เก็บเห็ดจากป่า


เห็ดอาหารธรรมชาติของชาวบ้าน เห็ดป่า

เห็ดเข้าไค

            ซูเปอร์มาร์เก็ตชาวบ้าน ป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารและสรรพสิ่งเพื่อการดำรงชีวิต ที่ไหนมีป่าชีวิตก็อยู่ได้ ในช่วงต้นฤดูฝนแบบนี้ชาวบ้านจะออกหาเห็ดในป่าเพื่อใช้เป็นอาหารหากได้มากก็นำมาขายเป็นรายได้เพื่อสิ่งจำเป็นอย่างอื่น ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีผืนป่าเดิมอยู่จำนวนหนึ่ง จะเห็นชาวบ้านจากหลายๆ หมู่บ้านเข้ามาหาเก็บเห็ดเกือบทุกวัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 ได้พบกลุ่มชาวบ้านจากบ้านหนองเทา ต.ตะดอบ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 10 กม.เศษ เข้ามาเก็บเห็ด จึงขอศึกษาว่าเห็ดที่เก็บได้นั้นเป็นเห็ดชนิดใดบ้าง จากที่แยกชนิดแล้วพบว่าที่เก็บมานั้นมีอยู่ประมาณ 8 ชนิด คือ(ชื่อที่กล่าวนี้เป็นชื่อท้องถิ่น) เห็ดระโงก เห็ดเข้าไค เห็ดผึ้งเหลือง เห็ดผึ้งขาลาย เห็ดผึ้งหม้อ เห็ดถ่าน เห็ดหลังแหล่ และเห็ดซี้น(เนื้อ) ทั้งหมดเป็นเห็ดที่กินได้ ส่วนเห็ดที่กินไม่ได้นั้นชาวบ้านไม่ได้เก็บมา            นับว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษนอกจากเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตทางวิชาการแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นไปด้วย เป็นที่พึ่งของคนจนได้อย่างดี หากยังช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น คงเป็นที่พึ่งของชีวิตต่างๆ ได้มากมาย ในทางอ้อมก็ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วย <p>เห็ดผึ้งเหลือง</p>

หมายเลขบันทึก: 108235เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

แต่เห็ดนี่ ต้องดุดีๆ ใช่ไหมคะ บางทีมีพิษมากเลยค่ะ ชาวบ้านเขาดูเป็นไหมคะ

และถ้าเจอเห็ดมีพิษ จะทำอย่างไรคะ มียาแก้แบบสมุนไพรไหมคะ

เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ชาวบ้านเขาใช้ประสบการณ์ในการดูว่าเห็ดไหนไม่มีพิษ และเขาจะมาเก็บตำแหน่งที่เคยเก็บ และเป็นชนิดที่เคยกินเท่านั้น เท่าที่เห็นเขาเก็บไปกินก็ยังไม่มีเป็นพิษแต่อย่างใดนะครับ ในป่าที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเขาก็เก็บทุกปี เห็ดพิษมีน้อยกว่าเห็ดกินได้ ดูภายนอกก็พอรู้อยู่เหมือนกัน ภูมิปัญญาชาวบ้านเขาสืบต่อกันมา คงต้องศึกษาต่อไปเรื่อยๆ
  • เคยอยู่โคราช มีเห็ดชนิดนึงเรียกเห็ดกระด้างค่ะ อร่อยมากๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท