ปัญหาผู้ส่งออก


ประการแรกในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งโรงงานส่วนมาก ต้องกู้เงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต ทำให้เกือบทุกสถาน ประกอบการต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น
 ประการที่สอง อัตราแลกเปลี่ยนซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปี ซึ่ง ขณะนี้ผู้ส่งออกเองเริ่มปรับตัวได้บ้างแล้ว แต่เนื่องจากมีการขาย สินค้าออกไปก่อนตั้งแต่ต้นปี จากการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน จะอยู่ที่ 40 บาท แต่กว่าจะส่งออกอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 37 บาท ซึ่งถือว่าขาดทุนประมาณ 10 % ถึ่งแม้ว่าจะทำ Forward Rate แล้วแต่ส่วนมากจะขาดทุนจากการทำ Forward Rate ปกติ แล้วสินค้าส่งออกจะไม่ค่อยได้กำไรไม่มากนักอยู่แล้ว
 ประการที่สาม จะเป็นเรื่องของวัตถุดิบขาดแคลน มีไม่พอผลิต ซึ่งถือ เป็นการเสียโอกาสในการขาย เพราะปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันไป ปลูกยางพาราและมันสำปะหลังมากขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ ได้รับความนิยมในช่วงนี้เพราะราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก รวมทั้งอ้อย หรืออะไรก็ตามที่สามารถนำมาทำแก๊สโซลฮอล์ได้ ราคาก็จะ สูงขึ้นมาก
 ประการที่สี่ เรื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งกระทบกับ ผู้ผลิตทุกราย ไม่ว่าจะเป็นประเทศเราหรือประเทศคู่แข่งก็ตาม จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันกันทุกคน ดังนั้นเรื่องน้ำมัน เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เราสามารถขอปรับขึ้นราคากับลูกค้าได้ เรื่องอื่นลูกค้าไม่สนใจเลย ซึ่งถือเป็นโอกาสให้เราปรับราคา เพราะผู้ผลิตทุกรายขึ้นราคากันหมด
 ประการที่ห้า เรื่องของคู่แข่ง จะเป็นประเทศจีนและเวียดนาม ส่วนคู่แข่งในประเทศ ไทยด้วยกันจะมีปัญหาตรงที่จะมีการตัดราคากันเอง เพราะหาก รายใดสินค้ามีสต็อคมากสินค้าระบายไม่ทัน ก็ต้องมีการปรับลด ราคาสินค้าลงทำให้เกิดผลกระทบกับตลาดบ้างเหมือนกันแต่ก็ ไม่มากนัก
 ประการที่หก เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าที่ต่างกันในแต่ ละประเทศ เนื่องจากปัจจุบันของภาษีของประเทศผู้นำเข้า ตอนนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหาแล้วเนื่องจากประเทศส่วนใหญ่มี ข้อตกลงทางการค้ากับประเทศไทยทั้งในเรื่องของเขตการค้าเสรี เช่น AFTA หรือข้อตกลง FTA ประเทศเหล่านี้ จึงหลีกไปใช้ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) เช่นเรื่อง Standard เป็นส่วนใหญ่ สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะมีในเรื่องของ Food Safety มาตรฐาน HACCP ซึ่งมีมาหลายปีแล้ว ซึ่งผู้ผลิตสินค้าใน ประเทศเริ่มปรับตัวได้ทันแล้ว และต้องทำมาตรฐานดังกล่าว หากไม่ทำโอกาสขายค่อนข้างยาก สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ การกำหนดมาตรฐานเฉพาะของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศ ฝรั่งเศสมีการสร้างมาตรฐานขึ้นมาคือ IFS , F10 โดยที่จะใช้เป็น มาตรฐานของประเทศตัวเอง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่หากทุก ประเทศในยุโรปกำหนดมาตรฐานของตัวเอง จะเป็นเรื่องยุ่งยาก หากทางผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้าให้รองรับมาตรฐานของ ประเทศนั้นๆ
หมายเลขบันทึก: 106530เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท