นโยบายการค้าระหว่างประเทศ


นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือมาตรการที่รัฐวางไว้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 นโยบาย ดังนี้
 1. นโยบายการค้าเสรี หมายถึง เป็นการค้าโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาลในกิจการค้าระหว่างประเทศ ทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกของตลาด
 ลักษณะของนโยบายการค้าเสรี
 1. การผลิตสินค้าจะใช้หลักการแบ่งงานกันทำ
 2. รัฐบาลแต่ละประเทศจะให้สิทธิแก่ทุกประเทศเหมือน ๆ กันในการค้าระหว่างประเทศ
 3. ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีอากร หรือการจำกัดโควต้า
 2. นโยบายการค้าคุ้มกันหรือการค้าคุ้มครอง หมายถึง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการค้าระหว่างประเทศ เพราะเกรงว่าการผลิตภายในประเทศจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้โดยใช้มาตรการต่าง ๆ ดังนี้
 (1) การตั้งกำแพงภาษี สินค้านำเข้าที่ต้องการกีดกันจะตั้งภาษีนำเข้าสูง โดยการกำหนดการเก็บอัตราเดียวไม่ว่าจะนำเข้าจากประเทศใดก็ตาม หรือกำหนดเป็นหลายอัตราสำหรับเก็บกับประเทศต่าง ๆไม่เท่ากันก็ได้
 (2) การกำหนดโครงสร้างสินค้า คือการจำกัดสินค้านำเข้าและส่งออกมิให้เกินกว่าที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ ทำให้การจ้างงานขยายตัว รายได้สูง ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น เป็นต้น
 (3) กลุ่มผูกขาดระหว่างประเทศ หมายถึง การรวมกลุ่มของผู้ผลิตจากหลายประเทศเพื่อกำจัดการแข่งขันสินค้าชนิดเดียวกันให้เกิดอำนาจผูกขาดและได้รับกำไรสูงสุด ปัจจุบันกลุ่มผูกขาด ได้แก่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันส่งออกโอเปค
 (4) การทุ่มตลาด คือ การขายสินค้าในต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดภายในประเทศ
 (5) การให้เงินอุดหนุนสินค้าออก คือ การให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ส่งออกและผู้ผลิตภายในประเทศ เพื่อให้อยู่ในระดับแข่งขันกับต่างประเทศได้
 (6) รัฐทำการค้าเอง คือ การค้าระดับประเทศที่มีการวางแผนจากส่วนกลางโดยรัฐเป็นผู้วางแผนหรือตัดสินใจนำเข้าหรือส่งออกสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับพี่

ช่วยเรียนการเรียผมมากเลย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท