วิตามินแบบนี้ ดีกับทารกในครรภ์


พวกเราคงไม่อยากเห็นคนรุ่นลูกรุ่นหลานมีความพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ วันนี้มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่า การเสริมวิตะมินชนิดกรดโฟลิคดีกับทารกในครรภ์มาฝากครับ...

พวกเราคงไม่อยากเห็นคนรุ่นลูกรุ่นหลานมีความพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ วันนี้มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่า การเสริมวิตามินชนิดกรดโฟลิค หรือโฟเลตดีกับทารกในครรภ์มาฝากครับ...

เป็นที่ทราบกันดีว่า กรดโฟลิค (folic acid / folate / โฟเลต / วิตามินบีชนิดหนึ่ง) มีส่วนช่วยป้องกันความผิดปกติในการพัฒนาการของท่อระบบประสาทของทารกในครรภ์ (neural tube defect) ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นสมอง และไขสันหลังได้

พัฒนาการดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งช่วงนั้น ว่าที่คุณแม่ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่า ตั้งครรภ์แล้ว ทำให้เสี่ยงต่อความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่

  1. ภาวะไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) ซึ่งทารกจะตายหลังคลอดได้ไม่นาน
  2. ไขสันหลังส่วนล่างผิดปกติ (spina bifida) ซึ่งมักจะพบร่วมกับกระดูกสันหลังผิดปกติ และอาจทำให้เกิดถุงน้ำไขสันหลังโป่งออกไปทางด้านหลัง (meningocele) หรือเกิดถุงน้ำไขสันหลังที่มีเนื้อไขสันหลังโป่งออกไปทางด้านหลัง (myelomeningocele) และพบร่วมกับความผิดปกติชนิดอื่นๆ ได้

ท่านอาจารย์ฟิลิปป์ เดอ วาลส์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยลาวาล รัฐควีเบค แคนาดาทำการศึกษาพบว่า

อัตราการเกิดความผิดปกติของท่อระบบประสาท(สมอง-ไขสันหลัง)ลดลงจาก 0.158% เป็น 0.086% หลังจากมีการออกกฎหมายบังคับให้เติมวิตามินชนิดนี้ไปในอาหาร

ปี 2541 แคนาดาออกกฎหมายบังคับให้เติมกรดโฟลิค หรือโฟเลตในอาหาร หลังจากนั้น 11 เดือนสหรัฐฯ ก็ออกกฎหมายแบบเดียวกัน

กฎหมายสหรัฐฯ บังคับให้เติมกรดโฟลิค หรือโฟเลตไปในแป้งที่ใช้ทำอาหาร อาหารสำเร็จรูปทำจากข้าวโพด พาสตา ซีเรียลอาหารเช้า เพื่อให้ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์(อาจมีลูกได้)ทุกคนได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม (mcg)

กรดโฟลิค หรือโฟเลตมีมากผักใบเขียว ผลไม้ ถั่ว นัท(เมล็ดพืชเปลือกแข็งที่ต้องกะเทาะเปลือกออกก่อนกิน เช่น วอลนัท ฯลฯ)

ข้าวกล้องมีกรดโฟลิค หรือโฟเลตสูงกว่าข้าวขาว

การกินอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะกินกรดโฟลิคให้เพียงพอ และการไม่ดื่มเหล้า (เบียร์ ไวน์...) มีส่วนช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

เรียนเชิญพวกเราดูฉลากอาหารก่อนซื้อเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับกรดโฟลิค หรือโฟเลตเพียงพอทุกวันครับ...

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

  • ผู้เขียนขอปิดส่วนความคิดเห็น และงดตอบปัญหา เพื่อปรับปรุงคำหลัก (key words) บันทึกย้อนหลังไปพลางก่อน

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                       

</span><ul>

  •  Many thanks to Reuters > Gene Emery > Folic acid cut birth defect rate in Canada: study > [ Click ] > July 11, 2007.
  • Many thanks to NINDS > What is spina bifida? > NINDS > http://www.ninds.nih.gov/disorders/spina_bifida/spina_bifida.htm > July 12, 2007.
  • Many thanks to CDC > folic acid > http://www.cdc.gov/ncbddd/folicacid/ > July 12, 2007.
  •  Many thanks to NIH > folic acid > http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/folicacid.html > July 12, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
    • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 13 กรกฎาคม 2550.
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 111232เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท