3.หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
![]() |
เมื่อกดสวิตช์ในการหุงข้าวแล้วคานบังคับจะดันสปริงขึ้นไปแท่งแม่เเหล็ก ที่อยู่ทางด้านล่างของสปริงจะดูดแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์ที่อยู่ด้านบนของสปริง ทำให้หน้าสัมผัสติดกันมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหน้าสัมผัสเข้าสู่วงจรหุงและแผ่นความร้อน ทำให้แผ่นความร้อนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆและส่งผ่านความร้อนไปยังหม้อชั้นในและข้าวที่อยู่ในหม้อ |
![]() |
เมื่อข้าวสุกได้ปริมาณน้ำที่เราเติมพอดีหุงข้าวสวยน้ำจะกลายเป็นไอน้ำ และกลายเป็นไอดงอยู่ในหม้อชั้นในซึ่งจะทำให้ข้าวสุกและอุณหภูมิสูงมากยิ่งขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นมากๆนี้จะทำให้แท่งเหล็กเฟอร์ไรต์เสื่อมสภาพเป็นสาภาพทำให้ แรงดึงดูดระหว่างแท่งแม่เหล็กกับแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์รแม่เหล็ก |
![]() |
ในการที่จะซื้อหม้อหุงข้าวแต่ละครั้งเราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับครอบครัว เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานและประหยัดค่าไฟฟ้า |
ตารางแสดงขนาดของหม้อหุงข้าวที่เหมาสะสมกับครอบครัว
|
ขนาด (ลิตร)
|
ปริมาณข้าวสารในการหุงต้ม(ถ้วย)
|
จำนวนสมาชิกในครอบครัว(คน) |
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
|
0.3-1 ลิตร
|
3-5
|
1-2
|
130-450
|
1-1.5 ลิตร
|
5-10
|
3-6
|
450-500
|
1.6-2 ลิตร
|
12ขึ้นไป
|
5-8
|
530-730
|
หมายเหตุ
ขนาดถ้วยตวงมีความจุประมาณ 180 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ความจุนี้พอๆกับแก้วน้ำขนาดเล็ก หม้อหุงข้าวแต่ละขนาด
ใช้กำลังไฟฟ้าต่างกัน
ถ้าขนาดกำลังไฟฟ้ามาก ก็จะเสียค่าไฟมาก
ตารางขนาดหม้อหุงข้าวไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าที่ใช้และค่าไฟ
|
ขนาด
|
กำลังไฟ้า(วัตต์)
|
ค่าไฟต่อเดือน
|
1ลิตร
|
450
|
27บาท
|
1.8ลิตร
|
600
|
36บาท
|
2.2 ลิตร
|
800
|
48บาท
|
2.8ลิตร
|
1,000
|
60บาท
|
5.
ข้อแนะนำในการใช้หม้อหุงข้าว
1. การหุงข้าวแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
- ชนิดของข้าวที่หุง
- ปริมาณน้ำที่ใช้
-
วิธีการหุงข้าว
-
ความร้อนที่ข้าวได้รับระหว่างหุง
![]() |
2.ไม่ควรนำทับพีไว้
ในหม้อข้าว ความร้อนจากข้าวทำให้ทัพพีร้อนเป็นอันตรายและอาจทำให้สารที่เคลือบอยู่ในหม้อชั้นใน ได้รับความร้อนจะละลายเจือปนกับข้าว |
![]() |
2.ไม่ควรนำถุงอาหาร
ไปอุ่นในหม้อข้าว ไม่ควรนำอาหารหรือข้าวที่เหลือมาอุ่นในหม้อข้าว เพราะจะทำให้เสียพลังงาน ความร้อน และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ทำให้หม้อหุงข้าวเสื่อมเร็ว |
![]() |
3.ขณะที่หม้อข้าวร้อน
อย่าเอามือไปแตะ ขณะที่หม้อข้าวร้อนเอามือไปแตะจะทำให้เกิดอันตรายอาจทำให้มือพองได้ |
![]() |
4.ก่อนหุงข้าวต้องทำความสะอาดเศษข้าวที่ติดอยู่ ออกให้หมดก่อน ในการหุงข้าวต้องทำความสะอาดเอาเศษอาหารออกให้หมดเพราะเศษอาหารที่ติดอยู่ทำให้ข้าวบูดได้ และต้องใช้พลังงานในการหุงมากขึ้นทำให้เปลืองไฟ |
![]() |
5.นำสิ่งแปลกปลอมที่อยู่
บนแผ่นความร้อนและ อย่าหุงข้าวขณะที่ไม่มีภาชนะบรรจุข้าวด้านใน ก่อนหุงข้าวต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่แผ่นความร้อนหรือไม่ ถ้ามีต้องเอาออกเพราะจะทำให้เกิดการเสียหายกับแผ่นความร้อนและหม้อหุงข้าวได้ |
![]() |
6.ไม่ควรนำหม้อหุงข้าว
ไว้ใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวใกล้แหล่งความร้อน เพราะจะทำให้หม้อหุงข้าว เกิดการเสียหายจากความร้อนได้ |
![]() |
6.ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าชั้นนอก ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าชั้นนอกไปล้างน้ำเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล และเกิดการลัดวงจร และต้องถอดปลั๊กออกทุกครั้งที่ทำความสะอาด |
![]() |
7.ใช้ผ้าเช็ดเบาๆ เมื่อมีสิ่งสกปรกติด แผ่นความร้อนหรือเทอร์โสตัท |
![]() |
8.ไม่ควรใช้ฝอยเหล็กขัดเพราะจะทำให้แผ่นความร้อนหรือเทอร์โมสตัทเสื่อมเละสึกเร็ว |
![]() |
9.ควรใช้ฟองน้ำกับน้ำยาล้างจาน ล้าง
ทำความสะอาดหม้อหุงข้าว ไม่ควรใช้ ผงซักฟอก ทินเนอร์ ฝอยเหล็ก ขัดล้างหม้อหุงข้าว เพราะจะทำให้ผิวหม้อ เสียหายได้ |
6.
ปัญหาที่เกิดกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
![]() |
1.
หม้อหุงข้าวไม่ทำงาน - สายไฟขาด -สวิตช์เสีย - ขั้วปลั๊กหลุดหรือหลวม - ลวดความร้อนขาด 2. หม้อหุงข้าวไม่ตัดไฟ - เทอร์โมสตัทไม่ทำงาน -เทอร์โมสตัทไม่สัมผัส กับด้านล่างของภาชนะ 3.ขณะอุ่นข้าวข้าวไหม้ -วงจรอุ่นข้าวผิดปกติ -เกิดการลัดวงจร ของลวดความร้อน |
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการหุงข้าวให้รวดเร็ว
แต่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
ดังนั้นในการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมและบำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ
เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
และประหยัดและยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆอีกที่ใช้พลังงานความร้อนในการหุงต้มอาหารที่จะต้องศึกษา
เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งานในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย chem ใน สรรหามาฝาก
คำสำคัญ (Tags)#หลักการทำงาน#หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
หมายเลขบันทึก: 110832, เขียน: 12 Jul 2007 @ 14:22 (), แก้ไข: 24 Jun 2012 @ 03:20 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 9, อ่าน: คลิก
ช่วยบอกเรื่องพัดลมหน่อยได้ป่ะค่ะ ขอบคุงเน้อ