เมื่อตอนผมเป็นเด็กๆ เข้าค่ายลูกเสือครั้งแรกตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 คุณครูได้สอนให้ร้องเพลง "สามัคคีชุมนุม" จำได้ว่าใช้ทำนองเพลง "โอลด์ แลง ไซน์" ของฝรั่งเขา วันนี้ไหนๆ เขียนบันทึกเกี่ยวกับบทเพลงมาแล้วก็ขอต่อเนื่องไปเลยครับ ไปค้นประวัติเกี่ยวกับเพลงนี้ได้มาดังนี้ครับ
"Auld Lang Syne" เพลงนี้คนไทยรู้จักกันดี เพราะทำนองของเพลงนี้มีคำร้องหรือเนื้อร้องในภาษาไทยด้วย โดยเราเอามาตั้งชื่อใหม่ว่า ‘เพลงสามัคคีชุมนุม’ ผู้ที่แต่งหรือประพันธ์เนื้อร้องเพลงนี้เป็นภาษาไทยก็คือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี หรือที่มีนามเดิมว่า ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ณ อยุธยา อดีตพระพี่เลี้ยงผู้ดูแลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่พระองค์ท่านเรียนหนังสืออยู่ที่อังกฤษ เมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ชื่อของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นี้ ถ้าใครเรียนอยู่สวนกุหลาบสมัยโน้น ที่ไม่ได้ใช้วิธีการจับสลากสอบเข้าก็คงจำได้ว่า ท่านเป็นผู้วางรากฐานและทำให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเกิดขึ้นมาได้...
เพลง "Auld Lang Syne" ฝรั่งเขาถือว่าเป็นเพลงฉลองปีใหม่ในสมัยคลาสสิกกัน เนื้อเพลงนี้มีเนื้อส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องของการให้อภัยและการลืมเรื่องบาดหมางทั้งหลาย เมื่อท่านเจ้าพระยาฯ เอาทำนองมาใส่เนื้อเพลงไทย มันกลมกลืนไปกับกรอบเนื้อหาสาระเดิมๆ ของเพลงชนิด ไร้รอยตะเข็บทีเดียว
โอลด์ แลง ไซน์ นั้นถ้าจะแปลความหมายเป็นภาษาอังกฤษก็คือ The Good Old days เป็นคำอวยพรหรือคำโบราณของชาวสก็อตแลนด์เขา ความหมายของโคลงชุดนี้นั้นแปลได้ว่า เป็นการเริ่มต้นใหม่ การให้อภัย และการลืมเรื่องบาดหมางทั้งหลาย เพลงนี้เริ่มปรากฏครั้งแรกก็ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โน่น ว่ากันว่าในสก็อตแลนด์สมัยโบราณนั้นเขาจะเอาเพลงนี้มาให้คนในหมู่บ้านร่วมร้องกันพร้อมกับจับมือกันเป็นวงกลมร้องเพลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งผ่านคืนส่งท้ายปีเก่าแล้วข้ามไปยังปีใหม่
พูดง่ายๆ พอระฆังตีบอกว่าปีใหม่มาแล้วก็ค่อยจบเพลง ว่ากันว่าการร้องเพลงนี้ความจริงแล้วก็ทำในอังกฤษมานานนมมาก แต่เนื้อเพลงทั้งหมดนั้นเป็นเพลงที่ร้องต่อๆ กันมาเรื่อยๆ มาเป็นทางการก็เมื่อ โรเบิร์ต เบิร์น( Robert Burns) กวีชื่อดังเอาธีมของเพลงเก่าที่ร้องกันมาเรียบเรียงให้เป็นทางการ แล้วก็จัดการบันทึก อย่างเป็นทางการในปี 1788 ....เบิร์นนั้นได้รับฉายาว่าเป็นกวีชาวบ้านที่ชาวสก็ฮตแลนด์นั้นภาคภูมิใจเหลือเกิน
โอด์ แลง ไซน์ นั้นก็มีอยู่หลายส่วนเหมือนกันที่เป็นภาษาเก่าของชาวสก็อตเขานะครับ ลองดูเนื้อเพลงกันเลยครับ
Auld lang syne |
||
(Youtube Auld lang syne) | ||
Should auld acquaintance be forgot |
คราวนี้ก็ถึงเนื้อเพลง "สามัคคีชุมนุม" ลองระลึกถึงความหลังร่วมร้องเพลงกันเลยนะครับ
เพลง สามัคคีชุมนุม <click> |
||
พวกเราเหล่ามาชุมนุม ต่างคุมใจรัก สมัครสมาน |
||
หลายคนต้องยอมรับว่าเนื้อเพลงมันลงตัว แล้วมันก็ไปกันได้กับมหกรรมการแข่งขันกีฬาในเมืองไทยเสียด้วย เพราะเพลงเขาให้ความรู้สึกลึกซึ้งเกี่ยวข้องกับการสามัคคีของหมู่คณะ...ยิ่งในยุคท่านจอมพล ป. พิบุลย์สงครามแล้ว ยิ่งลงตัว
เมื่อถึงยุคปัจจุบัน ยุคที่ที่สปิริตทางการกีฬาได้หายไปเกือบหมด ยุคที่ธุรกิจการกีฬาเข้ามามีส่วนกับการแข่งขันอย่างเต็มที่ ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ว่า การโกงเอย การไร้ซึ่งน้ำใจของนักกีฬาของบางชาติ มันทำให้เพลง โอด์ แลง ไซน์ นี้กลายเป็นบทเพลงที่เชยไปอย่างช่วยไม่ได้
ก่อนจากร่วมกันร้องเพลง โอลด์แลงไซน์ และ สามัคคีชุมนุมกันก่อน..และขอให้คนไทยทุกคนจงมีความสามัคคีปรองดองกันครับ...
ดีมากที่สุด
ควรเปิดให้ฟังหลังเครพธชาติทุกเช้า-เย็น คนไทยจะได้รักและสามัคคีกันมากกว่านี้
ควรเปิดให้ฟังหลังเคารพธงชาติทุกเช้า-เย็น คนไทยจะได้รักและสามัคคีกันมากกว่านี้
สวัสดีเจ้าค่ะ อาจารย์บีแมน
น้องจิแวะมาเยี่ยม คิดถึงเจ้าค่ะ สบายดีไหมเจ้าค่ะ เพลงนี้เป็นเพลงที่ดีมากๆๆๆๆๆ คิคิ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^
ขอขอบคุณ
ที่แวะมาเยี่ยมเยียน beeman นะครับ
ขอบคุณมากนะคะ
ที่ทำให้ทราบถึงประวัติความเปนมา ของบทเพลง
ที่มีคุณค่ามาก อีกอย่างนึง เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมือง ในเวลานี้ด้วยค่ะ
^^
เพลง สามัคคีชุมนุม <click>
พวกเราเหล่ามาชุมนุม ต่างคุมใจรัก สมัครสมาน
ล้วนมิตร จิตชื่นบาน สราญเริงอยู่ ทุกผู้ทุกนาม
*(สร้อยเพลง) อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรี
ทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี
กิจใด ธ ประสงค์มี ร่วมใจภักดีแด่พระจอมสยาม
พร้อมพรึ่บดังมือเดียวยาม ยากเย็นเห็นง่าย บ่หน่าย บ่จาง
*(สร้อยเพลง)
ที่หนักก็จักเบาคลาย ที่อันตราย ขจัดขัดขวาง
ฉลองพระเดชบ่จาง กตเวทิคุณ พระกรุณา
*(สร้อยเพลง)
สามัคคีนี่แหละล้ำเลิศ จักชูชาติเชิด พระศาสนา
สยามรัฐจักวัฒนาปรากฏเกียรติฟุ้งเฟื่อง กระเดื่องแดนดิน
*(สร้อยเพลง)
ชอบเพลงนี้มากเลยค่ะ ฟังเเล้วเนื้อร้องมีความหมายดีค่ะ
เพลง นี้ ผม ร้อง ตอน ยู่ ค่าย
ลูก เสือ ฟัง เพลง นี้ แล้ว
อยาก จะ ไป ยู่ ต่อ
ขอบคุณมากครับ [url=http://www.SIDETABLESFORLIVINGROOM.COM] SIDE TABLES FOR LIVING ROOM[/url]
รู้สึกว่า มีหลายคนยังงงกับคำว่า กุม หรือ คุม กันแน้
ดูความหมายในพจนานุกรมแล้ว เราเอา คุม เพราะมีความหมายดีกว่า
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 15 ก.ค 2502 ให้ความไว้ว่า
กุม คือ จับ เกาะ ยึด ถือ
คุม คือ กำกับ, ป้องกัน, จัดเข้าระเบียบ, รวมเข้า, รักษาไว้ไม่ไห้หายหรือหนีไป
อีกคำ ในเพลง ต้นฉบับ ในประโยคที่ว่า ขจัดขัดขวาง ในเพลงผมฟังแล้วมันมีคำว่า ก็ ด้วย
ให้ทุกท่านฟังหลายๆรอบ แล้วช่วยกันพิจารณา จบข่าว
http://www.youtube.com/watch?v=GN6WIkU7X2Y เพลงสามัคคีชุมนุม ต้นฉบับ ฟังดู