แบบประเมินตนเอง ตอนที่ 2 วิเคราะห์ความเสี่ยงฯ


ตอนที่ 2 มาดูกระบวนการทำงาน หาความเสี่ยง ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

   
   
แบบประเมินตนเอง ตอนที่ 2 
สำหรับส่วนนี้มี 2 ตอนคือการเขียนกระบวนการทำงานหลักและการวิเคราะห์ความเสี่ยง/ปัญหา/โอกาสพัฒนาของแต่ละกระบวนการ 

ข้อ 2.1 กระบวนการทำงานและโอกาสพัฒนา ในขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานได้มองเห็นภาพรวมของกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบว่าเป็นอย่างไร มองเห็นทิศทางการไหลของงานร่วมกัน ทำให้ทุกคนในหน่วยงานเห็นภาพเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นจึงมีวิธีการทำได้หลายวิธี เช่น ให้บุคลากรแต่ละคนเขียนขั้นตอนการทำงานของตัวเอง แล้วนำมาเรียงต่อ ๆ กัน จะมีบางส่วนที่เป็นการปฏิบัติร่วมกันของทุกคน นั่นก็คือกระบวนการหลัก ส่วนปลีกย่อยก็จะเป็นกิจกรรมของกระบวนการหลัก หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ทุกคนมานั่งไล่กระบวนการหลักและกิจกรรมย่อยไปพร้อม ๆ กัน เท่านี้ เราก็จะได้เห็นกระบวนการหลักและกิจกรรมย่อยของหน่วยงานเราแล้ววว...แค่เนี้ยะ..โธ่ นึกว่าจะยากส์

ข้อ 2.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยง/ปัญหา/โอกาสพัฒนา ของแต่ละกระบวนการ แต่ละกิจกรรมย่อย เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงาน ช่วยกันพิจารณา ใน 3 มิติ คือ กระบวนการนี้ ที่ผ่านมามีปัญหาอะไรบ้าง (ปัญหา) มีโอกาสจะเกิดปัญหาอะไรได้บ้าง (ความเสี่ยง) และกระบวนการนี้มีโอกาสจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร (โอกาสพัฒนา) ค่อย ๆ ช่วยกันคิด วิเคราะห์แบบนี้ไปทีละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบกระบวนการทำงาน ก็จะได้  ความเสี่ยง/ปัญหา/โอกาสพัฒนา มากมายก่ายกอง ข้อมูลเหล่านี้แหละคือ Risk Profile ของหน่วยงาน (มาจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง) แนวทางสู่การทำ CQI (มาจากข้อมูลปัญหาที่พบ) และ Innovation (มาจากความคิดสร้างสรรค์ในการวิเคราะห์โอกาสพัฒนา)

ข้อ 2.3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงสำคัญ  จะเห็นได้ว่าเราค้นพบความเสี่ยงมากมายในข้อ 2.2 เราก็นำความเสี่ยงที่ได้ทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญ โดยการให้คะแนน ความถี่ และความรุนแรง ของแต่ละความเสี่ยงแล้วนำมาคูณกัน เมื่อให้คะแนนหมดทุกความเสี่ยงแล้ว (การให้คะแนนต้องเป็นความเห็นร่วมของทุกคนนะ แบบว่า ประชาธิปไตย อ่ะ)  เราก็มาดูว่าความเสี่ยงข้อไหนได้คะแนนมาก ก็นำมาซัก 4-5 เรื่อง มาจัดทำแนวทางป้องกันความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งก็ไม่ยากเช่นกันคือ ช่วยกันคิดว่า ความเสี่ยงข้อนี้จะมีวิธีการใดบ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดได้ คิดให้ครอบคลุม ทั้งในเรื่อง คน ระบบ กระบวนการทำงาน และ เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม จนกระทั่งระดับนโยบาย จะได้ครอบคลุมไงคะ

นอกจากวิธีนี้แล้ว อาจารย์มังกร ประพันธ์วัฒนะ ที่มาบรรยายเรื่อง Root Cause Analysis ได้อธิบายให้ฟังเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญของหน่วยงานอีกวิธีหนึ่ง คือ การให้หน่วยงานช่วยกันคิดว่า อะไรคืออุบัติการณ์ที่หน่วยงานจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นเป็นอันขาด นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดเรื่องนี้ขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อผู้ป่วย หรือเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เงินทอง เปรียบได้หรือส่งผลกระทบรุนแรงต่อหน่วยงาน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะนำมาจัดทำแนวทางแก้ไขความเสี่ยงสำคัญได้อีกทางหนึ่ง ในที่นี้ ศูนย์คุณภาพขอยกตัวอย่าง การจัดทำแนวทางป้องกันความเสี่ยงสำคัญของศูนย์คุณภาพ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนะคะ

อุบัติการณ์

แหล่งความเสี่ยง ปัจจัยสาเหตุ แนวทางแก้ไข
หน่วยงานไม่ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ 1. ผู้รับผลงาน

- ไม่มีความรู้ความเข้าใจ  ไม่ตระหนักในความสำคัญ 

- มีภาระงานมาก 

- ขาดแรงจูงใจ  

- บุคลากรมาใหม่

- จัดการอบรมเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากร 

- ทบทวนอัตรากำลัง ประสานทีม HR 

- จัดเวทีให้มีการนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพหรือนวัตกรรม  โดยอาจมีใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลตอบแทน 

- ระบุให้การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ของทุกหน่วยงานต้องมีการแจ้งเรื่องการพัฒนาคุณภาพ

  2. ผู้ปฏิบัติงาน

- ไม่ได้ให้ข้อมูล/ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน 

 - ขาดการกระตุ้นติดตามอย่างสม่ำเสมอ 

- ขาดประสบการณ์/

- ศึกษาอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

- การเยี่ยมให้คำแนะนำในหน่วยงาน

- แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประสานงานคุณภาพในการดูแลเป้นพี่เลี้ยงทีม และหน่วยงาน

-กำหนดตารางการเยี่ยมหน่วยงาน

 

  3. นโยบาย/ผู้นำ

- ขาดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาคุณภาพ 

- ไม่มีการติดตามผลงาน/ขาดการประเมินผล

- โครงสร้างไม่ชัดเจน 

- ไม่มีบรรยากาศในการพัฒนาคุณภาพ เช่น ทำบ้างบางหน่วย  ไม่มีผลอะไรถ้าไม่ทำ

- กำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพให้ชัดเจนและผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของ รพ.

 - จัดให้มีการประเมินผลงาน/การนำเสนอผลงาน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพในแต่ละหน่วยงาน และมีการให้รางวัลสำหรับหน่วยงานที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 

 - ประสานกับผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจนและสามารถติดตามความก้าวหน้าได้อยางมีประสิทธิภาพ

- ทบทวนเรื่องระบบการติดตามและประเมินผลจากผู้บังคับบัญชา มีการส่งข้อมูลย้อนกลับในเรื่องลการพัฒนาคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน 

  4. เครื่องมือ - ขาดทักษะในการนำเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพมาใช้

- ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพ

 - จัดกิจกรรมเยี่ยมสำรวจหน่วยงาน การนำเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง

  5. สื่อสาร

- ระบบการสื่อสาร/ประสานงานไม่ทั่วถึง  ไม่เชื่อมโยงทั่วทั้งองค์กร     

- แต่ละหน่วยงานมีช่องทางการรับสื่อไม่เท่าเทียมกัน

- พัฒนาศักยภาพผู้ประสานงานคุณภาพ

- ปรับปรุงระบบการประสานงาน การส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานและทีมคร่อมายงานต่างๆ จัดให้มีแกนกลางในการประสานงาน 

- ค้นหาช่องทางการรับสื่อที่สามารถครอบคลุมได้ทุกหน่วยงาน 

-ลงเยี่ยมหน่วยงานมากขึ้น          


 

 

หมายเลขบันทึก: 106528เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบทความที่ดีสามารถนำมาปรับใช้ได้ทันเหตุการณ์

พี่และเพื่อนๆรออ่านบันทึกต่อไปนะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท