สัญญา สัญญาวิวัฒน์


สวัสดีครับ ชาวบล็อกทุกท่าน ตอนนี้ผมกำลังฟังบรรยายของท่านอาจารย์ สัญญา  สัญญาวิวัฒน์ ครับ ท่านมาบรรยายในหัวข้อ "ทรัพยากรชุมชนในมุมมองเชิงบูรณาการ"ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ก็กำลังฟังไปเรื่อยๆละครับ

ท่านว่า ทรัพยากร ถ้ามองในแง่ของทุนนิยม ก้หมายถึง สิ่งมีค่า ทุน ซึ่งมีทั้งทุนที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ครับ แบ่งเป็น

  1. ทรัพยากรมนุษย์
  2. ทรัพยากรวัฒนธรรม
    • ความเชื่อ - ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • ค่านิยม - บรรทัดฐาน - วิถีประชา
    • จารีต ประเพณี ค่อนไปทางศาสนา หรือกฎหมาย
  3. ทรัพยากรธรรมชาติ
    • กายภาพ
    • ชีวภาพ

"การจัดการ" คือการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยอาศัยทรัพยากรการจัดการที่มีอยู่ ซึ่งเป้าหมายของ "การจัดการทรัพยากรชุมชน" มีดังนี้

  • รู้จักชุมชนเพื่อให้จัดการได้อย่างถูกต้อง มั่นคง
  • ชุมชนดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  • ชุมชนมีความเจริญก้าวหน้า

ท่านว่า...การจัดการนี้มันต้องมีวิธีคิด มีวิธีทำ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิมกับการพัฒนาที่แล้วๆมา ไม่ให้ไปทำลายดิน ทำลายวัฒนธรรมอันดีของชนบท เป็นต้น เราไปทำลายเขา ไปทำให้ขาคิถึงเรื่องเงิน ทำอะไรต้องได้เป็นเงินเป็นทอง ผมถามว่า ในการพัฒนาควรจะมีป้าหมายอย่างไร มีวิธีการทำงานอย่างไร

พูดอย่างนี้ก็จะนึกถึงเศรษฐกิจพอเพียง นั่นก็เป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกแนวทางหนึ่ง แต่ไม่ครอบคลุม ต้องแบ่งระดับให้เหมาะสมกับขนาดเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

  • โอเค การจัดการต้องมีการ วางแผน ซึ่งต้องมีโครงการ ว่าจะทำอะไร ทำไมถึงจะต้งทำ ทำอย่างไรท่ไหนเมื่อไหร่
  • แล้วก็มีการ จัดวางตำแหน่ง เพื่อหาคนมาทำงานตามที่วางแผนไว้
  • ต่อมาคือการ ดำเนินการตามแผน  คือการควบคุม นำพาตามแผน

ทั้งนี้ การจัดการแต่ละมิติ มีความแตกต่างกัน แต่สามารถจัดการคู่กันไปได้ หรือเรียกกันว่า การบูรณาการ หรือ สหศาสตร์ แปลว่ามันมีหลายศาสตร์มารวมกัน

เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า ในโลกนี้มีศาสตร์สาขาใดบ้าง ซึ่งผมจัดเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • มนุษยศาสตร์
    • ปรัชญา
    • ศาสนา
    • ภาษา
    • อารยธรรม
  • วิทยาศาสตร์
    • กายภาพ
    • ชีวภาพ
  • และสังคมศาสตร์
    • รัฐศาสตร์
    • รัฐประสานศาสตร์
    • สังคมวิทยา
    • จิตวิทยา

รวมทั้งมีรายวิชาที่ว่าด้วยการประยุกต์มาจาก หลากหลายสาขา เช่น ศิลปสาสตร์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นวิชาที่ไม่ใช่ ความรู้เพื่อความรู้ แต่เป็นความรู้เพื่อชีวิต เป็นวิชาเชิงประยุกต์ท่มีประโยชน์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิชาหาเงินทีเดียวครับ ทำให้เกิดปัญหากับสังคมว่า ไม่มีเด็กเรียนสาขาพื้นฐานต่างๆ เพราะจบมามีเงินเดือนน้อยมาก จริงๆ ประเทศเราน่าจะจ่ายเงินแพงๆ กับพวกที่เป็นครูบาอาจารย์ครับ ไม่ใช้ให้หาเช้ากินค่ำเหมือนผม

พูดถึงการเรียน สหศาสตร์ ต้องเรียนอย่างน้อย ๓ กระบวนศาสตร์ เช่น สหศาสตร์ทางมนุษศาสตร์ ก็ต้องเรียนทั้ง ศาสนา ปรัชญา และ ภาษา เป็นต้น ซึ่งพวกที่เรียนแพทย์เหล่านี้เขาก็จะมีวิชาแกนที่มีการผสมผสานกันอยู่ รวทั้งพวกพัฒนาชุมชนในวิชาการพัฒนาชุมชนมันมีทั้งมุมมองเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มาแก้ปัญหาชุมชน ถือเป็นการสร้าง สหศาสตร์ในศาสตร์เล็กๆครับ

พอมาเป็น สหศาสตร์ ใหญ่คือ มีการซ้อนกันในศาสตร์ใหญ่ๆ อย่างสังคมศาสตร์กับวิทยาสาสตร์ เป็นต้น ทำให้มีความรู้กว้างขวางมากขึ้น แต่ก็จะเป็น เป็ด มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับชีวิตจริงที่มีความเป็น สหศาสตร์ อยู่แล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 106670เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ตามมาอ่าน รายงานสดครับ ท่านอาจารย์ สัญญา เขียน หนังสือ น่าอ่านครับ มีอยู่บางเล่มครับ
มีคำถามอะไรจะถามไหมครับ ทุกท่าน ตอนนี้เบรกละครับ
  1. ทฦษฎีโครงสร้างหน้าที่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท