ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ทางเลือกทางรอดของหมูชุมชน


ถึงแม้จะบอกว่ามันเป็นหมู....แต่จริงๆ แล้วมันไม่หมูสมชื่อเลยเสียจริงๆ เพราะมันเป็นอาชีพที่ทำให้คนช้ำอกช้ำใจมานักต่อนักแล้ว...แต่จะทำอย่างไรจึงจะทำให้อาชีพการเลี้ยงหมูสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในชุมชน

หมู...นับเป็นอาหารอันโอชะที่มีมาคู่กับพี่น้องเกษตรกรอันยาวนาน....หมูมันเป็นอาชีพที่สร้างทั้งรายได้ และน้ำตาให้กับพี่น้องเกษตรกรมาทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในช่วงต้นปี 2550 ก็นับเป็นอีกวิกฤติหนึ่งที่สร้างน้ำตาให้กับพี่น้องเกษตรกร เนื่องจากเจอกับสภาวการณ์ราคาหมูตกต่ำ ทำให้พี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะรายย่อยต้องประสบกับภาวะที่ขาดทุน จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจจริงๆ กับสภาวะที่เกิดขึ้นเสมือนเป็นวัฎจักรด้านราคาที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ จึงทำให้พี่น้องเกษตรกรต้องอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงเสมือนยืนอยู่ข้างถนน “นี่แหละครับอาชีพเกษตรของจริง”

นักวิจัยหมูชุมชน "ชนกับ"คนเลี้ยงหมูชุมชน

ดีใจครับวันนี้...ที่ได้มาพบกับคุณสุกิจ   ใจมั่นตรง เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง แห่งตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  บัณฑิตหนุ่มผู้ซึ่งไม่เคยฝันว่าจะได้มาเป็นคนเลี้ยงหมูมาก่อน ปัจจุบันคุณสุกิจ มีฟาร์มหมูเป็นของตนเองระดับกลางในชุมชน มีพ่อแม่พันธุ์ สำหรับผลิตลูกหมูเอง นอกจากนั้นคุณสุกิจยังบริการผสมเทียม ทำคลอด และรักษาหมูให้กับพี่น้องเกษตรกรโดยทั่วไปอีกด้วย และที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า "ใครไม่มีตังค์บริการฟรี" 

คุณสุกิจเล่าให้ฟังว่า...เดิมทีเดียวไม่เคยคิดว่าจะเลี้ยงหมูเลย แต่เมื่ออยู่ไปอยู่ไปก็พบว่าชาวบ้านเขตละแวกที่ตนเองอยู่นั้น ชาวบ้านมักจะชอบกินหมูกัน เวลาจัดงานที ก็เป็นอาหารหมู และเวลาซื้อก็ต้องไปซื้อหมู่บ้านอื่น หรือที่ตลาดซึ่งค่อนข้างไกล ประกอบกับที่ตนเองก็อยากจะมีอาชีพอยู่ที่บ้าน เพราะอาชีพเดิมมันค่อนข้างเหนื่อย และต้องเสี่ยงกับการเดินทาง จึงคิดว่าอาชีพการเลี้ยงหมูน่าจะเป็นหนึ่งในอาชีพทางเลือกที่จะสามารถเลี้ยงครอบครัวได้

 เริ่มหาข้อมูล...ก่อนการตัดสินใจคุณสุกิจเล่าให้ฟังว่า...คิดมากครับ...เพราะว่าตนเองไม่มีความรู้เรื่องหมูมาก่อน จึงตัดสินใจในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหมู หาหนังสือวาสารเรื่องหมูมาอ่าน อ่านไปคิดไป วิเคราะห์ไป เพื่อดูความเป็นไปได้

ข้อมูลไม่อิ่ม...หลังจากที่อ่านไปแล้วก็ยังพบว่าการเลี้ยงหมูยังเป็นรูปธรรมสูง ยังไม่อิ่มด้านข้อมูลจึงออกไปดู ขอข้อมูลจากฟาร์มต่างๆ ที่เลี้ยงหมูตั้งแต่ฟาร์มระดับเล็ก กลาง ใหญ่ แต่ก็ยังพบว่าได้ข้อมูลมาไม่ค่อยตรงกัน คิดว่าเขาคงบอกไม่ทั้งหมด เพราะดูเหมือนว่ามีอะไรปิดบังอยู่ จึงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม และช่องทางสุดท้ายที่คิดว่าน่าจะได้ข้อมูลที่เป็นวิชาการหน่อยก็คงจะเป็นหน่วยงานราชการ

สมดั่งใจ และเต็มอิ่ม...ครั้นเมื่อคุณสุกิจ คิดว่าต้องไปหาข้อมูลหมูจากหน่วยงานราชการ จึงคิดต่อครับว่าจะไปไหนดี แล้วจึงได้ทบทวนว่า เอ...เคยเห็นทีไหน จึงร้องอ๋อ ขึ้นมาทันที เพราะว่าล่องกรุงเทพฯ เป็นประจำ และจำได้ว่าตรงอำเภอปากช่องมีรูปปั้นหมูตัวเบ่อเร่อเลยทีเดียว (ศูนย์วิจัยพันธุ์สุกรปากช่อง)  จึงคิดว่าตรงนั้นแหละน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับเราได้เป็นอย่างดี และแล้วก็ประทับใจ และสมดั่งใจเลยทีเดียวเมื่อได้ไปพบกับอาจารย์วิศาล  ซึ่งเป็นนักวิชาการประจำศูนย์ อาจารย์เขาแนะนำ และให้คำปรึกษาได้ดีมาก จนกระทั่งผมสามารถทำฟาร์มหมูเพื่อชุมชนยืนหยัดมาได้กว่า 5 ปี แล้วครับ ถึงแม้จะหมูราคาตกก็ไม่กระทบกระเทือนมากนัก และคิดว่าอยู่ได้ครับ แต่เราก็ต้องยืนอยู่ ณ จุดที่ไม่ประมาท และเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับพยากรณ์ล่วงหน้าตลอดเวลาครับ

ความสำเร็จที่น่าเรียนรู้...จากกรณีของคุณสุกิจก็นับได้ว่าเป็นบุคคลที่น่าศึกษาเรียนรู้อีกท่านหนึ่ง โดยเฉพาะในกระบวนคิดในการทำฟาร์มนั้น คุณสุกิจเป็นคนที่มีความรอบคอบ ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองจะทำ เรียนรู้ให้จริงพร้อมกับฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้พี่น้องเกษตรกรเราส่วนใหญ่มักจะขาดในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งพี่น้องที่ทำเกษตรกรรมแบบประณีตก็เช่นกัน ซึ่งผมคิดว่าในการที่เราจะทำเกษตรประณีตนั้นหากเราได้นำกระบวนการคิดของคุณสุกิจมาร่วมในการวางแผนก็คงจะเป็นสิ่งที่ดี น่าจะส่งผลสำเร็จได้ในเร็ววัน...ใช่ไหมครับ...

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

3 ก.ค. 2550

หมายเลขบันทึก: 108426เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับผมสนใจที่จะทำูธุรกิจการเลี้ยงหมูมาก ได้เห็นการเลี้ยงหมูชุมชนก็คิดว่า เป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับคนในชนบทบ้านเรา ที่ขาดงานและรายได้ สู้ต่อไปครับ

อ้ายสำบายดีบอ

เป็นยังไงบ้างเรียนไปถึงไหนแล้ว

คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ เราก้ สนใจ จะทำ ฟาร์ม หมู แต่ ไม่รู้ว่า ต้องใช้เงิน ลง ทุน มาก เท่าไหร่

ยังไง ใครที่พอทราบ รบกวน ตอบ กระ ทู้เรา ด้วยนะ

Thank a lot

บริษัท ธ รวงข้าวกุ้งหลวงไคโตซาน จำกัด

รับสมัครเกษตรกรตัวแทนจำหน่ายไคโตซานสัตว์

บริษัท ธ รวงข้าวกุ้งหลวง ไคโตซาน จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไคโตซานภายใต้เครื่องหมายการค้า "กุ้งหลวงไคโตซาน" ใช้สำหรับพืชและสัตว์

มีความประสงค์รับสมัครผู้ร่วมงานในตำแหน่งดังต่อไปนี้

1.เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ประเภท ฟาร์มเลี้ยงหมู ฟาร์มเลี้ยงวัว-ควาย ฟาร์มไก่ไข่-ไก่เนื้อ ฟาร์มเลี้ยงปลา ฟาร์มเลี้ยงนกกระทา

โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมจะได้รับสินค้าในราคาสมาชิกและเงินปันผลจากค่าการตลาดทั่วประเทศในทุกๆเดือน พร้อมทั้งมีนักวิชาการเกษตรของบริษัทฯติดตามให้คำแนะนำกับเกษตรกรโดยใกล้ชิด

สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณศักดา(ผู้จัดการฝ่ายการตลาด) เบอร์โทรศัพท์ 088-7077632

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท