Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ปัญหาความไร้รัฐและปัญหาความไร้สัญชาติ : เป็นเรื่องเดียวกัน ? หรือเป็นเรื่องต่างกัน ?


            สังคมไทยเริ่มที่จะตระหนักถึงความมีอยู่ของคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติเมื่อไม่นานมานี้เอง เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมสังคมไทยจึงมีความหลงลืมและความไม่รู้ในเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน  หากเราทบทวนงานวิชาการและแนวคิดของบุคคลที่ควรจะตระหนักในความมีอยู่ของบุคคลธรรมดาที่ตกอยู่ในความไร้รัฐความไร้สัญชาติ เราพบว่า มีหลายปรากฏการณ์ที่ทำให้องค์ความรู้ในเรื่องนี้ถูกมองข้ามในอดีต

            เราพบว่า แนวคิดในสังคมไทยในระยะต้นๆ ไม่อาจแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติได้เลย ดังจะเห็นว่า นักวิชาการในยุคเดิมจะแปลคำภาษาอังกฤษ “Stateless” ว่า คนไร้สัญชาติ ซึ่งการแปลความเช่นนี้ได้นำสังคมไทยไปสู่ความหลงลืมในความมีอยู่ของ คนไร้รัฐ ในสังคมไทย นักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยที่มองว่า คนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องที่ต่างกัน แม้อาจมีความเกี่ยวข้องกัน ก็ต้องใช้แนวคิดและวิธีการที่ใช้ในการจัดการต่างกัน

             การแก้ไขความไร้รัฐของบุคคล ก็คือ การทำให้มีรัฐใดรัฐหนึ่งยอมรับที่จะเป็น "รัฐเจ้าของตัวบุคคล" ของบุคคลนั้น ซึ่งกฎหมายที่อาจใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ ก็คือ กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

               ในส่วนการแก้ไขปัญหาความไร้สัญชาติ วิธีการที่ดีที่สุด ก็คือ การทำให้รัฐใดรัฐหนึ่งยอมรับที่จะให้สัญชาติของตนแก่บุคคลที่ไร้สัญชาติ

               การแยกแยะปัญหาจึงสำคัญ เพื่อกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา

หมายเลขบันทึก: 113637เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท