การย้ายหน่วยงานบ่อยๆ ดีหรือไม่ดีอย่างไร?


ตั้งแต่ผมเข้าทำงานมาที่ศูนย์ฯ 4 5 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่เคยย้ายไปไหนเลย แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีหลายคนที่มีโอกาสสับเปลี่ยนเวียนเข้ามาทำงานในศูนย์ฯนี้หลายสิบคนแล้ว ทั้งผู้ปฏิบัติงานประจำ ร่วมทั้งผู้บริหารก็ตาม ทั้งที่มาเอง และมาตามวัฏจักร ระยะการทำงาน 

ซึ่งหลายครั้งผมก็อิจฉาเหมือนกัน เพราะผมยังไม่มีโอกาสได้ไปเปลี่ยนรสชาด บรรยากาศการทำงานแบบใหม่ๆบ้าง เช่น ไปอยู่หน่วยงานที่มีการทำงานแบบมีคนมากหน้าหลายตาไม่ซ้ำกันแต่ละวัน(งานบริการ) หรืองานที่ได้ทั้งเงินเดือน ค่าตอบแทน เบี้ยเลี้ยงมากๆ หรืองานที่ได้ออกไปราชการที่นั้นที่นี้เป็นประจำ

นั่นเป็นความคิดช่วงแรกๆของชีวิตการทำงาน

แต่พอมาถึงวันนี้ผมคิดว่าการที่ผมไม่ได้ย้ายไปหน่วยงานอื่น ไปทำงานที่แปลกใหม่ ถือว่าเป็นจุดที่ดีในการสั่งสมความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญ เพื่อการขอผลงานต่อไปในอนาคต เมื่อเข้าเกณฑ์

เพราะมีผู้ใหญ่บางท่านบอกผมว่า การที่ต้อง rotate บ่อยๆ เช่น ปี หรือ 2 ปีครั้ง โดยเฉพาะการเปลี่ยนงานบ่อยๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เพราะจะทำให้เราไม่สามารถมีชิ้นงาน ผลงาน...พูดง่ายๆคือ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อขอผลงานความก้าวหน้า

แต่ถ้าบางคนที่ไม่ได้คิดอะไรมากมาย การย้ายงานบ่อยๆก็ถือเป็นเรื่องดี คือ ได้รู้จักคนมากมาย การได้ศึกษางานหลายๆประเภท ไม่จำเจ ไม่น่าเบื่อ

KPN
หมายเลขบันทึก: 106155เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อยากย้ายงานบ้างเหมือนกัน แต่ไม่มีโอกาส พออยู่ๆ ไปก็รู้สึกผูกพันกะที่ทำงานกะเพื่อนๆ กลายเป็นแกะกันไม่ออกแล้ว

การย้ายงานใหม่ทำให้เราได้เปลี่ยนสังคมใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงตัวเรา ได้ประสบการณ์ใหม่ แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆก็ไม่ดีเหมือนกันค่ะ

การย้ายงานบ่อย ก็อาจไม่ได้ผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันอย่างที่ว่าก็ได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยระยะเวลานานกว่าผลงานจะปรากฏ

แต่บ้างครั้ง บางหน่วยงานก็เก่งมาก ที่นำผลงานที่เป็นผลของการพัฒนาในระยะสั้นๆ มาแสดงได้และได้รับการชมเชยอีกด้วย ข้อเสียคืออาจขาดความใส่ใจมุ่งให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจริงๆก็ได้

ประเด็นสำคัญต้องมีการตั้งเป้าหมายให้ถูกต้อง ว่าต้องการทำอะไร และพยายามชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่จะปรากฏทั้งระยะสั้นและระยะยาว จะได้วัดผลออกมาได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่

การทำงานจะสนุกมากครับถ้ามีการตั้งเป้าในการทำงานด้วย แต่ต้องไม่ใช้เป้าที่ปรับไม่ได้นะครับ แต่เป็นเป้าที่ทำให้เรารู้ทิศทางในการทำงานต่างหาก

คุณแจ็คมีข้อคิด และเรื่องราวดีดีมาฝากทุกวันเลย

เรียน ท่าน KPN

  • บางประเทศไม่นิยมย้ายงาน ปู่ พ่อ ตา ทวด ทำงานที่นั่น ถือเป็นเกียรติของวงศ์ตระกูล
  • แต่บางประเทศ ย้าย เปลี่ยน งาน บ่อย ถือเป็นการ Up Grade หรือ พัฒนาความก้าวหน้า
  •  เพราะ Job Rotation ถือ เป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนา Career Path ครับ

สวัสดีครับคุณเด็กด้อย

ไม่มีรูป
เด็กดอย

เมื่อไหร่ที่คิดว่ามีความผูกพันกับงานแล้ว เมื่อนั้นหล่ะครับจะทำอะไรมันก็ไม่ท้อครับเพราะถือว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะมีเพื่อนร่วมงานที่รู้ใจกันขนาดนี้ แบบ แกะไม่ออก

แต่อย่างไรผมคิดว่า คำว่า เพื่อนร่วมงานนั้น ก็ต้องมีขอบเขตเช่นกันครับ ไม่งั้นความเกรงใจกันจะไม่เกิดครับ โดยเฉพาะการที่สนิทกันมากกับผู้บังคับบัญชา

สำหรับผมแล้วนั้นการย้ายหน่วยงานก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าถ้าย้ายข้ามสายงานด้วยแล้วนั้น จะไม่เป็นผลดีครับ ดังนี้เราถูกกำหนดตำแหน่งอะไรแล้วก็ต้องทำอยู่ในขอบข่ายของงานนั้น เพราะมิฉะนั้นตอนประเมินขอผลงาน หรือประเมินการทำงาน จะไม่มีอะไรที่สะท้อน TOR เราได้

 

ขอบคุณครับท่านอาจารย์มณฑล

P

ในขณะที่ตอนนี้มหาวิทยาลัยยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางการเดิน(career path) ของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานมหาวิทยาลัยในส่วนของสายสนับสนุนการเรียนการสอน

สำหรับพนักงานวิชาการหรือสายผู้สอนนั้น ขณะนี้เริ่มมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการขอกำหนดมีตำแหน่งทางวิชาการ ผศ., รศ., ศ. นั้น ขณะนี้ก็อนุโลมโดยใช้กรอบ ระเบียบตามข้าราชการสาย ก. และก็เริ่มมีพนักงานวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้วครับ

แต่สำหรับพนักงานสายปฏิบัติการนั้น ยังไม่มีแม้แต่คนเดียวที่ขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ หรือเชี่ยวชาญ

ดังนั้นผมเลยมองอนาคตว่า ระเบียบข้อบังคับ ที่จะออกมาในอนาคตนั้น คงไม่หนีไปจากระเบียบของข้าราชการ สาย ข. ค. แน่ครับ

ดังนั้นผมจึงเริ่มที่จะเตรียมการกับตัวเอง เก็บข้อมูล งานต่างๆ จากระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อที่จะขอบ้าง เมื่อระเบียบข้อบังคับชัดเจนมากขึ้น  
 

 

  • สวัสดีแจ๊ค
  • การย้ายหน่วยงานมีหลายอย่าง
  • ย้าย....เพื่อรับตำแหน่งที่สูงขึ้น
  • ย้าย....เมื่อมีการชลอการบรรจุพนักงานใหม่ แต่พิจารณาจากหน่วยงานที่ขาด และเอาหน่วยงานที่มีพนักงานมากไปทำงาน เป็นการเกลี่ยอัตรากำลังในหน่วยงานของพนักงานที่มีภาระงานไม่เพียงพอ ซึ่งย้ายลักษณะนี้ เป็นนโยบายของ มมส.เลยล่ะ 
  • ย้าย...ในตำแหน่งที่เหมือนเดิม..แต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้..ประสบการณ์
  • ย้าย....เมื่อลงจากตำแหน่ง
  • การย้ายดีหรือไม่ดี..ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการย้าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  ตัวบุคคลก็สำคัญ ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน อย่างไร ขอให้เป็นคนมีคุณภาพ ไปอยู่ที่ไหนก็ดีทั้งนั้นจ๊ะ
  • การขอตำแหน่งชำนาญการให้นับภาระงานย้อนหลังด้วย...การย้ายจึงไม่น่าจะเป็นปัญหา..แต่อย่างว่านะคะ  คนมีคุณภาพซะอย่าง ไปอยู่ที่ไหน ๆ ก็สุขใจได้ทั้งนั้น
  • เป็นความคิดเห็นเล็ก ๆ ของคนตัวเล็ก ๆ อย่างพี่อ้อ
  • ขอบคุณจ๊ะ

 

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญ

P
JJ
  • การฝั่งรากลึกโดยปลูกถ่ายจากรุ่นสู่รุ่นตระกูล generation ถือเป็นสิ่งที่เยี่ยมครับ จะเห็นได้โดยเฉพาะบริษัทเอกชนที่เห็นได้ชัดครับ 
  • Career Path สำหรับผมแล้วถือเป็นแผนที่การเดินทางของชีวิตการทำงาน แต่ขณะนี้ก็เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ามหาวิทยาลัยนั้นเริ่มจะกลายพันธุ์ คือ ไม่ใช่ของรัฐอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
  • ดังนั้นพันธุ์ใหม่ของบุคลากรก็เริ่มเกิดขึ้น และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย คือ พนักงานมหาวิทยาลัย(ตำแหน่งข้าราชการที่ยุบจากเกษียณอายุ) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเท่าไหร่นักเกี่ยวกับ Career Path โดยเฉพาะพนักงานสายสนับสนุน ว่าจะอนุโลมใช้ระเบียบข้อบังคับ ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ 
  • ถ้าระบบการจูงใจ หรือการสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนกลุ่มสายสนับสนุน มีความชัดเจน และเป็นที่พอใจ แล้วนั้น จะทำให้เป็นกลไกในการพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอนครับ โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนสถานะ เป็น ม.ในกำกับรัฐครับ

 

ขอบคุณมากครับพี่อ้อ

P

อย่างที่พี่อ้อกล่าวมาเป็นความจริงทั้งสิ้นครับ แต่ก็มีบางกรณี เช่น

  • ขอย้ายไปเอง หรือ ถูกย้าย

ประเด็นนี้สิครับสำคัญ ดังนั้นการย้ายไปหน่วยงานอื่นนั้น ก็ขึ้นกับทั้งปัจจัยทั้งภายในตัวผู้ย้ายเอง และปัจจัยจากภายนอก โดยเฉพาะเรื่องของความเหมาะสม

อย่างที่ว่านะครับ คนที่มีคุณภาพ จะย้ายไปไหนคุณภาพก็คงติดตามไปด้วยนะครับ

โดยเฉพาะความรู้ฝั่งลึก tacit

แต่สภาพที่เห็นหลายๆที่ ทั้งนอกและในมหาวิทยาลัยก็ตาม ถ้าระบบ rotate เป็นไปด้วยหลักการของการบริหารจัดการที่ดี หรือ ธรรมาภิบาลแล้วนั้น ทุกฝ่ายทุกคน ได้ประโยชน์ร่วมกันครับ happy กันทั้งนั้น

ไม่มีการกลั่นแกล้ง ไม่มีการเอาพวกเดียวกัน ไม่มีอคติ ทุกอย่างไปได้สวยแน่นอนครับ

  • ย้ายงานบ่อยใช่ว่าจะดีนะคะ
  • เพราะทำแล้วยังไม่เชี่ยวชาญ เสียดายค่ะ
  • ถ้าเบื่อๆแค่เปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน ค้นหาวิธีการแปลกๆใหม่ๆดูน่าจะเข้าทีนะคะ

ขอบคุณครับคุณน้อง

P

ถูกต้องแล้วครับ!

ถ้าเบื่อ หรือจำเจ ก็ต้องหาวิธีครับ

แล้วแต่เทคนิค ทักษะของแต่ละคน

เอาเป็นวิธีแปลกแบบหลุดโลกไปเลยก็ดีนะครับ จะได้มีคนกล่าวถึงมากๆ

แต่วิธีการเหล่านั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ความถูกต้อง กฏระเบียบ ข้อบังคับ แต่ที่สำคัญไม่ทำให้ภาระเพิ่มขึ้น

ร่วมทั้งไม่ขัดใจใครด้วยครับ

  • อย่าทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกว่าคุณจำเป็นต้องทำ

  • ความคิดแบบนั้นบั่นทอนความสุขของตนเอง...

  • คุณได้รับการมอบหมายงานมาชิ้นหนึ่ง
    คุณคิดว่าต้องทำงานนี้ให้สำเร็จ เพราะถ้าไม่ทำ
    เจ้านายก็จะว่า อาจทำให้ปีนี้ไม่ได้เงินเดือนขึ้น
    แต่คุณน่ะไม่อยากทำมันเลย ทำไมต้องเป็นคุณด้วยนะ ช่างแย่เสียจริง

  • เมื่อคุณ "ต้อง" ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    เป็นปฏิกิริยาปกติที่คุณจะรู้สึกต่อต้านสิ่งนั้น

  • แทนที่คิดว่าคุณต้องทำมันเพราะไม่มีทางเลือก ลองเปลี่ยนความคิดดูไหม

  • คุณทำงานนั้นเพราะเจ้านายรู้ว่า ไม่มีใครที่จะทำได้ดีกว่าคุณ  แล้วคุณก็รู้ว่าถึงคุณจะไม่ชอบมันแต่คุณก็สามารถทำได้ดี

  • "บอกตัวเองว่าคุณมีทางเลือกเสมอ
    แล้วคุณจะมีความสุขมากขึ้น"

  • อ่านสิ่งดี ๆ เพิ่มได้ที่ บ้านใส่ใจ

"การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี....แต่เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ไม่สู้ดี....สำหรับผมแล้วคิดว่า....แนวคิดอาจแตกต่างจากภาคราชการเพราะผมเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ18 ปี อยู่ภาคเอกชน 11 ปี ช่วงเริ่มต้น และหันมาอยู่ภาคราชการ 5 ปี และกลับมาอยู่ภาคเอกชนล่าสุด3 ปี ที่ผ่านมา......ไม่ว่าจะย้ายเพื่อจุดประสงค์ใดแต่ก็อย่าลืมว่า...คุณคือคนสำคัญของสังคมไทยนะครับ...

เรียนท่านอาจารย์อรรณพ

P

ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆ จาก carefor

หน้าที่ในวันนี้คือสิ่งสำคัญที่สุด มากกว่าหน้าที่ที่ยังมาไม่ถึงในอนาคต

คงต้องบอกแบบคำเชยๆแต่เป็นอำมตะ คือ จงทำวันนี้ให้ดีที่สุดครับ แล้ววันข้างหน้าจะดีเอง พิสูจน์ด้วยผลงาน

ไม่ว่าคนอายุน้อย หรืออายุมาก ก็ยอมมีภาระหน้าที่เช่นกัน แต่จะต่างกันที่ผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งต่างๆ ว่าจะมากหรือน้อย แต่อย่างไรทุกคนย่อมมีคุณค่าในตัวเองครับ

สำหรับผมแล้วจะทำอะไรซักอย่าง พยายามที่จะตั้งเป้าหมายก่อน และหลังจากนั้นก็หาวิธีทางที่ดีที่สุด เร็วที่สุด ให้ไปถึงเป้าหมาย นั้น คือ แผน หรือเส้นทางเดินครับ

 

สวัสดีครับ ต้องเรียกว่า พี่ น.เมืองสรวง

ไม่มีรูป
น.เมืองสรวง

เพราะคำนวณอายุดูแล้วมากกว่าผม 7 ปี แต่ประสบการณ์การทำงานมากมายนัก และหลากหลายเหลือเกิน ทั้งภาครัฐและเอกชน

การได้เห็นอะไรหลายด้าน หลายระบบนั้นผมว่าเป็นสิ่งที่ดีมากครับ ถือเป็นความรู้ฝังตัว อาวุธที่ยอดมาก

การให้กำลังตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่คนปกติพึงกระทำครับ ถ้าเริ่มต้นแล้วยังไม่ให้กำลังใจตัวเอง แล้วจะไปให้

กำลังใจคนอื่นบ้างได้อย่างไร

เมื่อเราคิดว่าเรามีคุณค่า เป็นคนสำคัญแล้ว เราก็จะรู้สึกภูมิใจครับ

ไม่ดูถูกตัวเอง คนอื่น ที่อยู่ในสังคมร่วมกัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท