"สีเทียน"สร้างการมีส่วนร่วม


                                ดิฉันมีประสบการณ์การทำงานแบบมีส่วนร่วม อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าสิบปี แต่มาปี2550 มีข้อค้นพบอะไรหลายอย่างที่เกิดจากกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดิฉันเองก็คาดไม่ถึง แต่ก็เป็นเรื่องดีๆที่อยากเล่าเพื่อยืนยันทฤษฎีที่ท่านผู้รู้พูดมานาน  ปกติคนที่ทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการจะรู้ว่าการทำงานให้ได้ผลและบุคคลเป้าหมายจะมีส่วนร่วมจริงๆนั้นต้องทำงานเป็นกลุ่มย่อย ดิฉันเองก็เหมือนกันแทบทุกครั้งก็เหมือนเป็นสูตรสำเร็จว่าถ้ามีการแบ่งกลุ่ม ทีมวิทยากรจะแจก ปากกาเคมี กระดาษสร้างแบบ กระดาษกาวย่น งานไหนก็งานนั้นมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ดิฉันได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรกระบวนการหัวข้อ การสร้างกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็ง ที่บ้านสบปืน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม 80% อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง ดิฉันก็เลยปรับวิธีการแบบเดิมๆที่แต่แจกกระดาษ ปากกาเคมีและปล่อยโจทย์ มาเป็นการวาดรูปภาพกลุ่มฯที่ชาวบ้านอยากให้เป็น/อยากเห็นอีกสองปีข้างหน้า ปรากฏว่าชาวบ้านสามารถสื่อสารกับดิฉันได้ และเราเองก็เก็บประเด็นตามที่ชาวบ้านเล่าให้ฟัง  ดิฉันเองเริ่มเห็นประโยชน์จากการใช้สีเทียน จึงเอามาพิสูจน์อีกครั้งในการฝึกอบรม หลักสูตรการสร้างนักวิจัยชุมชน  ภายใต้โครงการ การพัฒนาแผนอนุรักษ์และองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตรจังหวัดน่าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก โครงการBRT.และครั้งนี้ทีมนักวิจัยมาดำเนินการพื้นที่ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข ในบทบาทของวิทยากรกระบวนการ การดำเนินกิจกรรมแต่ละชั่วโมงนั้น ทีมวิทยากรก็มีการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยในแต่ละหัวข้อ จะปล่อยโจทย์ให้กลุ่มระดมสมองถกคิด/อภิปรายเหมือนๆกับทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ที่แตกต่างก็คือแทนที่จะให้อุปกรณ์เช่น กระดาษสร้างแบบ ปากกาเคมี กระดาษกาวย่น คราวนี้ทีมวิทยากรเพิ่มสีเทียนกลุ่มละ 1 กล่อง แรกๆดูเหมือนแต่ละคนจะเขินที่จะใช้สีเทียนในการสื่อสารลงในกระดาษ คงจะคิดว่าเอาของเล่นเด็กๆมาใช้แต่พอมีกลุ่มอื่นๆทำก็ทำตามบ้าง 

สีเทียนช่วยการเรียนรู้อย่างไร     จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรู้เห็นว่าการใช้สีเทียนสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มได้จริงๆเพราะว่าการเรียนรู้หลักสูตรการสร้างนักวิจัยชุมชน ในวันแรกๆของการเรียนรู้จะเป็นเรื่องหลักวิทยาศาสตร์สำหรับงานวิจัย ซึ่งเป็นยากสำหรับชาวบ้าน ถ้าทีมวิทยากรจะพูดในเชิงวิชาการอย่างเดียวความสนใจคงไม่เกิดขึ้นแน่ๆ

v   ถ้าทีมวิทยากรแจกปากกาเคมี 3 ด้าม อย่างมากคนในกลุ่มเพียงสามคนเท่านั้นที่จะได้ขีดเขียน คนที่เหลือในกลุ่มก็นั่งดูเฉยๆ แต่พอมี สีเทียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมการขีดเขียน

v   การสื่อสารด้วยกระดาษสร้างแบบที่มีสีสันของสีเทียนทำให้คนในกลุ่มเกิดจินตนาการและมีภาพที่สวยงามในการนำเสนอ

v   ภาพหรือการบันทึกข้อความด้วยสีเทียน สามารถบอกสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติได้ดีกว่าปากกาเคมีอาจจะมีใครหลายคนที่เคยใช้สีเทียนได้ผลมาแล้ว ในห้องเรียนที่เป็นเด็กๆหรือเป็นสถานที่ควบคุมได้ แต่สำหรับดิฉันแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้น เพราะกำลังนำเทคนิคนี้ไปใช้กับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ซึ่งเป็น นักวิจัยชุมชน และปรับใช้กับงานประจำที่ทำอยู่ เป็นข้อค้นพบที่ได้มาอย่างบังเอิญ ซึ่งสร้างความม่วนชื่นให้กับทีมวิทยากรน่านเป็นอย่างยิ่ง

   

                                            

หมายเลขบันทึก: 112846เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • หวัดดีครับ สาวน่าน
  • สีเทียนดีอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่เอามาป้าย กัน
  • รูปนี้น่าจะเป็นที่ รอยัลปริ้นส์ นะ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำเทคนิคใหม่มา ลปรร.
  • ได้เก็บภาพไหมครับ อยากเห็นจังเลยครับ
สวัสดีครับอ.พยอม  ขอบคุณที่นำสิ่งที่ดีฯมาแบ่งปัน   ทราบว่าเครือข่ายKM  จากกรุสมองกลฯ จะไปลปรร.กับนักวิจัยชุมชนป่าเมี่ยง ปลายสค.50นี้ใช่ไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท