การมองอนาคตเทคโนโลยี (1)


foresight ต่างจากการสร้าง “วิสัยทัศน์” ตรงที่ว่า ไม่ได้พูดถึงอนาคตที่คาดหวังจะให้เป็นเท่านั้น แต่จะคำนึงถึงอนาคตที่เป็นไปได้ (แม้จะไม่อยากได้)

กระบวนการ foresight เริ่มด้วยการ “นิยามโจทย์” และ “เฝ้าติดตาม” โดยวิเคราะห์แนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจาก “แรงขับดัน” หรือ “แรงกระทำ” (driving force, or driver) ที่มีผลเปลี่ยนแปลงอนาคต ไม่ต่างจากการพาตัวเอง ขึ้นไปอยู่บนหอคอยที่สูงมาก ๆ แล้วใช้กล้องส่องทางไกล กวาดสายตามองออกไป เพื่อตรวจจับหาว่า ข้าศึกกำลังเดินทัพเข้ามาหาหรือไม่ แล้วคะเนว่า อีกนานเท่าไหร่จะมาถึง ในระยะประชิดเมือง หรือมองหาพายุ ที่กำลังก่อเค้า และมีโอกาส ที่จะเคลื่อนตัวมาทางนี้ เพื่อเตรียมตัวหาทางป้องกัน หรือใช้ประโยชน์จากสถานการณ์

แรงกระทำที่จะกำหนดอนาคตของโลก ในระยะยาว ตราบเท่าที่พอจะคาดเดาได้นั้น มักจะเป็นเรื่องของ ภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจและการเงิน (geopoliticaleconomy and finance), สภาพแวดล้อมของธุรกิจและอุตสาหกรรม (business and industry environment), สังคมและวิถีชีวิตปัจเจก (society and lifestyle), สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ พลังงาน (natural environment and energy) และเทคโนโลยี (technology)

ผมควรต้องอธิบายด้วยว่า foresight ต่างจากการสร้าง “วิสัยทัศน์” ตรงที่ว่า ไม่ได้พูดถึงอนาคต ที่คาดหวังจะให้เป็นเท่านั้น แต่จะคำนึงถึงอนาคตที่เป็นไปได้ (แม้จะไม่อยากได้) อันเกิดขี้นได้จากความผันผวน หรือความไม่แน่นอนด้วย นั่นก็คือตั้งคำถามว่า “What if…”

ต้องออกตัวก่อนว่า ตามความเป็นจริง งานหลักของหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ คือศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (สนับสนุนโดยรัฐบาลไทย) ได้แก่การทำ foresight ให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการ foresight เทคโนโลยี เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างเป็นระบบ ในการมองไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในบริบทของเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งเสริมให้เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการนี้ได้รับการยอมรับ ในหลายประเทศว่า เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นความพยายาม ของชุมชนชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่า (value creation) และการยกระดับคุณภาพชีวิต

หมายเลขบันทึก: 113857เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท