ว่าด้วยเรื่องแพ้ยา


ความตระหนัก รับรู้ เข้าใจและตั้งใจในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพ้ยาให้แก่ผู้ป่วยสำคัญอย่างยิ่งกับบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่มา หนังสือตรงประเด็นเรื่อง adverse drug reaction)
             ช่วงนี้พบคนไข้แพ้ยารายใหม่เยอะมาก  ซื้อกินเองบ้าง  กินยาของคนอื่นบ้าง   มีคนหนึ่งสมมติชื่อนายไม่รู้    กินยา GANO(tetracycline)มา รพ.ด้วยอาการ Anaphylactic  shock   BP ลด  หายใจลำบาก  หอบ  แล้วก็ แอทมิท ICU ที่สะกิดใจคือ ญาติมาถามเราซึ่งเป็นเภสัชกรว่า ยาตัวนี้อันตรายขนาดนี้เชียวเหรอเห็นใครๆก็กินกันเวลามีอาการอย่างนี้  ลุงเลยแบ่งยาให้ นายไม่รู้   กินบ้าง พอมีอาการผิดปกติก็อดทนคิดว่าเดี๋ยวก็หาย จนหอบถึงยอมมารพ.     เลยอธิบายลุงซึ่งเป็นญาติไปว่า ยาทุกชนิดต้องมีความระมัดระวังเพราะยาไม่ใช่ขนม  ไม่สามารถบอกได้ว่าใครจะแพ้ยาอะไร  รุนแรงขนาดไหน สิ่งที่สำคัญต่อจากนี้คือต้องปฏิบัติตัวอย่างไร  เราให้บัตรแพ้ยาและแนะนำคนไข้พร้อมญาติว่าควรจำชื่อยาที่แพ้ไว้  ยื่นบัตรแพ้ยาทุกครั้งที่ไปรักษาตัว หรือซื้อยา พร้อมทั้งแจ้งแพทย์ด้วย   ที่มาเล่านี่คืออยากให้คนที่บังเอิญผ่านมาตรงนี้ได้ย้อนกลับไปทั้งในมุมมองคนไข้และมุมมองผู้ให้บริการ ในความคิดเรา
มุมมองคนไข้(นายไม่รู้)
ยาทุกชนิดต้องมีความระมัดระวังถ้ามีอาการผิดปกติควรหยุดยาแล้วมาพบแพทย์  ไม่ควรนำยาของคนอื่นมากินเพราะอาจไม่ใช่โรคที่ตัวเองเป็น
มุมมองผู้ให้บริการ(เราชอบประโยคนี้มาก)
ผู้ป่วยทุกคนมีความหวัง  ที่จะหายป่วย  ผู้ป่วยเหล่านั้น ไม่เคยคาดฝันว่าจะแพ้ยาซึ่งในบางจังหวะเวลา พรากแม้แต่ชีวิต( ที่มา หนังสือตรงประเด็นเรื่อง adverse  drug  reaction)แล้วเราจัดการระบบเตือนและส่งต่อข้อมูลอย่างไร
คำสำคัญ (Tags): #แพ้ยา
หมายเลขบันทึก: 112547เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่ว่าดีมากเลยนะ ที่เหมียวนำมาเล่า เพราะอาจจะมีบางคนที่ไม่ได้ใส่ใจ ในสิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ว่าสำคัญมากถึงชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท