชน์ของเด็ก  

          คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ     วิจัยร่วม ๕ สถาบันใน มม.    ได้ทั้งวิชา และเห็นคุณค่าของการทำงานร่วมกัน   
          การ “จับคู่” หน่วยงาน ทำงานร่วมกัน    

ประเวศ
          ความรู้เรื่องสมอง  จาก brain imaging     รู้วิธีเลี้ยงดูเด็ก    รอถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว     เป็นการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์             

อุไรวรรณ วิพุทธิกุล  ผอ. สำนักหอสมุด  
          สำนักหอสมุดปรับกระบวนการทำงาน     ฝันเรื่องเป็นศูนย์การเรียนรู้     สนองการเรียนรู้ สมัยใหม่ ที่ นศ. มีพฤติกรรมการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป     สารสนเทศสมัยใหม่     การเรียนการสอนที่ เปลี่ยนแปลงไป    
          เช่น Learning Commons แหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย  แข่งกับศูนย์การค้า    
          ห้องสมุดเสมือน     มีการระดมความคิดร่วมกันกับเครือข่ายห้องสมุดภายใน มม.     ให่ห้องสมุดเป็นศูนย์การเรียนรู้ของ มม.  และของชุมชน
          กิจกรรม Book Fair ส่งเสริมการอ่าน   
          หวังให้ มม. มีคลังความรู้    Institutional Repository      ให้ครบถ้วน หาง่าย     (ผมคิดว่าต้องจัดแบบมี AI Inside – Artificial Intelligence Inside ข้อมูลไหนคนใช้บ่อย จะค้นได้เร็ว เพราะระบบจำไว้)
          ภาพจดหมายเหตุ มม.     จะจัดประกวด เพื่อจัดเก็บ   

ประเวศ
         สร้างนิสัยการอ่าน เป็นวาระแห่งชาติอย่างหนึ่ง     การอ่านช่วยให้เข้าใจเรื่องซับซ้อน    new reality – complex  แต่สมองคนไทย simple
         Archive  

วิชิต
         ห้องสมุดทั่วโลกที่เป็น traditional library เจอ Google จะลำบาก     ไม่ยอมแพ้    คิดหา niche หรือจำเพาะ ที่ Google มีไม่ได้ดีเท่า    
         ต้องรู้จักใช้ power of digital world  

ประเวศ
         บัณฑิต อึ้งรังสี  เขียนในมติชนวันอาทิตย์ ทุกสัปดาห์ ฝันว่าใน ๑๕ ปี คนไทยขึ้นหน้าประเทศอื่นได้   

วิชิต
         ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดรายการ Dare to dream  เชิญบัณฑิตมาพูดเรื่องความฝัน     สร้างแรงบันดาลใจของคน    สาธิตวิธี conduct เพลง     ให้เห็นผลของการ conduct เพลง     คุณภาพเพลงดีขึ้นทันตาเห็น
          เป็นคน passionate หรือหมกมุ่นกับความฝัน    เด็กหาดใหญ่  ต่อสู้จนได้รับการยอมรับจากฝรั่ง    

ประเวศ
          ไทยทั้งชาติถูกวางยาสะกดอยู่กับการดูถูกตนเอง     คล้ายไก่ในเข่ง จิกตีกัน     คนสนใจไก่ ไม่สนใจเข่ง

ศิริกุล อิศรานุรักษ์  ผอ. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
           นำ AIC มาใช้    เชิญชวนหลายสถาบันมาร่วมฝัน    ใช้ A       ภาพวาดสู่ภาพฝัน
           ชี้นำสังคม ใช้ความหลากหลายรวมกันเป็นหนึ่ง    สร้างความหลากหลายเพิ่มขึ้น    ยังไม่ถึง how to
           ไม่ทิ้งท้องถิ่น    ที่มีทุนสังคมสูงมาก   
           บัณฑิต มีจิตสาธาณะ มีความฝัน    

ครรชิตเทพ ตั่นเผ่าพงศ์  รองคณบดีรามา
           ฝันเห็นการกำหนดศักยภาพหลักของคน     ที่เป็น niche ของ มม     ที่จะจัดการ/พัฒนาโครงสร้างที่ไปสู่เป้าหมายได้   
           อยากเห็นระบบฐานข้อมูล ที่เอามาใช้ได้     ดู benchmarking ตนเอง ในตลาด ในประเทศ  และในโลก  
           Customer is the king. Workforce is the king.    

ประเวศ
           Drucker : Management makes the impossible possible. Management is the process of generating knowledge through knowledge.

ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์  รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ
           ฝันพัฒนา machine ให้มี intelligence เทียบเท่ามนุษย์      machine intelligence    เช่น machine interpreter ฯลฯ

ประเวศ
           เทคโนโลยีกำหนดสังคม

เจริญศรี มิตรภานนท์  ผอ. สำนักคอมพิวเตอร์
           ฝันเห็น มม. เป็น K-based E-society    เวลานี้เครื่องมือค้นที่สำคัญคือ Google กับ Wikipedia            การรวบรวมข้อมูล สร้างเป็นความรู้ ต้องใช้กำลังมหาศาล     มม. ควรเป็น small digital world
           Office Automation ไม่สำเร็จเพราะไม่มีฐาน     เปลี่ยนเป็น paperless, less paper     ไปเปลี่ยนแปลง process flow
           Virtual office, virtual reality
           ที่ฝันไว้     deploy ได้เพียงไม่ถึง 10%      กระบวนการยาวมาก
           ใช้หลัก  what to build  ไม่ใช่ what to buy.

           ฝันที่ 2   มม. ใช้ ICT เป็น prime driver     มี sufficiency, sustainability   โดยพัฒนาคน   

           ฝันที่ 3    บรรยากาศของการประชุมแบบนี้ ที่รู้จัก give    ไม่ใช่เอาแต่ take  

ประเวศ
           ทางเทคนิคไม่ยาก    แต่ต้องการพลังในการขับเคลื่อน     ระบบราชการ intimidate มนุษย์     อย่าให้ส่วนนี้ยับยั้งเรา     แม่เมาะซื้อเครื่องกรองเขม่า ๑๐,๐๐๐ ล้าน    แต่เราทำเรื่องกรองเขม่าทางปัญญา

ยงยุทธ ขจรปรีดานนท์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           ต้องการ Equal partnership     มุ่งหน้า quality integrated health & medicine     สู่ happy society     มีโครงสร้าง integrating office    

ประเวศ
           RF กำหนดตอนก่อตั้ง ว่าจะทำเรื่อง Health and wellbeing of mankind around the world  ตั้งแต่เริ่มต้น   
          แผน 8 คนเป็นตัวตั้ง
          แผน 10 อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

พิศิษฏ์ โภคารัตน์กุล  รองคณบดี วิศวกรรมศาสตร์
          ใช้งานวิจัยในการเรียนการสอน นศ. ป.ตรี     ให้คิดเป็นได้ด้วยตนเอง  ตกผลึกความคิดได้     จะช่วยให้สร้างจินตนาการ     ฝันให้ มม. ใช้วิจัยในการเรียนการสอนทุกระดับ
          ฝันให้บัณฑิตปฏิบัติได้     ทำงานเป็น ทั้งทางทฤษฎี และทางปฏิบัติ    
          ฝันส่งเสริมจริยธรรม    นศ. มักมีความคิดเป็นวัตถุนิยม    อยากให้มีความเสียสละ  รับผิดชอบต่อสังคม   
          คณะวิศวขาดแคลนตำแหน่ง อจ.     และ อจ. ส่วนหนึ่งไม่มีศักยภาพด้านวิจัย    
          ฝันให้บัณฑิตเรียนรู้ตลอดเวลา     เพราะความรู้มี half life      วิศวคอม half life 6 เดือนเท่านั้น  

ประเวศ
          เราไปแยกวิจัยกับศึกษา ทำให้ไม่เกิดปัญญา      จริงๆ แล้วการวิจัยเป็นสิ่งเดียวกับการเรียนรู้   
          คนบางคนเงินซื้อไม่ได้    ปราการทางจริยธรรมสูง     เราต้องการสร้างคนอย่างนี้   
          แนะให้ อจ. คณะวิศว ทำกระบวนการสร้างเป้าหมายร่วมกัน    เป็นเป้าหมายเชิงจำนวน     เอามาท้าทายมหาวิทยาลัย    ดำเนินการโดยออกเงินคนละครึ่ง   จะเกิดความสามัคคีในคณะ

พรชัย
          ตนต้องการสร้างวัฒนธรรมมหิดล     ได้พูดในปฐมนิเทศ นศ. มา ๘ ปี    การเรียนต้องผูกกับการปฏิบัติ และ ความรู้ไม่เต็ม จึงต้องวิจัย    การเรียน – ปฏิบัติ – วิจัย ผูกกัน    คือวัฒนธรรมมหิดล

ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร  คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์  
          เห็นว่ามีความฝันที่เหมือนกัน     อยากเห็นภาพที่เมื่อเดินเข้าไปในมหาวิทยาลัย เห็นคนนั่งคุยกัน  เดินไปอีกหน่อยเห็นคนเปิด Google ค้นความรู้ข่าวสาร   เดินไปอีกหน่อยเห็นคนนั่งถกการเมือง     เดินต่อไปเห็นคนออกกำลังด้วยวิธีต่างๆ   เดินต่อไปเห็นคนนั่งสมาธิ    ต่อไปเห็นร้านหนังสือ    ห้องสมุด   เดินต่อไปเห็นคนเล่นดนตรี เล่นไวโอลิน   เห็นบรรยากาศที่มีต้นไม้เขียวชะอุ่ม    
          อยากเห็นการปรับ ๒ อย่าง  (๑) สร้างคนแบบ BBL    (๒) ปรับโครงสร้าง วางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน
          เครือข่ายพญาไท พบกันทุก ๒ เดือน    อยากเห็นเครือข่าย มหิดล   

วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและนโยบาย
          อยากให้สังคมมอง มม. เป็นสังคมเรียนรู้  สังคมเป็นสุข     มม. สนองความคาดหวังของสังคมได้เต็มที่    มองตัวเอง มองสังคม  responsive ต่อสังคม
          มม. มีศักยภาพส่วนที่สังคมมองไม่เห็น    เราจะจับออกมาเสนอต่อสังคมอย่างไร    การทำนโยบายนอกระบบเพื่อผลักดันสังคมได้อย่างไร 

ประเวศ
           เด็กต้องคลอดออกสู่ภพภูมิใหม่     มิฉะนั้นไม่รอด     สังคมไทยก็เช่นกัน   
           คนจีนมีเรื่องเล่า ตำนาน ในครอบครัว  ในสังคม     แต่ละชาติมีมหากาพย์ ที่สร้างแรงบันดาลใจ คุณลักษณะจิตใจคน

รวิน ระวิวงศ์
           เสนอแทนชิษณุสรร    ในฐานะบัณฑิตวิทยาลัย ฝันเห็น Global Quality, Thai Touch     ท้าทาย บว. จะไปถึงได้อย่างไร    มองต้วอย่างการบินไทย    
           ร่วมมือกับต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
           อยากให้มีกิจกรรมนักศึกษา ส่วนของกิจกรรม นศ. บัณฑิต

ประเวศ
          คุณภาพเป็นธรรมะ  เป็นความงาม
          ไปที่ซิดนีย์  พบคุณเชวง บอกว่าคนไทยที่ดอนเมืองซ่อมเครื่องบินเก่งกว่าฝรั่ง     มีคนที่เคยทำงานที่โรงซ่อมเครื่องบินที่ดอนเมือง เล่าว่า เพราะคนไทยมีน้ำใจ    ซ่อมแล้วพบจุดอ่อนอื่น ทำแถมให้ โดยไม่ต้องมีใน TOR ว่าจ้าง     เป็น high touch เป็นน้ำใจ

วิชิต
          เห็นด้วยกับ high touch     แต่ต้องระวังเวลาดูองค์กรอื่นเป็นตัวอย่าง
 
          เราเด่นบริการ   ต้องเติมด้านปัญญา  คิด  วิเคราะห์  ประมวล  สังเคราะห์     
          มั่นใจ    มี commitment

พรชัย
          ฝันเห็นมหิดลมีบทบาทสร้างครูยุคใหม่    จะตั้งคณะนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้และสื่อสาร     เสนอสภาเดือนหน้า    
          สร้างเครื่องมือวัดกระบวนการเรียนรู้     วัดผลการเรียนรู้   

ประเวศ   
         ระดับของสติปัญญา มีคำย่อ : จำใจใช้วิสังประ
         จำ      จำ
         ใจ     เข้าใจ
         ใช้     ใช้เป็น
          วิ       วิเคราะห์
          สัง     สังเคราะห์
          ประ   ประเมิน
     
วิทยา อยู่สุข  รองคณบดีสาธารณสุขศาสตร์
          อยากเห็นสัญลักษณ์ มม. ที่สื่อ
          อยากเห็นระบบ เครือข่ายที่มั่นคง   ของ นศ.  อจ.  ศิษย์เก่า     ระบบสมาคมศิษย์เก่าที่เข้มแข็ง
          การมีบัตรผ่านเข้าวิทยาเขต โดยแยกสีสายคล้องคอแขวนบัตร ตามคณะ เป็นการแยกวรรณะ นศ. ทางอ้อม    เป็นอุปสรรคต่อความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

ประเวศ
         ที่เปียงยางมี รูปปั้น หนุ่มสาวถือหนังสือ มีคำขวัญ Young people carry books and read books all the time

อมร ลีลารัศมี  รองอธิการบดีฝ่ายเสริมสร้างเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ
         อยากให้ มม. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติ
         เน้นคุณภาพทุกเรื่อง  
         ใช้ brand วิทยาศาสตร์สุขภาพนำ  

ศศพินทุ์ ภูมิรัตน  คณบดีคณะศิลปศาสตร์  
          นศ. เขียนไม่ได้  อ่านไม่ได้  พูดไม่เป็น
          วิชาศิลปศาสตร์บูรณาการ     

อำพล ไมตรีเวช  คณบดีคณะเภสัชศาสตร์
        
ชาติชาย กฤตนัย
   สถาบันอณูชีววิทยา
          ฝันเห็น มม. เป็นส่วนหนึ่งของสังคม    “ไม่มีรั้ว”   
          มม. เป็น ม.ใหญ่ที่เล็กลง     ไม่เน้นขยายจำนวน    แต่เน้นการเข้าได้กับสังคม
          หลักสูตรบูรณาการข้ามศาสตร์   

ต่อตระกูล ยมนาค  กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
         ต้องออกจากเข่ง    ไม่ลืมว่ามีปีก    ไม่ลืมใช้คุณสมบัติที่เราลืมไป เพราะเลิกใช้มานาน    
         มองมหิดล  คนมหิดลเป็นผู้นำสังคม นำการเปลี่ยนแปลง     นโยบายสาธารณสุขของประเทศนับว่าก้าวหน้ากว่านโยบายด้านอื่น     วิศวทำถนนสี่เลนได้     แต่การเปลี่ยนแปลงสังคม คนมหิดลทำได้มากกว่า
         ปีนี้เป็นปีฉลอง ๕๕๕ ปี Leonardo da Vinci   เป็นตัวอย่างของคนใฝ่รู้   เรียนรู้ร่างกายมนุษย์จากของจริงคือศพ 
         อยากเห็นการสร้างความรู้ด้านจิตวิญญาณ     

นคร เหมะ  รองอธิการบดีฝ่าวิทยาเขต
         
กาญจนา เข่งคุ้ม
  ผอ. สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ

วสันต์ ศิรประภาศิริ   CMMU
          แหล่งความรู้ให้คนไทยพึ่งพาตนเองได้    มุ่งสร้างความรู้ใหม่

สุมาลี ดีจงกิจ    ผอ. วิทยาลัยราชสุดา
           พัฒนาคนพิการให้มีชีวิตอย่างมีความสุข  ไม่เป็นภาระต่อสังคม   

ประเวศ
         เปลี่ยนวิธีคิดเป็น คนพิการคือ asset

สุทัศน์ ฟู่เจริญ  กรรมการสภาฯ ผู้แทนคณาจารย์
         ปรับ attitude ของคน    ด้านบวก  
         How  ทำฝันให้เป็นจริง

ประเวศ
         แนะนำ หนังสือลักษณะสังคมไทย  โดย รศ. ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์ เป็นวิทยานิพนธ์ ป. โท ที่คอร์แนล     สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจ    ต้องเปลี่ยนเป็นสังคมทางราบ   
          Robert Putnam วิจัยอิตาลี  ภาคเหนือ   ภาคใต้ เขียนหนังสือชื่อ Making Democracy Works    ภาคเหนือสังคมดีเพราะภาคเหนือมี democracy    ภาคใต้ สังคมแนวดิ่ง จึงมีมาเฟียมาก  ส่นใหญ่นับถือคาทอลิก รัก god แต่ไม่รักเพื่อนบ้าน   

สรุป  ประเวศ 
          ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน    เอาคน (๔ มิติ กาย จิต สังคม ปัญญา) เป็นตัวตั้ง    สัมพันธ์อยู่กับสังคม       
           ปีแรก เน้นศึกษาทำความเข้าใจการพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพ    ใช้เวลา ๑  ปี     จะไม่โดดเดี่ยว
           ปีที่ ๒ ทุกคณะ สถาบัน ร่วมกันทำหลักสูตร ป.ตรี พัฒนาศักยภาพมนุษย์   มหิดลบูรณาการศาสตร์  ไม่รบกวนหลักสูตรเก่า      เพื่อเปลี่ยนหลักสูตรเก่า     เรียนมีความสุข  ไปทำงาน/เรียนต่อได้
           ปีที่ ๓ ปรับหลักสูตรของตน    ทั้งหมดทุกหลักสูตร
           ๔ ร่วมพัฒนามนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม     เด็กปฐมวัย    เด็กและครอบครัว   

วิชิต
          จากนี้ไปมี milestones อย่างไร     สร้าง list รายการของ collective vision   
           Summary list แล้วจัดลำดับ เลือก     ต้องตรวจสอบให้ครบ     อย่าด่วนสรุป   

ประเวศ
           ฝัน   เลือก
           วางยุทธศาสตร์
           แผนปฏิบัติ   
           คนรักกันมากขึ้น  

วิชิต
           สังคมฝันอย่างไรต่อเรา    ต้องมีกระบวนการฟังคนอื่น 

           บันทึกนี้ไม่ครบถ้วน    ตอนท้าย อ. หมอประเวศเชิญนายกสภากล่าว     ผมได้แลกเปลี่ยนว่า ในชีวิตการทำงานช่วงหลังๆ ผมจัดการโดยใช้พลังของความฝันร่วม คุณค่าร่วม ทุกวัน     เป็นกระบวนการประจำวัน            แต่ทำอย่างไม่เป็นทางการ ทำอย่างไม่รู้ตัว   
           วันนี้ (๒๑ ก.ค. ๕๐) เราเห็นพลังของความฝัน ของการคิดเชิงบวก ของการชื่นชมซึ่งกันและกัน    พลังนี้จะเพิ่มเป็นสิบเป็นร้อยเท่า เมื่อได้ลงมือทำ     และได้สัมผัสผลจากการใช้พลังเชิงบวกนี้    ได้สัมผัสความสำเร็จเล็กๆ ร่วมกัน    คือพลังของ ปริยัติ  ปฏิบัติ  ปฏิเวธ      

วิจารณ์ พานิช
๒๒  ก.ค. ๕๐

๑. บรรยากาศในห้องประชุม

 

๒. อีกมุมหนึ่ง

 

๓. และอีกมุมหนึ่ง

        

หมายเลขบันทึก: 115681เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท