Globalization


หลังจากโซเวียต Collapse พังทลาย กำแพงระหว่างโลก คอมมิวนิสต์กับโลกเสรีนิยม ถูกทำลายไปเหลือโลกเสรีนิยมอย่างเดียว กำแพงการค้าถูกทำลายลงไปด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งมีการเกิดขึ้นของ IT (Information of techlogy) ทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารรับรู้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน และการพัฒนาการคมนาคม ทำให้ไปมาหาสู่กันสะดวกขึ้นนี่คือการเปลี่ยนแปลง จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเห็นว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์จะหมดไป ข้อจำกัดทางชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจะลดถอยลงไป
 ทำให้เกิดการ การอยู่ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกัน คือโลกมีแต่จะเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งสิ้น เช่น คนไทยจะแต่งงานกับชาวตะวันตกมากขึ้น หรือแต่งงานกับชนชาติเอเซียด้วยกันมากขึ้น เพราะมีการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
 ทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อหาผลประโยชน์และเกิดการซอกซอนเข้าหาผลประโยชน์ เช่น บริษัท บิ๊กซี คาร์ฟู เทสโก้ โลตัส เซเว่นอีเลฟเว่น หรือบริษัท ซีพี คนไทยเป็นคนเอาเข้ามา โดยทุนโลกกับทุนชาติสามารถประกอบกันได้ และทำได้ภายใต้ อิทธิพลของ Globaligation จึงเกิดการหลั่งไหลของผลประโยชน์ ของทุน และวัฒนธรรมเข้ามา Invade (คุกคาม) ข้างใน ทำให้เจ้าถิ่นเดือดร้อน เมื่อเดือดร้อนก็หาทางปรับตัวเอง ทำให้แข็งแกร่งขึ้น จึงเกิดเป็นข้อต่อไปคือ
 Localization เกิด Discount Store ทำให้ผู้ค้าปลีก ผู้ค้ารายย่อยเดือดร้อนเกิดมีคู่แข่ง จึงเกิดการเรียกร้องค่านิยมมากขึ้น พยายามรวมกันต่อต้านการใช้สินค้าต่างประเทศ เช่น สินค้าเบียร์ช้าง โฆษณาแบบคุณค่านิยม ในท้ายที่สุดผลประโยชน์เข้ามาครอบงำหมด เพราะฉะนั้นระหว่าง Localization กับ Globalization 2 อันนี้จะต่อสู้กัน
 ยกตัวอย่าง ประเทศไทยเป็นสังคมที่เป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายคุกคาม จะเห็นต่างประเทศเข้ามารุกรานอยู่เป็นนิจ เช่น ธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ทุนต่างชาติส่วนใหญ่บางทีก็ดี แต่แบ็งค์เดิมของไทยทำธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมไว้มาก ก่อนแบ็งค์จะล้มมีการนำกำไรไปทำธุรกิจ เช่น แบ็งค์รวบรวมเงินของคนที่มาฝากธุรกิจของแบ็งค์ปกติจะมีกำไรมหาศาล ถ้าขาดทุนถือเป็นความบกพร่องของแบ็งค์ ต่อมาแบ็งค์นำเงินฝากนั้นไปลงทุนเสียเอง เมื่อธุรกิจขาดทุนก็เอาเงินตราต่างประเทศเข้ามามากจนเกินไป และเอากำไรส่วนต่าง สมัยนี้อเมริกาสภาพเศรษฐกิจแบ่งดอกเบี้ย 3% ส่วนประเทศไทย 13% ส่วนต่าง 10% ถ้าเอามา 10 ปี อยู่ได้มีกำไร และเอามาลงทุนระยะสั้น บางโครงการระยะยาว แข่งกันเอาเงินทุนเข้ามา แต่ตอนใช้ไม่คิด ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไม่ทำหน้าที่ เช่น ตรวจสอบพบข้อบกพร่องของ BBC แล้วไม่รายงาน ไม่ดำเนินการ กองทุนฟื้นฟูปล่อยให้ธนาคารเข้าไปไม่รู้กี่ล้านมากมายมหาศาล แบ็งค์ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องก็ไปเอาเงินฟื้นฟูมาช่วยเพราะแบ็งค์ล้มไม่ได้ต้องเอาเงินฟื้นฟูมาช่วย เพราะฉะนั้น Performance ในอดีตที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นเรียกว่า Mal-Practice คือการปฏิบัตินอกลู่นอกทาง และทำธุรกิจแบบนอกลู่นอกทาง ประเทศชาติต้องเสียหายทำให้คนไทยต้องมารับภาระหนี้ มาขูดรีดเงินในรูปภาษีต่าง ๆ จากประชาชน ในอดีตภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เกิดจากคนทำไม่มีขลุ่ย แต่คนส่วนใหญ่ต้องเจ็บปวดเห็นแก่ได้ระยะสั้น ปฏิบัติผิดๆ รัฐไม่ตรวจสอบควบคุมดูแลให้ดี เป็นเรื่องที่ต่อไปจะต้องระมัดระวัง
หมายเลขบันทึก: 110643เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท