วิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Methodology)


วิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Methodology)

        วิธีวิจัยวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology)  ไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ 

เป็นการวิจัยในแนวทางแบบผสมผสานวิธี ซึ่งเป็นการผสานวิธีคิดและระเบียบวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้การสังเกตกิจกรรม  การร่วมกิจกรรมในพื้นที่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะ ๆ  จากนักวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้อง  ผู้บริหารโครงการและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผุ้กำหนดนโยบาย  ผู้รับผิดชอบ และภาคีที่ดำเนินงานโครงการนี้ในพื้นที่ปฏิบัติการด้วย(เนาวรัตน์  พลายน้อย.  2549 : 3)

          วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เป็นการออกแบบแผนการวิจัย ที่จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายประการดังนี้ (วิโรจน์  สารรัตนะ.  2545 : 13)

               1.  เพื่อเป็นการตรวจสอบสามเส้า ให้เพิ่มความเชื่อมั่นในผลของการวิจัย

               2.  เพื่อเป็นการเสริมให้สมบูรณ์หรือเติมให้เต็ม  เช่น ตรวจสอบประเด็นที่ซ้ำซ้อนหรือประเด็นที่แตกต่างของปรากฏการณ์ที่ศึกษา เป็นต้น

               3.  เพื่อเป็นการริเริ่ม  เช่น ค้นหาประเด็นที่ผิดปกติ  ประเด็นที่ผิดธรรมดา  ประเด็นที่ขัดแย้งหรือทัศนะใหม่ ๆ  เป็นต้น

               4.   เพื่อเป็นการพัฒนา  เช่น  นำเอาผลจากการศึกษาในขั้นตอนหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับในอีกขั้นตอนหนึ่ง  เป็นต้น

              5.  เพื่อเป็นการขยาย  ให้งานวิจัยมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากขึ้น

    วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology)  จำแนกเป็นสองลักษณะ  คือ     การประยุดต์ลักษณะเดี่ยว( single  application)  และการประยุกต์ลักษณะพหุ(mulitiple application)  โดยการผสมนั้นเกิดขึ้นภายในขั้นตอนของการวิจัย ซึ่งกระบวนทัศน์การวิจัยที่ใช้อาจเป็นเชิงปริมาณ แต่การรวบรวมข้อมูลอาจเป็นเชิงคุณภาพ หรือในทางกลับกันหรือข้อมูลที่รวบรวมมาอาจเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ  แต่อาจวิเคราะห์ให้เป็นเชิงปริมาณ ด้วยการปรับข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นเชิงปริมาณ หรือข้อมูลเชิงปริมาณ แต่วิเคราะห์ให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการปรับข้อมูลเชิงปริมาณให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

ข้อมูลอ้างอิง 

   1.  เนาวัรตน์  พลายน้อยและศุภวัลย์  พลายน้อย.   การติดตามประเมินผลและการสังเคราะห์ความรู้ : บทเรียนการพัฒนานักจัดการความรู้ท้องถิ่นในโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข(สรส.)  ภาคกลาง.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล,  2549.

    2.  วิโรจน์  สารรัตนะ.  วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหารการศึกษา.   ขอนแก่น :  อักษราพิพัฒน์,  2545.

ทองสง่า ผ่องแผ้ว

1/07/2550

หมายเลขบันทึก: 107800เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะคุณ..ทองสง่า

ครูอ้อยอ่านแล้ว เข้าใจดีขึ้นค่ะ  ดุษฎีนิพนธ์ของครูอ้อยก็คงจะเป็นลักษณะแบบผสม นี่ล่ะค่ะ

ขอบคุณข้อมูลของคุณทองสง่ามากครับ ผมได้ประโยชน์มากขอไปใช้เลยนะครับ

ขอบคุณนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท