ทฤฏีการเรียนรู้แบบ Behaviorism , Cognitivism, Constructivism


ทฤฏีการเรียนรู้

acade

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีผลต่อ
แนวทางการออกแบบการเรียนการสอน
และการประเมินผล
(Behaviorism , Cognitivism, Constructivism)

                                                                                      ไตรรงค์  เจนการ                                                             สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา : 081-7058686

£  ทำไมต้องศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้

                        ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่าง ๆ เพื่อ อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้    อย่างไร ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ  เปิดโอกาสให้ท่านกำหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกำหนดคำทำนายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ด้วยตัวท่านเอง   สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้เราเลือกใช้เครื่องมือในการเรียนการสอน  เทคนิค และวิธีการต่างๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์ พวกเราควรจะอภิปรายทฤษฎีการเรียนรู้ ทั้งสามทฤษฎีเหล่านี้ คือ พฤติกรรมนิยม, การประมวลผลสารสนเทศทางปัญญา,และการสร้างสรรค์ความรู้    ด้วยปัญญา (behaviorism , cognitive information Processing, and Constructivism)

1. พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 

 

  

 

                        มุมมองของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  มองผู้เรียนเหมือนกับ  กระดานชนวนที่ว่างเปล่า  และผู้สอนจะต้องจัดเตรียมประสบการณ์ให้กับผู้เรียน คำแนะนำหรือสิ่งเร้าจากสภาพสิ่งแวดล้อมจะถูกนำเสนอหรือแนะนำให้รู้จัก และผู้เรียนแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ด้วยการตอบสนองบางสิ่งบางอย่างออกมา  ความสำคัญขึ้นอยู่กับการเสริมแรง  ที่กำหนดจัดเตรียมไว้เพื่อกำกับพฤติกรรมที่ต้องการรูปแบบพฤติกรรมใหม่ ๆ จะถูกกระทำ  ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งกลายเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ           พฤติกรรมของผู้เรียนที่ยอมรับได้ คือ การเรียนรู้แสดงออกให้เห็นได้ในเชิงประจักษ์       

  1.1    กฎเกณฑ์ของผู้สอนเกี่ยวกับพฤติกรรมนิยม   การตอบสนองของการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน สิ่งเหล่านี้คือ สภาพแวดล้อมที่ผู้สอนจัดขึ้น  ผู้สอนเป็นคนกำหนดจัดทำและควบคุมสภาพแวดล้อมต่อผู้เรียน  การเรียนรู้จึงเป็นการคิดขึ้นมา โดยผู้สอนที่เน้นไปที่พฤติกรรมการเสริมแรง  เมื่อใช้เทคนิควิธีการในสภาพเช่นนี้ จุดประสงค์การเรียนรู้จึงเป็นพฤติกรรมของผู้เรียน  ที่ได้มีการจัดเตรียมไว้,การให้รางวัล, และการให้ความสำคัญในวิธีเช่นนี้ ก็คือ  การเสริมแรงพฤติกรรม  นั่งเอง วิธีการเรียนการสอนที่ใช้กับกลุ่มพฤติกรมนิยม  คือ 

 —  การสอนตรง ๆ  หรือการแสดงให้ดู 

 —  การให้ทำแบบฝึกหัดและปฏิบัติ หรือการทำซ้ำ ๆ

—        การสอนเกมต่างๆ  

 1.2    เมื่อไรจะใช้แนวกลุ่มพฤติกรรมนิยม           ภายใต้เงื่อนไขของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเรียนรู้  เมื่อ  :

1)      ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์หรือมีแต่น้อยมาก หรือไม่มีองค์ความรู้แรก ๆ ของเนื้อหาวิชา  นั้นๆ

2)      การระลึกถึงจดจำข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรือการตอบสนองอย่างอัตโนมัติที่ต้องการให้เกิด 3)    ภาระงานที่ต้องการเสร็จสมบูรณ์เพียงเล็กน้อย (ภาระงานเล็กๆ)  ซึ่งไม่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานการปฏิบัติการ  (Performance  standard)

4)      ผู้เรียนจะได้ความรอบรู้มา  โดยการเสริมแรงอย่างต่อเนื่องในพฤติกรรมที่ต้องการ  5)      ต้องการความถูกต้องและความรวดเร็วซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก 

  6)      การเรียนการสอนต้องการให้เกิดผลสำเร็จภายในช่วงระยะเวลาอันสั้น

 

      1.3    ทักษะต่างๆ ที่ควรได้รับการเรียนรู้ตามแนวพฤติกรรมนิยม  

1)      ชนิดของข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน หรือข้อมูลที่จะนำเข้า

  2)      การทดสอบ   การทดลองพื้นฐาน หรือวิธีการเบื้องต้น 

 3)      การเปลี่ยนน้ำมันในเครื่องยนต์  (ทักษะพื้นฐานง่ายๆ)

4)      การสะกดคำหรือการเรียนรู้ตารางสูตรคูณ  (ทักษะพื้นฐาน)

5)      การพูดด้วยเจตนาที่จะช่วยเหลือ จากถ้อยคำที่จัดเรียงลำดับอย่างเป็นระเบียบ (ทักษะพื้นฐาน)

 1.4  จุดด้อยของพฤติกรรมนิยม   การเรียนการสอนตามแนวพฤติกรรมนิยม  มิได้เตรียมการเพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ ในการแก้ปัญหา หรือการคิดสร้างสรรค์  ผู้เรียนทำในสิ่งที่พวกเขาได้รับฟังและจะไม่ทำการคิดริเริ่มหาหนทางด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น ผู้เรียนเป็นผู้ถูกเตรียมการสำหรับให้ระลึกได้ ในข้อเท็จจริงพื้นฐานต่างๆ  เท่านั้น ให้มีการตอบสนองอย่างอัตโนมัติ หรือทำชิ้นงานภาระงานต่างๆ  ซึ่งได้มีการกำหนดวิธีการ,ขั้นตอนมาอย่างดีไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วเท่านั้น 

2.  กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารเทศทางปัญญา หรือปัญญานิยม  (Cognitive  Information Processing (CIP)  or Cognitivism)

                               กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา (CIP) อยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อนแสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง  พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต  สิ่งเหล่านั้นมันก็เป็นเพียงแต่
การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียนเท่านั้น ในจิตใจของผู้เรียนก็เหมือนกับกระจกองค์ความรู้ใหม่
  และทักษะใหม่ๆ ที่จะทำการสะท้อนส่งออกมา กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา (CIP) จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนกระทำการมองหาหนทางที่จะทำความเข้าใจและประมวลผลข้อมูล     สารสนเทศ ซึ่งเขาหรือเธอได้รับรู้และเกี่ยวข้องกับมัน   สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาหรือเธอพร้อมที่อยากจะรู้และมีสิ่งเหล่านี้บ้าง  สิ่งเหล่านี้ถูกเก็บไว้ภายในหน่วยความจำของเขาหรือเธออยู่บ้างแล้ว ผู้เรียนถูกมองในสภาพที่เหมือนกับการได้วางกฎเกณฑ์การลงมือปฏิบัติไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว
ในการเรียนรู้ของเขาและเธอด้วยตนเองในแนวคิดทฤษฎีนี้  

   2.1  กฎเกณฑ์ของผู้จัดการเรียนการสอนที่ยึดแนว  CIP  ครูผู้สอนต้องเตรียมหนทางที่จะช่วยเหลือกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ  ความสำคัญ ก็คือ การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศให้ชัดเจนและเป็นข้อมูลสารสนเทศชนิดที่มีเหตุมีผล ผู้เรียนต้องจัดการกับข้อมูลสารสนเทศโดยการจำแนกแยกแยะไตร่ตรองและประมวลผลข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้   ดังนั้น  การทำให้เป็นผลงานชิ้นใหญ่ ๆ และมีลำดับขั้นตอนอย่างเป็นเหตุ
เป็นผลจึง
เป็นสิ่งที่สำคัญ  วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กับแนวคิดกระบวนการประมวลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา (CIP)  มีดังนี้

 1)      การจัดให้โต้เถียงอภิปรายและการให้เหตุผล 

2)      การให้แก้ปัญหาและจัดทำโครงงานที่ยุ่งยากลำบาก

3)      การเปรียบเทียบ (อุปมา) หรือ ถ้อยคำ สำนวนอุปมา อุปมัย 

4)    การจำแยกแยะหรือการให้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันของข้อมูลสารสนเทศภายใต้
การให้เหตุผลของกลุ่มผู้เรียน 

 5)      การให้เขียนสำนวนหรือคำประพันธ์สั้น ๆ (การย่อหรือข้อความที่ช่วยให้ผู้เรียนจำได้) 

2.2  เมื่อไรควรใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา (CIP) ภายใต้เงื่อนไขที่ CIP  มีส่วนสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ คือ: 

1.      ผู้เรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาสาระหรือมีความสัมพันธ์ในขอบเขตขององค์ความรู้นั้นอยู่แล้ว 

2.    แหล่งการเรียนรู้ (resources) มีจำนวนมากมายที่จะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้ใหม่ไปยังเนื้อหาสาระก่อให้เกิดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนได้ 

3.    ผู้เรียนมีความจำเป็น  หรือมีความต้องการแสวงหาแนวทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาความเข้าใจมากขึ้นในองค์ความรู้และในข้อมูลสารสนเทศนั้นๆ

4.      เวลาแห่งการเรียนการสอนเพื่อเกิดการเรียนรู้เกิดความเข้าใจมิได้จำกัดเวลาอย่างเข้มงวด    

 2.3      ทักษะต่าง ๆ ที่ควรได้รับการเรียนรู้จากกระบวนการประมวลผลทางปัญญา (CIP) 

1)      ความสามารถพื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่มีความยุ่งยาก หรือปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวด้วยเครื่องจักร

2)      การจัดจำแนกแยกแยะความเสียหาย   อันตรายที่จะเกิดขึ้นที่มีจำนวนมากมาย 

3)      อธิบายและจำแนกวัตถุต่างๆ  ที่มีความเสี่ยงภัย อันตรายและการเก็บรักษาอย่างถูกต้องและการเคลื่อนย้าย  4)      การกะประมาณเวลาของการออกคำสั่งการเดินเรือ 

2.4  จุดด้อยของกระบวนการประมวลผลทางปัญหา   ผู้เรียนต้องมีองค์ความรู้พื้นฐานของเนื้อหานั้น ๆ อยู่บ้าง   ผู้เรียนมีความจำเป็นต้อง

เชื่อมโยงสิ่งที่พวกเรารู้อย่างพร้อมมูลเป็นภาพองค์รวมทั้งหมด  การเรียนรู้บางครั้งก็บิดเบี้ยวไม่ตรงกับความจริงจากสิ่งที่ผู้เรียนรู้ทุกอย่างได้อย่างพร้อมมูล

 3.  การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)

สร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญานิยม (Constructivism) อยู่บนฐานของการอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้นแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของเราด้วยตัวของเราเอง และอยู่บนฐานประสบการณ์         ของแต่ละบุคคล และโครงสร้างองค์ความรู้ภายในแต่ละบุคคลอีกด้วย การเรียนรู้ในลักษณะนี้อยู่บนฐานของการแปลความหมายและการให้ความหมายประสบการณ์ต่างๆ  ของผู้เรียนเขา/ เธอในแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร การที่ผู้เรียนลงมือกระทำการอย่างว่องไว  ในกระบวนการสร้างสรรค์ความหมายจากประสบการณ์ต่าง ๆ ของเขาหรือเธอ  องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน  และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน  การเรียนรู้จะเกิดปรากฏขึ้นในห่วงแห่งความคิดเมื่อได้มีการกระทำการภายในบุคคลนั้น ๆ  ทฤษฎีในแนวนี้ถูกใช้เพื่อเน้นการเตรียมการผู้เรียนในการตัดสินใจ แบบจำลองทางจิตใจของเขา  ในการจัดรวบรวมประสบการณ์ใหม่ต่างๆ และการแก้ปัญหา      สถานการณ์ปัญหาต่างๆ ที่กำกวมน่าสงสัย     

 3.1  กฎเกณฑ์ของผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิด Constructivism  

ผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ  และเป็นปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน  ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความต้องการและมีประสบการณ์   ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง และต้องการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้น ผู้จัดการเรียนการสอนควรจัดเตรียมหากลุ่มหรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ  ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิกริยาต่อกันและได้คิด  แก้ปัญหาต่างๆ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางและสั่งสอนหรือฝึก (coaching)  วิธีการจัดการเรียนการสอนเมื่อใช้แนวคิดของ Consturctivism จะเป็นการเรียน
การสอน ดังนี้    
:    

                    1)  กรณีศึกษา (case studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้ 

2)  การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานให้ปรากฎแก่สายตาหลายด้าน หลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทาง   คำแนะนำ

3)  การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน 

 4)  การเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative learning)        

 5)  การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery learning)  6)  การเรียนรู้โดยการกำหนดสถานการณ์  

 3.2 เมื่อใดควรใช้ Constructivism  ภายใต้เงื่อนไขที่ Constructivism มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ  1)      การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน2)    ผู้เรียนจะรวบรวมจัดองค์ความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว จากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ ๆ ต่าง ๆ ที่ได้มา3)      แหล่งการเรียนรู้  หรือทรัพยากรที่หลากหลายมีลักษณะที่แตกต่างกัน จำนวนมากเท่าที่สามารถจัดหามาได้ เพื่อช่วยเหลือต่อการสืบค้น  4)      มีเวลาเพียงพอ  พอจะสามารถทำผลงาน/ชิ้นงาน/การปฏิบัติการได้ สำหรับผู้เรียนในการสืบค้นและประมวลผลองค์ความรู้     3.3  ทักษะต่างๆ  อะไรที่ควรได้รับการเรียนรู้ด้วย Constructivisim   1)      การประดิษฐ์คิดค้นผลงาน ด้วยความรวดเร็วจากการใช้กระบวนการของ

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต
หมายเลขบันทึก: 106988เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท