ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์


ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ (strength of evidence) เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

โดยใช้ตามเกณฑ์ของเมลินย์และไฟเอาท์- โอเวอร์ฮอลท์ (Melnyk & Fineout-Overholt,2005) แบ่งเป็น 7 ระดับ

  1. ระดับ 1 หลักฐานจากการทบทวนงานวิจัยย่างเป็นระบบ  (Systematic Review) การวิเคราะห์เมต้า  จากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมทั้งหมด (Randomized controlled trial,RCT)

  2. ระดับ 2 หลักฐานจากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีการออกแบบวิจัยอย่างดี อย่างน้อย 1 เรื่อง  (Randomized controlled trial,RCT)

  3. ระดับ 3 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม มีการออกแบบวิจัยอย่างดี แต่ไม่มีการสุ่ม (controlled trial, without randomized)

  4. ระดับ 4 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยที่เป็นการศึกษาย้อนหลัง หรือการติดตามไปข้างหน้า ที่มีการออกแบบวิจัยอย่างดี (case controlled and cohort studies)

  5. ระดับ 5  หลักฐานที่ได้จากการทบทวนวรรรกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงบรรยายหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ (descriptive and qualitative study)

  6. ระดับ 6 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยเดี่ยวที่เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ

  7. ระดับ 7 หลักฐานที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ และ/หรือ รายงานจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะเรื่อง ซึ่งจัดเป็นลำดับสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในหัวข้อนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 111031เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ     มาให้กำลังใจในการเรียนต่อให้จบตามที่ตั้งใจค่ะ
ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน

เยี่ยมมากเลย 555+

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท