รู้จัก GFMIS


GFMIS
ท่านอาจจะได้ยินคำว่า GFMIS มาบ้าง แต่บางท่านก็อาจจะไม่ทราบว่า GFMIS  คืออะไร   มีประโยชน์อย่างไร  ฉะนั้นขอทำความเข้าใจโดยสรุปเนื้อหาย่อๆเกี่ยวกับ GFMIS  ดังนี้                GFMIS  ย่อมาจาก Government  Fiscal  Management  Information  System    เป็นการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐในทุกส่วนราชการให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด  พูดให้เข้าใจแบบให้เห็นภาพก็คือเมื่อก่อนส่วนราชการต้องการเบิกเงินให้ผู้มีสิทธิ์ หรือเจ้าหนี้  ต้องตั้งฏีกาแล้วนำไปวางเบิกที่คลังจังหวัด (ใช้กระดาษเป็นหลักฐาน)  แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบ GFMIS เมื่อส่วนราชการผู้เบิกต้องการเบิกเงิน         ก็สามารถวางเบิกผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้  ระบบจะออนไลน์ไปกรมบัญชีกลาง  แล้วกรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีให้ส่วนราชการ หรือเจ้าหนี้โดยตรง  โดยที่ส่วนราชการไม่ต้องวางเบิกเงินผ่านคลังจังหวัด                GFMIS  เป็นระบบบริหารงานด้านงบประมาณ  บัญชี  การเงิน  การรับจ่าย  การบริหารต้นทุน  การจัดซื้อจัดจ้าง  ที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานเหมือนกันในทุกส่วนราชการ  ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานการคลังภาครัฐ และสามารถใช้ติดตามการใช้งบประมาณที่เน้นการวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  แบบ Output – Outcome  โดยเป็นการสร้างฐานกลางข้อมูลกลางด้านการเงินการคลังภาครัฐแบบ Matrix  (ข้อมูลการเงินการคลังที่แสดงได้หลายมิติจากฐานข้อมูลเดียวกัน) และ Online Real Time  (บันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และมีการแสดงผลทันที)                การใช้งานในระบบ GFMIS  สามารถบันทึกข้อมูลและรับข้อมูลได้  3  วิธี  คือ1) บันทึกโดยตรงเข้าระบบ SAP ( Terminal GFMIS)  เป็นระบบที่สามารถปฏิบัติงานได้ทุกกระบวนงานในระบบ GFMIS  โดยสามารออนไลน์โดยตรงกับกรมบัญชีกลาง   จะติดตั้งให้ส่วนราชการผู้เบิกที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนมาก2) Interface  ข้อมูลเข้ามาจากระบบอื่น มาบันทึกในระบบ GFMIS 3) Load  ผ่านเข้าระบบ Web  Excel  Loader  วิธีนี้สำหรับส่วนราชการผู้เบิกที่ได้รับงบประมาณจำนวนน้อย  จะไม่ได้รับการจัดสรรเครื่อง Terminal GFMIS  จะปฏิบัติงานใน Excel  Form  ที่กรมบัญชีกลางกำหนดเท่านั้น  และนำ Form  มาติดตั้งในเครื่อง PC  ของส่วนราชการเอง  เมื่อนำเข้าข้อมูลใน Excel  Form  แล้วต้องนำข้อมูลที่บันทึกนั้นไปส่งในเครื่อง Terminal GFMIS เท่านั้น                  สพท.ลพบุรี เขต 1 ได้เริ่มปฏิบัติงานด้วยระบบ GFMIS  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547  ด้วยระบบ SAP ผ่านเครื่อง TERMINAL  ที่ได้รับจัดสรรจากสพฐ.   โดยมีการวางระบบควบคุมการนำเข้าข้อมูลในระบบที่ดี  สามารถเป็นตัวอย่างได้   จึงมีหน่วยงานผู้เบิกต่างๆมาดูงาน และขอคำแนะนำหลายหน่วยงาน อาทิเช่น  วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี , วิทยาลัยอาชีวศึกษา , วิทยาลัยสารพัดช่าง , โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล , มณฑลทหารบกที่ 13  และหน่วยตรวจสอบภายใน สพฐ. ก็ได้มาดูระบบเพื่อศึกษา และนำไปเป็นตัวอย่าง และอบรมผู้ตรวจสอบภายในสังกัดสพฐ. ด้วย                และเมื่อไม่นานมานี้สพฐ. ได้ให้สพท.ลพบุรี เขต 1 สำรวจข้อมูลโรงเรียนในสังกัดเกี่ยวกับงบประมาณที่ได้รับ  ระบบการเบิกจ่ายเงิน  ความพร้อมของบุคลากร  เพื่อประเมินความพร้อมว่าโรงเรียนจะสามารถปฏิบัติงานกระบวนงาน GFMIS  ได้เองหรือไม่  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง      เพื่อเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนจากการเป็นหน่วยงานย่อยเป็นส่วนราชการผู้เบิก               โรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนนำร่องมี 5 โรงเรียนคือ ร.ร.เมืองใหม่ฯ  ,     ร.ร.อนุบาลลพบุรี ,      ร.ร.โคกสำโรงวิทยา,       ร.ร.พิบูลวิทยาลัย  ,           ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย       ถ้ากระทรวงการคลังอนุมัติโรงเรียนก็จะต้องปฏิบัติงานในด้านงบประมาณ   ระบบบัญชี   ระบบจัดซื้อจัดจ้าง ที่เป็นกระบวนงานในระบบ GFMIS ทั้งหมดค่ะ    
คำสำคัญ (Tags): #gfmis
หมายเลขบันทึก: 110271เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การนำเข้าข้อมูลโดยส่งผ่านระบบ Intranet หรือ Tokenkey ถือว่าเป็นกาใช้งานในระบบนอกกเหนือจาก 3 วิธีข้างต้นหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท