รายงานผล "จัดการความรู้"


การจัดการความรู้ "คนทำ" ต้องรายงานความรู้ที่เราใช้ในการจัดการงานให้ได้ และคนทำต้องหารูปแบบและวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นได้

     เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ครบกำหนดให้ต้องรายงานผลงานเรื่อง การจัดการความรู้ ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามตัวชี้วัด งวดที่ 1 โดยมีแบบฟอร์มมาให้กรอกและเขียนข้อมูล

     การทำงานจึงเริ่มจากการตีความว่า "เราต้องมีและใช้เนื้อหาอะไรบ้าง? ที่เขาต้องการรู้" หลังจากนั้น "ก็นำมาเทียบกับข้อมูลและเนื้อหาสาระที่เราทำนั้นมีอะไรบ้าง? และเรามีวิธีการและกระบวนการปฏิบัติงานเรื่องการจัดการความรู้นี้อย่างไร? ผลที่เราสรุปได้มีว่าอย่างไร?"

     ฉะนั้น การรายงานผลงานจึงเริ่มจาก

    "เขียน เล่าวิธีการทำงาน ที่เริ่มต้นจากมองหาคนที่เราจะนำมาเป็นทีมงานนั้น เป็นคนแบบไหน/ต้องเป็นในเรื่องอะไรบ้าง/งานที่ต้องใช้ในการทำเรื่องนี้มีอะไรบ้าง แล้วจึงติดต่อประสานงานเพื่อจัดตั้งเป็นทีมงาน หลังจากนั้น จึงมาทบทวนงานเรื่อง การจัดการความรู้ มาศึกษาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระ แล้วมาศึกษาตัวชี้วัดที่เขาจะวัด หลังจากนั้นนำมาผนวกกับการเรียนรู้ที่จะใช้ในการเสริมงานให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งสิ่งนี้ออกมาเป็น กรอบแนวทางการทำงานและแผนการปฏิบัติงาน และ Road map พร้อมกับยกร่างโครงการ แล้วจึงขอเชิญทีมงานมาประชุมร่วมกันเริ่มตั้งแต่การสอบถามความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ ข้อสงสัย ที่มีการซักถาม แลกเปลี่ยนและสรุปว่า...ทีมงานเราพอจะเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้เป็นเบื้องต้นคือ การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการรวบรวมและจัดเก็บความรู้ ที่เหลือคือ ทุกคนกลับไปทำงานกันจริงก่อนแล้วค่อยมาเจอกัน ส่วนการฝึกทีมงานได้เริ่มจากการหมุนเวียนเพื่อบันทึกรายงานการประชุม ซึ่งได้มีการเติมเต็มให้ หลังจากนั้นเราก็มาประชุมรวมทีมเพื่อเตรียมการจัดกระบวนการเพื่อทบทวนความรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยทุกคนร่วมกันเสนอถึงงานที่เราต้องทำในวันนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง แล้วให้แต่ละคนเลือกว่าตนเองจะทำอะไร สิ่งที่เห็นก็คือ งานที่แต่ละคนเลือกนั้นต่างเป็นภารกิจและบทบาทหน้าที่ของเนื้องานตนเอง เช่น ช่างภาพก็เลือกถ่ายภาพให้ เป็นต้น ส่วนผลงานที่เกิดขึ้นก็จะมีแกนหลักในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลและสรุปรายงานเป็นเอกสารพร้อมภาพประกอบ"

     ดังนั้น ชิ้นงานที่เกิดขึ้นที่นำมาใช้เป็นหลักฐานก็คือ

     1) การทำงานกันจริง 

     2) เอกสาร/สิ่งพิมพ์ จำนวน 5 ชิ้นงาน

     ก็เป็นการทำงานที่เรามุ่งเพื่อพัฒนาทีมงานให้มีความเข้าใจว่า การจัดการความรู้นั้น มิใช่เราเป็นคนแบก KM แต่ให้ทีมงานเกิดความรู้สึกว่า เราทุกคนมิได้มาทำงานที่แปลกแยกหรือเพิ่มภาระ เช่น ความรู้ที่ได้จากการจดบันทึกรายงานการประชุม ความรู้ที่เกิดจากการนำปัญหามาแลกเปลี่ยนและหาทางออกให้กัน เป็นต้น การทำงานจึงอยู่ที่ "ความเป็นห่วงความรู้สึกของทีมงานเป็นหลัก" และงานที่ออกมานั้นทุกคนรู้สึกยินดี ไม่มีคำว่า "ปฏิเสธ" สิ่งนี้เป็นกำลังใจที่ทำให้ดิฉันดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไปได้ค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 114524เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ระวังจะโดนKMทับอีกนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
เก่งจังค่ะ   ครูอ้อยเป็นกำลังใจนะคะ  อิอิ...น่ารักจัง

อยากรู้จังว่า km ส่วนกลางไปถึงไหนกันบ้าง  พี่ว่าว่างๆเรามาคุยกัน  จัดวงสรุปบทเรียนของส่วนกลางเหมือนปีที่แล้วจะดีไหม  จือลองๆคุยกับทีมของสำนักดูนะ 

เรียน คุณราญส่งเสริม

   ด้วยความยินดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท