ชุมชนนาป่าแดงกับเศรษฐกิจพอเพียง ( 3 )


คุณมนตรี จันทร์เนตร ได้ให้แนวคิดว่าจากที่ตนเองได้ทำการศึกษาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

                     ผมจะขอเล่าต่อจากชุมชนนาป่าแดงกับเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 2 นะครับ โดยมี  คุณมนตรี  จันทร์เนตร หนึ่งในทีมงานของชุมชนนาป่าแดงของ คุณลุงจรัญ จ๋องบุญ  ได้เล่าให้ฟังว่า จากการพัฒนา ในยุคของโลกาภิวัฒน์ และระบบการผลิตของชุมชน ที่มีการผลิตพืชเชิงเดี่ยว โดยมุ่งการตลาดผลิตเพื่อขาย หรือการแข่งขันอย่างเดียว ที่ผ่านมาก็ส่งผลให้ชุมชน มีหนี้สิน และต้นทุนการผลิตก็สูง  จึงทำให้คนในชุมชนเริ่มเกิดความตระหนัก ที่จะต้องวางแผนกการดำรงชีวิต    ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป     คุณมนตรี  จันทร์เนตร ได้ให้แนวคิดว่า จากที่ตนเอง ได้ทำการศึกษาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติ คือ 

                   ( 1 ) เริ่มแรกต้องปรับแนวคิดของตนเองก่อน การที่จะไปบอกคนอื่นเขาให้เปลี่ยนแปลงนั้นยากมาก จึงได้ทำการทดลองและปฏิบัติเองก่อน แล้วค่อยขยายผลและอีกประการหนึ่งก็คือ เราต้องมองตัวเราเองว่ามีความรู้ ในแต่ละเรื่องพอหรือยังเช่น  จะผลิตสารสกัดจากสมุนไพร  การทำปุ๋ยอินทรีย์  การทำน้ำหมักจากชีวภาพ  การทำน้ำส้มควันไม้

                      ( 2 ) ต้องลงมือปฏิบัติ(ทำจริง ) ปัจจุบันได้ทดลองและปฏิบัติได้แก่  การเลี้ยงหมูหลุม  จากที่เคยเลี้ยงและได้จดบันทึกข้อมูลทราบว่า การเลี้ยงหมูหลุม จะใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 4 เดือนจะมีกำไรตัวละ ประมาณ 1,000-1,500 บาทต่อตัว     การผลิตราขาว  มีประโยชน์ในการดับกลิ่นมูลหมู ซึ่งได้ผลดี และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม    ประโยชน์ของการเลี้ยงหมูหลุม นอกจากจะได้กำไรจากการเลี้ยง ยังจะได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพดี หากนำไปใส่ในแปลงนาต่อ ก็จะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

                    ( 3 )  ตนเองได้วางแผนการทำการเกษตรแบบยั่งยืน โดยได้เริ่มดำเนินการทำกิจกรรม ไร่นาสวนผสม เช่น อนุรักษ์ป่า  การเลี้ยงหมูหลุม  ขุดบ่อเลี้ยงปลากินพืช โดยไม่ต้องให้อาหาร  การผลิตกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้องคำนึงถึง ไม่ให้เกิดผลกกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ผลิตและผู้บริโภค  หรือจะพูดง่ายฯก็คือจะผลิตเพื่อมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์นั่นเอง

                         นับว่าเป็นการทำงานที่เชื่อมประสานกัน      ระหว่างคนในชุมชน กับองค์การบริหารส่วนตำบลคุยบ้านโอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    ได้มีการปรับแนวคิดตนเองก่อน และสร้างทีมงาน เพื่อลงมือปฏิบัติจริง แล้วศึกษาทางเศรษฐกิจว่าจะทำอย่างไร    ที่ลงทุนไม่สูงนักจนเกินไป    ทำระดับครอบครัวก่อน แล้วค่อยฯขยายผลไปสู่รายอื่นฯและยังได้ให้ข้อคิดว่า    หากชุมชนนาป่าแดง ทำกิจกรรมหลายฯกิจกรรมแล้ว   การบริหารจัดการฟาร์ม ก็จะต้องมีความรู้และความเข้าใจควบคู่กันไป   ซึ่งก็จะต้องมีการยกระดับองค์ความรู้ของชุมชนที่มีอยู่ ให้สูงขึ้นต่อไปนั่นเองครับ

               แหล่งข้อมูล:  คุณมนตรี  จันทร์เนตร สถานที่ หมู่ 1 บ้านนาป่าแดง  ตำบลคุยบ้านโอง  อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร

หมายเลขบันทึก: 112055เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
    ตามหนุ่ม...ร้อยเกาะ มาเยี่ยมเยียนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท