เค้าโครง


บทที่1บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหางานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบลมีตั้งแต่อาคารเล็กๆไปจนถึงอาคารที่ซับซ้อน เป็นงานที่ใช้เงินลงทุนสูงดังนั้นจึงต้องมีความพร้อมทางการเงินและความพร้อมทางด้านเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆเข้ามาใช้ในการดำเนินการเป็นจำนวนมากและนับวันก็ยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้เพราะต้องการผลงานที่ได้มาตรฐานตรงตามข้อกำหนดในรายการก่อสร้าง (Specifcations ) ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยให้งานเสร็จตามกำหนดเวลา ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการควบคุมงานก่อสร้างเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะความเสียหายหรือความวิบัติ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความพลั้งเผลอหรือความรู้เท่าไม่ถึง การณ์ ในงานก่อสร้างนั้นมีขั้นตอนเป็นขบวนการดำเนินงานมาตั้งแต่การศึกษาและการวางแผนการออกแบบการจ้างเหมา และการควบคุมงานเป็นลำดับ  ในการควบคุมการก่อสร้างนั้นจะต้องคำนึงว่าจะดำเนินไปตามวิธีการและลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างใดและจำต้องควบคุมเพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบ  งานก่อสร้างเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อนต้องใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการควบคุมงานก่อสร้างตามที่เมธี ปิสันธนานนท์ (2538) ได้กล่าวถึงการควบคุมงานไว้ว่า การควบคุมงานและการตรวจสอบการก่อสร้างเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อช่วยประสานงานให้มั่นใจได้ว่าการก่อสร้างจะเป็นไปตามสัญญา ไม่ว่าจะเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น ขนาดของเสาเข็ม ขนาดของเหล็ก ส่วนผสมของคอนกรีตและอื่นๆอีกมาก เพราะถ้ามีการใช้ผิดขนาดหรือไม่ถูกต้อง อาจต้องทำให้เสียเวลารื้อถอนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกก็ได้กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2535) กล่าวถึงความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงานไว้ว่า ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนับเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบมาก ต้องควบคุมงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปถูกต้องตามแบบรูปรายการและสัญญาในขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างหรืองานก่อสร้างแล้วเสร็จก็ตามเจ้าหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มักจะเข้ามาตรวจสอบความถูก-ผิดในการทำงานของผู้รับจ้าง และการปฏิบัติงานของคนคุมงานอยู่เสมอหากตรวจพบว่างานก่อสร้างผิดพลาดจากรูปแบบรายการ คนคุมงานก็จะต้องถูกสอบสวนลงโทษตามแต่กรณี ตัวอย่างเช่น  ตอนที่ผู้รับจ้างส่งงานงวดสุดท้าย คนคุมงานบันทึกรับรองว่างานแล้วเสร็จ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไปสืบดู ถ้าปรากฏว่าวันที่คนคุมงานรับรองว่างานเสร็จนั่นงานยังไม่เสร็จจริง คนคุมงานก็จะมีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดกับผู้รับจ้างหลอกลวงทางราชการเพื่อช่วยไม่ให้ผู้รับจ้างถูกปรับ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างปล่อยให้ผู้รับจ้างทำผิดแบบรูปรายการ นอกจากจะมีความผิดถูกลงโทษทางวินัยแล้ว ยังเป็นผลทำให้อาคารที่ก่อสร้างขาดคุณภาพขาดความสวยงาม ขาดความมั่นคงแข็งแรงได้ และถ้าเป็นโครงสร้างผิดอาจทำให้อาคารพังลงได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ที่ใช้อาคารนั้นๆได้ เพราะฉะนั้นผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความเอาใจใส่มีความระมัดระวัง มีความละเอียดรอบคอบมากที่สุด ต้องควบคุมงานอย่างใกล้ชิด ต้องไม่ให้งานก่อสร้างผิดพลาดจากรูปแบบรายการ และการปฏิบัติงานต้องให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการควบคุมงานด้วย (กรมสามัญศึกษา,กองการมัธยมศึกษา : 2535) จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ในวันที่ 18 พ.ค. 2550 นายช่างโยธาขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดพิษณุโลก พบว่าขณะนี้ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติ งานของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลกและยังได้ให้ข้อคิด เห็นเกี่ยวกับ  ปัญหาการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก   จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการศึกษาปัญหาการปฏิบัติ งานของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดพิษณุโลกที่จะมีการก่อสร้างและผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างในการหาแนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมการควบคุมงานก่อสร้าง ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพิษณุโลกโดยตรง                              จุดมุ่งหมายของการวิจัย        1. เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพิษณุโลก            2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานจำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์  

ขอบเขตการวิจัย

            เพื่อให้การวิจัยในครั้งนี้บรรลุความมุ่งหมายที่ตั้งไว้  ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้คือ            1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง            2.ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นายช่างโยธาและผู้ช่วยนายช่างโยธาประจำองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 9 อำเภอแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน86แห่งรวมประชากรทั้งสิ้น 223 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง  ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างโดยเลือกแบบเจาะจง องค์การบริหารส่วนตำบลละ 1 ท่านจากองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดพิษณุโลกในโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลกประกอบด้วย 9 อำเภอ  แบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน86แห่งรวมประชากรทั้งสิ้น86 คน3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่                3.1 ตัวแปรต้น  ได้แก่  สถานภาพของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง                               3.1.1 วุฒิการศึกษา                         3.1.2 ประสบการณ์การควบคุมงานก่อสร้าง             3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง คือ          3.2.1 การทำความเข้าใจรูปแบบ         3.2.2 การตรวจสอบวัสดุ         3.3.3 การควบคุมงานก่อสร้าง         3.3.4 การประสานงาน         3.3.5 การทำรายงานการก่อสร้าง      สมมุติฐานในการวิจัย              1. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีปัญหาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน            2. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ในการควบคุมงานก่อสร้างต่างกัน มีปัญหาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดพิษณุโลกที่จะมีการก่อสร้างในอนาคตใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมการควบคุมงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพิษณุโลกโดยตรง 

นิยามศัพท์เฉพาะ

  ปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างหมายถึงปัญหาการปฏิบัติงานหน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในองค์การบริหารส่วนตำบล  จังหวัดพิษณุโลก               ผู้ควบคุมงานก่อสร้างหมายถึงผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ได้แก่ ผู้ควบคุมงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดพิษณุโลก              หน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้างหมายถึงหน้าที่และหลักปฏิบัติของผู้ควบคุมงานดังนี้              1. ศึกษาแบบรูปรายการ สัญญาให้เข้าใจโดยละเอียดล่วงหน้าก่อนการก่อสร้าง              2. ย่อแบบรายการที่จำเป็นต้องใช้บ่อย ๆ หรือเพื่อใช้ในการตรวจสอบติดตัวตลอดเวลา              3. ตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ที่ผู้รับเหมานำมาใช้ในการก่อสร้างว่ามีคุณสมบัติและคุณภาพตรงตามรายการที่กำหนดหรือไม่              4. ควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ดำเนินไปตามรูปแบบรายการ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทางเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ดี              5. ประสานงานกับบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง              6. ทำแผนภูมิแสดงความก้าวหน้า หรือแผนภูมิบาร์ชาร์ทแสดงความก้าวหน้า และสิ้นสุดของงาน              7. ทำรายงานประจำวัน ให้ละเอียดระบุการทำงานของผู้รับจ้างให้ชัดเจน ผลงานปัญหาและการแก้ปัญหา              8. ทำรายงานประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำงวด และรายงานที่นำส่งสำนักงาน  9. รวบรวมผลการทดสอบวัสดุทางวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น เหล็ก คอนกรีต             10. เมื่อผู้รับจ้างส่งงานในแต่ละงวด ให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบผลงานของผู้รับจ้างว่าได้ก่อสร้าง ครบถ้วนตามสัญญาหรือไม่               วุฒิการศึกษา หมายถึง การศึกษาขั้นสูงสุดของผู้ควบคุมงานก่อสร้างในปีที่ตอบแบบสอบถาม                    ประสบการณ์ หมายถึง ประสบการณ์ของผู้ควบคุมการก่อสร้างที่เคยควบคุมงานก่อสร้าง บทที่ 2เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง              งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า และประมวลความรู้จากตำราเอกสารต่างๆ ซึ่งจำแนกอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลความรู้ทางวิชาการต่างๆเป็นลำดับดังนี้             1.เอกสารที่เกี่ยวข้อง                 1.1 การควบคุมงาน                           1.1.1 ความหมายและความสำคัญของการควบคุมงาน                    1.1.2 วัตถุประสงค์ของการควบคุมงาน                     1.1.3 ประเภทการควบคุมงาน                    1.1.4 หลักในการควบคุมงาน                    1.1.5 เทคนิคและวิธีควบคุมงาน                    1.1.6 กระบวนการการควบคุมงาน                1.2 การควบคุมงานก่อสร้าง                    1.2.1 ความหมายของการควบคุมงานก่อสร้าง                    1.2.2 วัตถุประสงค์ของการควบคุมการก่อสร้าง                    1.2.3 หลักการและขั้นตอนในการควบคุมงานก่อสร้าง               1.3 ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง                    1.3.1 ความหมายของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง                          1.3.2 คุณสมบัติของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง                    1.3.3 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง                    1.3.4 การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้างตามระเบียบ กระทรวง มหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 (กองราชการส่วนตำบลกรมการปกครอง : 144 – 145) 2540              2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                      2.1 งานวิจัยในประเทศ                  2.2 งานวิจัยต่างประเทศ              3. กรอบความคิดในการวิจัย                                                                            1.เอกสารที่เกี่ยวข้อง               1.1 การควบคุมงาน            การควบคุมงานก่อสร้างเป็นขั้นตอนหลังจากที่มีแบบรายละเอียดแล้ว และเจ้าของโครงการต้องการนำไปก่อสร้าง กิจกรรมและความรับผิดชอบในการควบคุมงานก่อสร้างจะประกอบด้วย
            1. การประสานงานทั่วไป ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเจ้าของโครงการและบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ให้มีความเข้าใจร่วมกันในขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการดำเนินงาน
            2. ตรวจสอบแผนงานการก่อสร้าง ทำหน้าที่ตรวจสอบ และให้คำแนะนำต่อแผนงานการก่อสร้างของบริษัทผู้รับเหมาตลอดจนแผนการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องจักร และกำลังคน เพื่อให้แผนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับปริมาณงานและระยะเวลาในการก่อสร้าง
            3. ควบคุมงานก่อสร้างในสนาม การควบคุมงานก่อสร้างในสนามจะประกอบด้วยกิจ กรรมต่างๆ ดังนี้
             ตรวจสอบแบบก่อสร้างที่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต้องขออนุมัติก่อนทำการก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
             ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง และควบคุมการทดสอบวัสดุต่างๆ ทั้งใน สนามและในห้องปฏิบัติการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้วัสดุที่ใช้งานมีคุณภาพตามที่ กำหนดไว้ในสัญญา
             ทำการตรวจสอบคุณสมบัติความเหมาะสมของผู้รับจ้างช่วงและผู้ผลิตอื่นๆ ที บริษัทก่อสร้างจะว่าจ้าง
             ตรวจสอบและให้คำแนะนำวิธีการก่อสร้างที่บริษัทก่อสร้างต้องเสนอ เพื่อขออนุมัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังประโยชน์สูงสุดให้กับ เจ้าของโครงการ
             4. ตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน ทำการตรวจสอบความก้าวหน้ากับแผนงานที่วาง ไว้เพื่อควบคุมงานและปรับแผนก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงานรวมที่วางไว้
             5. ตรวจสอบปริมาณงานและจ่ายค่างวดงาน ตรวจสอบปริมาณงานในสนามอย่าง ใกล้ชิด เพื่อให้ปริมาณงานที่บริษัทก่อสร้างเสนอเบิกเงินค่างวดงานมีความสอดคล้องกับปริมาณงานที่ได้ดำเนินการจริง
             6. การรับมอบงานและจ่ายเงินงวดสุดท้าย ทำการตรวจสอบงานที่บริษัทก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จทุกอย่าง ตามที่สัญญาได้ระบุไว้ เพื่อดำเนินการรับมอบงาน และให้คำแนะนำต่อเจ้าของโครงการในการจ่ายเงินงวดสุดท้ายและออกใบรับมอบผลงาน
              1.1.1 ความหมายและความสำคัญของการควบคุมงาน             จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราต่าง ๆ ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการควบคุมงานไว้ดังนี้             กิตติ  อินทรานนท์ และคณะ (2540 : 28) กล่าวว่า การควบคุมเป็นกระบวนการในการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์การว่าเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่ หากไม่เป็นตามที่คาดหมายไว้ ก็มีมาตรการแก้ไขเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้            ธงชัย  สันติวงษ์ (2537 : 84) ได้ให้ความหมาย ของการควบคุม หมายถึง การมุ่งบังคับให้ทำงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนและเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย             ณัฏฐพันธ์  เขจรนันทน์ (2542 : 276) ได้ให้ความหมายของการควบคุม หมายถึง การติดตามตรวจสอบ และประเมินการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ และมีการเบี่ยงเบนอย่างไร เหตุใด             กรมโยธาธิการ (2543 : 4) ได้ให้ความหมายของการควบคุม หมายถึง วิธีการที่สามารถทำให้งานก้าวหน้าไปได้ตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น             มนัส  สุขจรนิ (2538 : 1) ได้ให้ความหมายของการควบคุม หมายถึง การเฝ้าดูการทำงานให้เป็นไปตามรูปแบบรายการ ตามบทกำหนดเงื่อนไขหลักวิชาการที่ดี             จากความหมายที่รวบรวมมาสามารถสรุปได้ว่า การควบคุมงาน หมายถึง กระบวนการที่ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีมากกว่าหนึ่งกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะกำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ให้กิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่นั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้บริหารองค์การ               ความสำคัญของการควบคุมงานการควบคุมงานเป็นกิจกรรมที่สำคัญของผู้บริหารที่จะทำให้ผู้บริการเชื่อมั่นได้ว่าการบริหารงานด้านต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม การควบคุมมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการวางแผน หากแต่เป็นภารกิจซึ่งเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีผู้ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้               ธนชัย  ยมจินดา (2532 : 35) ได้กล่าว ถึงความสำคัญของการควบคุมไว้ ว่าในเรื่องความสำคัญของการควบคุมนั้น แม้ว่าคนส่วนมากจะมองการควบคุมไปในลักษณะที่เป็นไปในทางลบ แต่ก็ยังมีพวกที่เห็นว่าการควบคุมเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ ถ้าองค์การต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ดังเช่นที่ นิวแมน (Newman) เขียนไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับความสำคัญของการควบคุมในแง่สร้างสรรค์ ดังนี้              1. การควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสร้างสรรค์สังคม   ดังจะเห็นได้ว่าระบบการควบคุมได้ถูกนำมาใช้เพื่อกิจกรรมอันสร้างสรรค์  ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมที่มนุษย์ใช้เพื่อการส่งยานอวกาศออกไปศึกษาหาข้อมูล หรือระบบตรวจสอบที่แพทย์ใช้เพื่อการให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย                2. การควบคุมที่ได้ประสิทธิผล ชี้บอกแนวทางให้กับพฤติกรรมของคนโดยช่วยชี้บอกทาง และประสมประสานพฤติกรรมซึ่งแตกต่างกันของแต่ละบุคคล               3. ระบบการควบคุมทำหน้าที่เป็นตัวที่ช่วยชี้บอกปัญหาโดยช่วยเป็นเครื่องมือในการวัดและตรวจสอบผลงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทราบปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า              4. ระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์การสามารถแก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนที่องค์การต้องเผชิญ โดยเป็นตัวช่วยพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงก่อนที่การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ จะเกิดขึ้นจริง ในกรณีนี้ก็จะทำให้องค์การสามารถแก้ไขการขึ้นลงนั้นให้เป็นไปในแนวทางที่มั่นคงขึ้นได้              ธงชัย  สันติวงษ์ (2537: 454455) กล่าวว่าความสำคัญของการควบคุมจะเกี่ยวกับการกำกับดูแลให้การผลิตเป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ โดยคำนึงถึงความสำคัญดังต่อไปนี้              1. การควบคุมจะมีไว้เพื่อบังคับให้ผลผลิตได้มาตรฐาน              2. การควบคุมจะมีไว้เพื่อป้องกันรักษาทรัพย์สินของบริษัท              3. การควบคุมจะมีไว้เพื่อบังคับให้คุณภาพของสินค้าหรือบริการได้มาตรฐาน              4. การควบคุมจะมีไว้เพื่อกำหนดขอบเขตของผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากจากผู้บริหารชั้นสูงอีกครั้งหนึ่ง              5. การควบคุมจะมีไว้เพื่อใช้วัดงานต่าง ๆ ที่กำลังปฏิบัติอยู่              6. การควบคุมจะมีไว้เพื่อใช้ประกบในการวางแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติงานต่างๆ               7.  การควบคุมจะมีไว้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารชั้นสูงสามารถจัดความสมดุลในระหว่างแผนงานกลุ่มต่าง ๆ ปัจจัยต่าง ๆ               8.  การควบคุมจะกำหนดขึ้นเพื่อกระตุ้นเตือนหรือจูงใจตัวบุคคลในองค์การหรือโรงงาน               จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การควบคุมงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทำให้ทราบว่าผลการปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่อย่างไร และยังเป็นการจัดหาข้อมูลที่สำคัญซึ่งช่วยให้แผนมีประสิทธิภาพ               1.1.2 วัตถุประสงค์ของการควบคุมงาน              การควบคุมเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักบริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงานที่จะต้องคอยติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานของบุคคลที่ตนได้มอบห


คำสำคัญ (Tags): #วิทยานิพนธ์
หมายเลขบันทึก: 113987เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2007 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

องค์ประกอบของคณะกรรทการตรวจการจ้าง

(ข้อความกรุณาส่งข้อมุมโดยครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท