โก๊ะจิจัง แซ่เฮ
เด็กเสียงเหน่อ จิราภรณ์ โก๊ะจิจัง แซ่เฮ กาญจนสุพรรณ

มนุษย์จำได้อย่างไร....?


ในเมืองย่างกุ้ง

ประเทศพม่า ปี ค.ศ.1974 ชายชื่อ ภันทันตะ วิจิตตสาระ สามารถท่องจำข้อความในคัมภีร์พุทธศาสนาจำนวน 16,000 หน้าได้ นับว่าเป็นปรากฎการณ์เหนือธรรมดา แต่คนเราแทบทุกคนสามารถจดจำข้อมูลจำนวนมากได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ แต่กลับลืมหมายเลขโทรศัพท์ที่เพิ่งทราบไปได้ง่ายๆหลังจขากกดปุ่มโทรศัพท์เสร็จ
มนุษย์มีความจำ 2 ชนิด คือ

• ความจำระยะสั้น ซึ่งจะเก็บข้อมูลเพียง 6 หรือ 7 รายการไว้ได้ 1 นาที

• ส่วนความจำระยะยาวเก็บข้อมูลข่าวสารอันซับซ้อนไว้เป็นแรมปีและหรือหลายสิบปี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าความ

จำระยะสั้นและระยะยาวนั้นเก็บไว้ในสมองคนละส่วนกัน ความจำระยะสั้นอยู่ในสมองส่วนกลาง แต่ความจำระยะยาวอยู่ทั่วทั้งสมองส่วนนอก ดังนั้นหากสมองส่วนในได้รับผลกระทบจากโรคใดโรคหนึ่งหรือจากอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน ก็จะทำให้เกิดอาการความจำเสื่อมได้ แต่ผู้ป่วยจะสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆที่นำไปสู่การสูญเสียความทรงจำได้ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นส่วนของความจำระยะยาว แต่จะจำเรื่องใหม่ๆไม่ได้เลย
    
นักจิตวิทยา

ความจำมีความเกี่ยวโยงกับผัสสะทั้ง 5 ในช่วงการเรียนรู้ เด็กที่มีอายุถึง 6 ขวบจะรู้จักใช้ศัพท์ประมาณ 6,000 คำ อีกชั่วชีวิตต่อจากนั้นคนทั่วไปจะเรียนรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นอีกราว 14,000 คำเท่านั้น รากฐานการรู้ภาษานั้นก่อเกิดขึ้นก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือออกด้วยซ้ำ เด็กจึงเรียนรู้ถึงเสียงของคำต่างๆได้จากความหมาย จังหวะ น้ำเสียง และจากการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน

ข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในความทรง

จำระยะยาวอาจถูกแปลงเป็นภาพอะไรซักอย่าง แล้วเก็บไว้ในเซลล์สมองส่วนนอก เซลล์ประสาทนี้มีจำนวนกว่า 100,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์เชื่อมกับเซลล์อื่นๆอีก 10,000 จุด เกิดเป็นเครือข่ายโยงใยที่ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ
        

ข้อมูลในเซลล์

อาจเก็บไว้ในรูปสารเคมีซึ่งเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเซลล์ ตลอดจนวิธีที่เซลล์เชื่อมต่อกัน ความจำระยะสั้นอาจแปรเป็นความจำระยะยาวได้ โดยการทวนซ้ำและการเรียนรู้ ข้อมูลนี้ส่งผ่านไปสู่ความจำระยะยาวโดยมีโมเลกุลของสารเคมีเป็นผู้ส่งข้อมูล

โมเลกุลเหล่านี้เคลื่อน

จากเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง แต่ละโมเลกุลจะก่อให้เกิดกิริยาเฉพาะอย่าง เพื่อส่งข้อมูลต่อกันไป ดังนั้น แม้เราอาจลืมหมายเลขโทรศัพท์ที่เพิ่งทราบได้ง่ายๆ แต่เราก็ยังเก็บมันไว้ในความทรงจำระยะยาวได้ในที่สุดหากจำเป็นต้องใช้ในอนาคต



หมายเลขบันทึก: 113134เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ผมก็เคยนั่งสงสัยอยู่เหมือนกันว่า คนเราจำสิ่งต่างๆ มากมายได้อย่างไร วันนี้พอเข้าใจหลักการขึ้นบ้างแล้ว ก็ขอขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ต่างๆ เหล่านี้ด้วยนะครับ ^ ^

สวัสดีค่ะ พี่คมสันต์

           ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ.............มนุษย์ของเรามีความจำที่มากมายได้ ก็เพราะ ความเป็นเลิศทางสมองที่ดีเยี่ยมไงค่ะ.......พัฒนาอย่างสูงสุด.........อยากให้จิตใจมนุษย์พัฒนาเหมือนสมองจัง.

                 ขอบคุณพี่คมสันต์มากค่ะที่เข้ามาเยี่ยมบล๊อคหนู----------> น้องจิ ^_^

  • สวัสดีครับน้องจิคนเก่ง
  • ที่สุพรรณฯฝนตกไหม
  • แปะก๊วย (ginko)...แก้อัลไซเมอร์ได้นะ แต่ฝึกสติดีกว่าครับ

สวัสดีลูกสาวคนเก่ง

       บันทึกเรื่องถี่ยิบ  โอ้ย.....อ่านไม่ทันเลย  อย่านอนดึกนะเดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นสาย  ไม่ทันรถไปอยุธยานะ ระวังเสียงเหน่อจะแหบด้วยละ

สวัสดีค่ะ พี่ ข้ามสีทันดร......ชอบชื่อนี้จริงๆเลย....โดนใจมากๆ.........ตอนนี้ที่สุพรรณก็อากาศดีค่ะ.....แต่ว่า เรื่องของดินฟ้าอากาศ ไม่มีใครกำหนดได้.....บางวันอยู่ดีๆ ฝนอยากจะตกก็ตก ....บางครั้ง เช้าร้อนจัด พอเที่ยงๆ ฝนก็ตก ....ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยค่ะ เนื่องมาจาก ภาวะโลกร้อนนั่นเอง .....ดูแลสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ พี่ข้ามสีทันดร----------> น้องจิ ^_^

สวัสดีค่ะ พ่อประจักษ์

                ตื่นแล้วเจ้าค่ะ....พร้อมที่จะนำเสียงเหน่อๆของหนู ไปเผยแพร่สู่สาธารณชนแล้วเจ้าค่ะ..........ขอบคุณค่ะ-------------> น้องจิ ^_^

  • จะมีอะไรเหนือกว่ามนุษย์อีกล่ะ :-)
  • สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ คุณ นม.

              จริงด้วยนะค่ะ.......จะมีอะไรเหนือว่ามนุษย์.....หนูว่า ก็เทวดาไงค่ะ คิคิ.......ขอบคุณเจ้าค่ะ ----------> น้องจิ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท