การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่ล้มเหลวอย่างที่คิด


อะไรคือสาระ...ที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปการเรียนรู้

...ไม่ล้มเหลวอย่างที่คิด....               

       

            จากการได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ผ่าทางตันปฏิรูปการศึกษา  ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมและ           สรุปประเด็นสำคัญ  การอภิปรายในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาคืออะไร  อะไรคือสาระสำคัญที่สุดที่จัดขึ้น  โดยมูลนิธิภูมิปัญญา  สถาบันวิถีทรรศน์และหนังสือพิมพ์มติชน  เมื่อวันศุกร์ที่  15  มิถุนายน  2544  โดยมีนักการศึกษาร่วมอภิปรายให้ความเห็นหลายคน  เช่น  ศ.นพ.ประเวศ  วะสี  ศ.ดร.เอกวิทย์  ณ ถลาง             ศ.ดร.ชัยอนันต์  สมุทวณิช  เป็นต้น  ผู้เขียนได้อ่านแล้วเกิดความคิดผุดขึ้นมาถามตัวเองว่า  ปฏิรูป                การเรียนรู้แล้วไม่มีอะไรดีขึ้นเลยหรือ  ซึ่งผู้เขียนได้นำข้อความบางตอนในหนังสือมาเสนอ ณ ที่นี้ด้วย               

                การปฏิรูปการศึกษาคืออะไร  ถ้าเราได้อ่านหนังสือพิมพ์ทุก ๆ วันก็จะเห็นข่าวโจมตีคนในกระทรวงศึกษาธิการว่าเป็นไดโนเสาร์บ้าง  เป็นพวกคัดค้านการปฏิรูปบ้าง  ต่าง ๆ นานา  (ศ.นพ.ประเวศ  วะสี)               

               อะไรคือสาระ  ที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษา               

               สิ่งที่ต้องเน้นคือเรื่องของการพัฒนากระบวนการ การเรียนรู้ที่พึงประสงค์  ที่มีความหลากหลาย  โดยคำนึงถึงชีวิตที่แท้จริงเชื่อมโยงโรงเรียนเป็นชีวิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วมองไปสู่อนาคต       ในฐานะคนไทย  ประเทศไทย  เป็นส่วนหนึ่งในประชาคมโลก (ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง)                 

               “ผมไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเพราะรู้ว่าเป็นแบบไทย ๆ ซึ่งจะมีการถกเถียงกัน  เป็นที่รู้กันว่าใครทำอะไร (ศ.ดร.ชัยอนันต์  สมุทวาณิช)               

               การปฏิรูปการศึกษาที่เสนอกันมานั้นจะช่วยอะไร  และใครได้อะไรบ้าง  เมื่อวันที่  5  ตุลาคม  2544  มีการประชุมสมัชชาสหภาพครูแห่งชาติ  ครั้งที่ 2  ที่สุพรรบุรี  วันที่  13  ตุลาคม  2544  ครูร่วมหมื่นชุมนุมกันที่ธรรมศาสตร์รังสิต  เรื่องที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ  การปฏิรูปการศึกษาจะไปทางไหน  และ ครูจะกระทบกระเทือนอย่างไร  ดู ๆ แล้วเหมือนกับครูนั่นเองที่กลัวการปฏิรูปการศึกษา  เพราะติดยึดอยู่กับระบบเดิมคือ  กระทรวงและส่วนกลาง  ความมั่นคงของรายได้และยศถาบรรดาศักดิ์  หากรัฐบาลทำให้ครูมั่นใจว่า  หากครูช่วยปฏิรูปการศึกษาทำให้นักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  และประเทศชาติดีขึ้น  ครูก็จะไม่สูญเสียอะไรที่เป็นห่วงเลยกลับจะได้มากขึ้น  (ดร.ประโมทย์  นาครทรรพ)                

               ข้อความดังกล่าวข้างบนเป็นข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะที่นักการศึกษาเข้าร่วมประชุมเสนอในประเด็นของการประชุม  ในประเด็นการปฏิรูปการศึกษาคืออะไร  และอะไรคือสาระสำคัญที่สุด                     มีหลากหลายความคิดและข้อเสนอแนะ  กลับมาดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมาตรา 81  ของรัฐธรรมนูญ  ในที่นี้จะยกมาตราสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ         การจัดการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นกฎหมายออกมาให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกคนต้องนำไปปฏิบัติได้แก่  มาตราที่ 22  กำหนดให้ผู้เรียนสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา (Child / Student  Center)  มาตรา 23  กำหนดหลักสูตรที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ  ได้ใช้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษาอีกต่อไป  มาตรา 24  กำหนดให้ครูต้องเป็นครูมืออาชีพ  ที่สามารถจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนา      เต็มตามศักยภาพ  ได้เรียนอย่างมีความสุขและเป็นคนที่พึงประสงค์  เมื่อมีกฎหมายออกมาแล้วถามว่า       เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไหม  ยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นคือ  ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรม         การสอนของตนเองจากสอนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียวก็เปลี่ยนไป  พานักเรียนไปเรียนนอกห้องเรียน      มากขึ้น  มีนโยบายด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนออกมาหลายเรื่อง  เช่น  ครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน  เปลี่ยนการสอนให้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการทำผลงานครูชำนาญการ    

                                      

                 แม้ว่าครูบางคนทำเพื่อให้ได้เป้าหมายความต้องการส่วนตัว  แต่การลงมือกระทำที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  เด็กได้รับผลกระทบที่ดี  ครูเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวนักเรียน  ครูเริ่มรู้สึกแล้วว่า  การจัดการสอนที่เปลี่ยนไปจากเดิม ๆ เริ่มมีชีวิต  ชีวา  มีความภูมิใจหลายคน  เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง  เปลี่ยนด้วยใจที่อยากเปลี่ยนเพราะเริ่มมองเห็นว่านักเรียนดีขึ้น  สดใส  มีความสุข  และครูเองก็มีความสุขในการสอนมากขึ้น                จากการได้ไปเป็นวิทยากรอบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้กับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก  จำนวน  64 คน  ใน 64 คนนี้  อายุเฉลี่ยของผู้เข้าอบรม 45 ปีขึ้นไปประมาณ 80%  วิทยากรเห็นตัวเลขอายุและลักษณะบุคลิกท่าทางผู้เข้าอบรมก็ค่อนข้างหนักใจ  2 วันของการอบรมจะเป็นอย่างไร  ทีมวิทยากรปรับเปลี่ยนแผนการอบรมตลอด  สังเกตพฤติกรรมผู้เข้าอบรมจัดกิจกรรมให้เหมาะกับช่วงเวลา  บรรยากาศ  ใช้หลักการทำงานของสมองซีกซ้าย-ขวา  สลับกันไปมา  ใช้หลักการทฤษฎีพหุปัญญาเข้ามาเสริมความรู้ความสามารถ  ท้ายสุดของกิจกรรมวิทยากรจัดกิจกรรม AAR (After  Action  Review)  ผู้เข้าอบรมบอกว่า

                 สนุก  ไม่เบื่อ  ได้ความรู้  จะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน  ครั้งแรกรู้ตัวจะได้เข้าอบรมเรื่องนี้ก็คิดว่าเครียด  ไม่อยากมา  และทางโรงเรียน         ส่งรายชื่อให้เข้าอบรมจึงต้องมา  แต่มาแล้วได้ประสบการณ์หลายอย่างจะนำไปใช้กับเด็ก 

โครงการนี้ก็เป็นนโยบายจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  ที่ให้งบประมาณกับเขตพื้นที่ดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู               

               จะเห็นได้ว่า  เมื่อมีการปฏิรูปการเรียนรู้เกิดขึ้นก็มีหลายสิ่งหลายประการตามมา  ทั้งนี้เป็นนโยบาย  ทั้งระดับประเทศ  ระดับจังหวัด  และระดับโรงเรียน  เกิดขึ้นมากมาย  จะทำใด้สำเร็จหรือไม่นั้นคงต้องใช้เวลานานมาก  เพราะปัญหาการศึกษาของเรา  หลายคนคงทราบดีถึงปัญหาที่บ่มเพาะมานาน   แต่เมื่อเกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ขึ้น  หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายได้มีการขับเคลื่อนพยายามที่จะปรับปรุงพัฒนาหาจุดอ่อนจุดแข็ง  แนวทางแก้ไข  อย่างเช่น  รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2543/2544 : ปฏิรูปการศึกษาอย่างไร  เพื่อใคร  เพื่ออะไร?  เป็นการรายงานผลการพัฒนาการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมอบให้  นายวิทยากร  เชียงกูล  เป็นผู้ศึกษาวิจัย  เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด                การเกิดขึ้นของการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดี  เป็นการรวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักเห็นคุณค่าของการศึกษาหันหน้าเข้ามาช่วยกัน  ตบแต่งเสริมเพิ่มเติมถึงถือคติว่า  ติเพื่อก่อให้ดี  ไม่นาน  ต้นไม้ต้นนี้ที่พร้อมจะออกดอกออกผลให้ชื่นชมเกิดประโยชน์มหาศาล  และการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริง              

กล้วยไม้มีดอกช้า                                 ฉันใด               

การศึกษาเป็นไป                                  เช่นนั้น               

แต่ดอกออกคราวใด                            งามเด่น               

การศึกษาปลูกปั้น                                เสร็จแล้ว แสนงาม  (มล.ปิ่น  มาลากุล) 

เอกสารอ้างอิง      ธีรศักดิ์  อัครเดช.  กิจกรรมการศึกษา  เพื่อท้องถิ่น  เพื่อทรัพยากรมนุษย์และสังคมแห่งการเรียนรู้.  2545.วิทยา  เชียงกุล.  ปฏิรูปการศึกษาอย่างไร  เพื่อใคร  เพื่ออะไร?.  2545.วิดีทรรศน์  มูลนิธีวิดีทรรศน์, สถาบัน.  ผ่าทางตัน  ปฏิรูปการศึกษา.  2545.

คำสำคัญ (Tags): #waitforyou
หมายเลขบันทึก: 107188เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

     มาตามอ่านตอนดึก ๆ ครับ มีประเด็นจะ ลปรร.ด้วย แต่ตอนนี้ง่วงแล้วครับ เดี่ยวค่อยมาใหม่นะครับ

      ด้วยความเคารพและระลึกถึงอาจารย์ครับ

ระลึกถึงและภูมิใจในปรัชญาการทำงานของคุณชายขอบ มาตลอดค่ะ บางครั้งคงต้องปรึกษาเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาบ้างนะคะ น้อมรับข้อเสนอแนะด้วยความยินดีค่ะ (ตอนนี้เรียนหนักมากค่ะ)
     งั้นแสดงว่าเข้าใจถูกครับ ด้วยเพราะทราบว่าอาจารย์ตัดสินใจไปเรียนต่อ ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ
     ระบบการศึกษานี้ และชาติของเรา ต้องการ ดร.อย่างอาจารย์ครับ ผมว่านะครับ
    ขอบคุณค่ะ กำลังใจจากมิตร ...ที่ตัดสินใจไปเรียนต่อก็เพราะรู้สึกตัวว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกมากมาย และรู้สึกอึดอัดเมื่อสอนนักศึกษาทั้งป.ตรี ป.โท แต่ก็ชั่งน้ำหนัก ระหว่างความเครียดที่จะตามมา (แค่ต้องทำTOEFLให้ได้500ก็ป่วยสองรอบแล้วค่ะ )กับประโยชน์ที่ได้รับและการนำประโยชน์นั้นไปใช้ ต้องขอบคุณที่ส่งภาพพระพิฆเนศ มาให้ เป็นแรงเสริมทางใจเหมือนกันนะคะ   ช่วงตัดสินใจไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเรียนได้หรือไม่ได้ ..ตอนนี้.ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เป็นนักเรียน วันธรรมดาทำงาน ก็ได้นำความรู้ที่มาใช้ในการทำงานได้เลย ค่ะ  ...ท้ายสุดนี้..  คุณชายขอบก็ต้องเรียนต่อเหมือนกันนะคะ โชคดีค่ะ
  • ตามมาอ่าน
  • โอโห เยี่ยมมาก
  • เพิ่งเข้ามามหาวิทยาลัย
  • ไปบ้านพ่อครูบามาครับผม
  • ชอบอันนี้มาก
  • กล้วยไม้มีดอกช้า                                 ฉันใด               

    การศึกษาเป็นไป                                  เช่นนั้น               

    แต่ดอกออกคราวใด                            งามเด่น               

    การศึกษาปลูกปั้น                                เสร็จแล้ว แสนงาม  (มล.ปิ่น  มาลากุล) 

  • จำได้ตั่งแต่เด็ก
  • เลยมาเป็นครู
  • ฮ่าๆๆๆๆ

แวะมาทักทายค่ะ...เป็นกำลังใจให้นักศึกษาใหม่ด้วยนะคะ...ชอบข้อเขียนโดนใจมากค่ะ

  • การเป็นครูไม่ง่ายอย่างที่คิด
  • ไม่ใช่แค่สอนให้เพียงหมดเวลา
  • แต่สิ่งที่ต้องทำด้วยจิตและวิญญาณโดยมีจุดหมายเพื่อสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่ศิษย์
  • ตนเองจึงคิดว่าไม่สามารถจะเป็นครูได้
  • และขอยกย่องคุณครูทุกท่านค่ะ
         สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ขอบคุณที่มาเยี่ยม และกราบขอโทษที่ไม่ได้เข้าไปเยี่ยมเลย ยอมรับว่าเรียนหนักมากๆ กำลังฟิตภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมสอบด้วยค่ะ ตอนนี้อ.คงเตรียมตัวไปอเมริกานะรักษาสุขภาพนะจ๊ะ ขอบคุณม๊ากมากค่ะ
    สวัสดีค่ะครูตู่....หิ่งห้อยขอบคุณมาก และต้องขอโทษด้วยจ้ะตอบช้าไป แย่หน่อยนักศึกษาแก่ๆ กำลังปรับตัวค่ะ จะพยายามหาเวลาเล่าสิ่งดีๆที่ได้จากการเรียน  ไม่สัญญาแต่จะพยายามค่ะ  ขอบคุณค่ะ
       ป้าเม้าจ๋า ...หิ่งห้อยขอบคุณค่ะ และขอเป็นกำลังใจให้ป้าเม้าสู้ต่อไปในงานค่ะ..จะให้ช่วยอะไรได้บ้างขอให้บอกนะคะอย่าได้เกรงใจ...

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท