ศาสตร์และศิลป์ในงานส่งเสริมการเกษตร (ตอนที่ 6)


ขั้นตอนที่2 ศึกษาปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกร

              สวัสดีครับ    ผมจะขอเล่าต่อจากตอนที่5นะครับ   ซึ่งเนื้อหายังอยู่ในวิธีดำเนินการวิจัยในขั้นตอนที่2  ศึกษาปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย    ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี   จังหวัดกำแพงเพชร    ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยตำบลยางสูง   มีการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการดังนี้

              

               การสัมภาษณ์

                      (1)ผู้วิจัยได้ประสานนักส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลยางสูง ได้แจ้งนัดหมายเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย เป็นรายบุคคลในหมู่บ้านเป้าหมาย  โดยนัดวัน เวลา สถานที่นัดพบเพื่อทำการสัมภาษณ์เก็บข้อมูล

                       (2)ผู้วิจัยได้เข้าไปในพื้นที่เป้าหมายตามที่ได้แจ้งนัดหมายตามข้อ(1)โดยนำแบบสัมภาษณ์ใช้สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยเป็นรายบุคคล โดยมีประเด็น ปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้ม 9 ด้านคือปัญหาของการเตรียมพื้นที่  ปัญหาของการปลูกส้ม  ปัญหาของการให้น้ำ  ปัญหาของการใส่ปุ๋ย  ปัญหาของการตัดแต่งกิ่ง  ปัญหาของการกำจัดวัชพืช

ปัญหาของการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และปัญหาของการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                         (3)มีการจดบันทึกข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลที่กำหนดในข้อ(2)ที่เข้าร่วมกระบวนการวิจัยและมีการบันทึกข้อมูลสนาม(Field note ) ไว้ทุกครั้งควบคู่กันไปกับแบบสัมภาษณ์และมีการสรุป ปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มแต่ละด้าน เป็นข้อมูลระดับตำบล

             การสนทนากลุ่ม
            (1)    ผู้วิจัยได้ประสานนักส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลยางสูง ได้แจ้งการนัดหมายเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยทั้งกลุ่ม  โดยนัด วัน  เวลา  สถานที่ นัดพบเพื่อจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มโดยระบุประเด็นปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มทั้ง 9  ด้าน
            (2)    มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็นสองกลุ่มย่อย จะมีการกำหนดประเด็นปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มดังนี้คือ กลุ่มที่1 กำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาข้อสรุปของปัญหาได้แก่การเตรียมพันธุ์ส้ม การเตรียมพื้นที่ปลูก  การปลูก  การใส่ปุ๋ยและการให้น้ำ  
 กลุ่มที่2 กำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาข้อสรุปของปัญหาได้แก่การป้องกันกำจัดศัตรูส้ม  การตัดแต่งกิ่ง  การกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิต
           
(3)   
ตัวแทนแต่ละกลุ่มย่อยทั้ง2 กลุ่ม ได้นำเสนอข้อสรุปปัญหาของเทคโนโลยีต่อกลุ่มใหญ่เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มได้เพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์
           
(4)   
 ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อสรุปทั้ง2 กลุ่มเพื่อใช้เป็นข้อสรุปปัญหาแต่ละเทคโนโลยี  ทั้ง 9 ด้าน
           
การวิเคราะห์ข้อมูล
            ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ โดยจะต้องวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลได้อยู่ตลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติงานภาคสนาม เมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลแล้วได้นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม    โดยมีการประมวลสรุปข้อมูลปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มประกอบด้วย  การเตรียมพันธุ์  การเตรียมพื้นที่ปลูก  การปลูก  การใส่ปุ๋ย  การให้น้ำ  การกำจัดวัชพืช   การกำจัดศัตรูส้ม และการเก็บเกี่ยวผลผลิตส้ม(โปรดติดตามตอนที่7)
 

      สนทนากลุ่มสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกส้ม

หมายเลขบันทึก: 107948เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เขียนกี่ตอนค่ะ จะได้ติดตามอ่านได้

เรียนอ.ศิริวรรณครับ ต้องขอบคุณมากครับที่มาแวะเยี่ยม คอยติดตามนะครับ  ตั้งใจมีหลายตอนครับเพราะจะมีการทำPARวงที่2หรือรอบที่2 ครับเร็วฯฯนี้

เรียนอ.ธุวนันท์ครับ ดีใจครับที่อ.เข้ามาแวะเยี่ยม ต้องขอขอบคุณมากครับ

น่าสนใจครับ 
อยากถามนิดหนึ่งว่าคุณเขียวมรกต เห็นกระบวนการแบบนี้มีข้อดีข้อเสียเทียบกับงานวิจัยเกษตรแบบเก่าๆยังไงบ้างครับ  
(ในความรู้สึกผม อาจจะเป็นเพราะว่าเว็บนี้โหลดช้าด้วย ผมว่าแต่ละตอนสั้นไปนิดนึงอ่ะครับ จริงอยากเห็นเป็นตอนๆยาวกว่านี้หน่อยน่ะครับ  แต่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าอย่างนี้อ่านง่ายกว่าก็ได้) 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท