ทฤฏีการเรียนรู้พุทธปัญญานิยม


จิตวิทยาการศึกษา

 1. ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism) 
                     
ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญ
เกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจ
ในกระบวนการนี้ โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่ผู้เรียนหรือให้โอกาสผู้เรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วย
ตนเองนอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้
ให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร
(สุรางค์ โค้วตระกูล,
2541. หน้า 210)


                   พื้นฐานสำคัญของทฤษฏีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
                   ทฤษฏีของ พีอาเจต์และวิก๊อทสกี้ เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฏีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ทั้งสองทฤษฏีเน้น
ความสำคัญของผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือ
กระทำ (Active) การเปลี่ยนแปลงทางพุทธิปัญญาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนอยู่ใน
สภาพไม่สมดุลทางด้านพุทธิปัญญา
(Disequilibration) เนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ผู้เรียนจะเกิดการปรับและ
ควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพื่อจะทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาสมดุล
(Equilibration) ขึ้น นอกจากนี้พีอาเจต์และวิก๊อทสกี้
ต่างก็เห็นว่าการเรียนรู้มีคุณลักษณะทางสังคม คือ เกิดขึ้นเพราะมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในเรื่องนี้มีการเสนอให้ใช้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative Learning) ในห้องเรียน
                   ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยมมีหลักในการสอนว่าจะต้องเริ่มด้วยปัญหาที่ซับซ้อนและหาวิธีที่จะค้นพบคำตอบ
หรือแก้ปัญหาโดยมีครูเป็นผู้แนะแนวหรือช่วยเหลือ ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า
    “Top – down processing” ซึ่งตรงข้าม
กับ
“Bottom – processing” ซึ่งเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปยาก


              2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์
                   บรูนเนอร์เป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญานิยมชาวอเมริกัน ผู้ที่ยอมรับหลักการของ พีอาเจต์ บรูนเนอร์ใช้หลัก
พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของมนุษย์มาสร้างทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ
(Discovery Approach) (สุรางค์
โค้วตระกูล, 2541
; อ้างอิงจาก Bruner, 1860 ; 1966 ; 1971)     บรูนเนอร์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมด้านข้อมูล วัตถุประสงค์ คำถาม
และตั้งความมุ่งหวังว่าผู้เรียนจะค้นพบคำตอบด้วยตนเอง

                   บรูนเนอร์เชื่อว่าการรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือกรับรู้ตามความสนใจที่มนุษย์มีต่อสิ่งที่จะเรียนรู้ การเรียนรู้จึงเกิด
จากการค้นพบ โดยมีความอยากรู้อยากเห็นเป็นแรกผลักดันให้เกิดพฤติกรรมสำรวจสภาพแวดล้อม และเกิดการเรียนรู้ขึ้น

                   วิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของผู้เรียน ขั้นพัฒนาการที่บรูนเนอร์
เสนอมี 3 ขั้น คือเอ็นแอคทีป
(Enactive) ไอคอนนิค (Iconic) และซิมโบลิค (Symbolic) ฉะนั้นวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็น


เครื่องมือในการค้นพบความรู้จึงแบ่งเป็น 3 วิธี
                        1) เอ็นแอคทีป (Enactive Mode) เป็นวิธีที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือ
หรืออวัยวะของร่างกาย

                        2) ไอคอนนิค (Iconic Mode) เป็นวิธีที่ผู้เรียนสร้างจินตนาการ หรือสร้างมโนภาพ(Imagery) ขึ้นในใจ
ได้โดยใช้รูปภาพแทนของจริงโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสของจริง

                        3) ซิมโบลิค (Symbolic Mode) เป็นวิธีที่ผู้เรียนใช้สัญลักษณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สามารถเข้าใจสิ่งที่
เป็นนามธรรม หรือความคิดรวบยอดที่ซับซ้อน จึงสามารถที่จะสร้างสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานได้

                   บรูนเนอร์กล่าวว่า แม้ผู้เรียนจะมีวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ 3 วิธีโดยขึ้นอยู่กับวัยของผู้เรียนก็ตาม แต่ในชีวิต
จริงไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะพ้นจากความคิดขั้น เอ็นแอคทีป หรือไอคอนนิคอย่างเด็ดขาด เพียงแต่ว่าผู้ใหญ่จะใช้สัญลักษณ์
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้ทักษะบางอย่าง เช่น
การขับรถ ผู้เรียนยังต้องลงมือกระทำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ขั้น
เอ็นแอคทีป

                   บรูนเนอร์เห็นด้วยกับพีอาเจต์ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure)มาตั้งแต่เกิด ในวัยทารก
โครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อนเพราะยังไม่พัฒนา ต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการ
ขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนคือ
การช่วยเอื้อการขยายโครงสร้างสติปัญญาของผู้เรียน บรูนเนอร์ได้ให้หลักการ
เกี่ยวกับการสอน คือ

                        1) กระบวนการความคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ ผู้สอนควรมีความเข้าใจกระบวนการคิดของผู้เรียน
แต่ละวัย
                        2) เน้นความสำคัญของผู้เรียน ถือว่าผู้เรียนจะสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self
Regulation)
และเป็นผู้ที่จะริเริ่มลงมือกระทำ ผู้สอนมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการค้นพบ ให้ผู้เรียนได้
มีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

                        3) ในการสอนควรเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือประสบการณ์ใกล้ตัว   ไปหาประสบการณ์ไกลตัว

(สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2541)

อ้างอิงจาก...

http://www.wichai.info/docu/construct.htm


 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต
หมายเลขบันทึก: 106985เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทิดสะดีพุดทึปันยา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท