ทุนเดิมแห่ง km ณ. กำแพงเพชร (3)


ก้าวสู่การจัดการความรู้ระยะที่ 2

      ก้าวสู่การจัดการความรู้ระยะที่2   ในห้วงระยะเวลาเมื่อปลายปี 2543-2546  มีเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายใหญ่ได้ย้ายพื้นที่ปลูกส้มจากจังหวัดปทุมธานี  เขตชลประทานทุ่งรังสิต เขตปลูกส้มใกล้เคียง มาปลูกในพื้นที่กำแพงเพชร บางรายก็มาเช่าปลูก บางรายก็มาซื้อที่ดินปลูก  เมื่อช่วงแรกส้มที่ปลูกก็ให้ผลผลิตดี  จึงส่งผลกระทบให้เกษตรกรรายย่อย  ที่มีอาชีพทำนาอยู่เดิมบางรายได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากนาข้าวไปเป็นพื้นที่ปลูกส้มแทน และมีแนวโน้มจะมีพื้นที่ปลูกมากขึ้นอย่างทวีคูณ

         ด้วยความเป็นห่วงในภาครัฐ ขณะนั้นเรามีอดีตเกษตรจังหวัดที่ชื่อ ท่านไพรัช  หวังดี ได้เป็นห่วงเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยมือใหม่ ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการปลูกส้มมาก่อน จึงได้ดำเนินการสำรวจความต้องการ ความรู้เรื่องการจัดการสวนส้มในระยะแรก ในขณะเดียวกันนักส่งเสริมการเกษตรที่อยู่ในภาคสนาม ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในสวนส้มมาก่อนเช่นกัน จึงได้ดำเนินการพัฒนาทั้งเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยมือใหม่และนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานในภาคสนามไปพร้อมๆกัน คือ

          (1)ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการสวนส้ม(ทีมงานจากสกว.) มาให้ความรู้ โดยดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อยมือใหม่ (จำนวน370 คน)และนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบเขตที่ปลูกส้ม(30 คน) ระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน 2545 ณ.หอประชุมโรงเรียนวังแขมวิทยาคม ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

          (2) พัฒนานักส่งเสริมการเกษตรให้ลงไปปฏิบัติงานกับเกษตรกรชาวสวนส้มได้ ในระยะแรกนักส่งเสริมการเกษตรเอง  ยังขาดประสบการณ์การจัดการสวนส้ม และไม่กล้าที่จะไปแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกส้ม จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม พร้อมฝึกทักษะในการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร(FFS.)เพื่อให้นักส่งเสริมการเกษตรเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานกับเกษตรกรผู้ปลูกส้ม เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ (ผศ .ดร.ระวี  เศรษฐภักดี) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มาถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการสวนส้มในระยะแรก  ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2546 ณ.ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะเดียวกันได้มีอาจารย์ศักดา ทวิชศรี นักวิจัยอิสระ และคุณศิริวรรณ หวังดี จากกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มาช่วยในการจัดกระบวนการกลุ่มในระยะแรก

          (3)จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการปลูกส้ม ช่วงระยะเวลาในปี 2546-2547 ได้ดำเนินการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยมือใหม่และนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในภาคสนาม จำนวน 5 โรงเรียน(FFS.) มีสมาชิก 125 คน

          ทั้งนี้นับว่าเราได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักส่งเสริมการเกษตร จะต้องลงไปปฏบัติงานกับเกษตรกรชาวสวนส้มได้อย่างมีความมั่นใจโดยฝึกทักษะบทบาทการเป็น FACILITATOR หรือ ทำหน้าที่บทบาทคุณอำนวยในขณะนี้นั่นเองครับ(โปรดติดตามอ่านตอนที่4น่ะครับ)

หมายเลขบันทึก: 106033เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • หวัดดีครับพี่เขียวฯ
  • ช่วงนั้นผมอยู่ที่ จ.น่าน พอดี ได้เจอกับผู้เชียวชาญเรื่องส้ม จากหลากหลายสาขา
  • มาเรียนรู้ร่วมกันกับเกษตรกรชาวสวนส้ม ในลักษณะ FFS.เพื่อปรับปรุงสวนส้ม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ของทุกฝ่าย ครับ

น่าติดตามมากคะ ขอบคุณคะที่นำมาแบ่งปัน

สวัสดีครับหนุ่มร้อยเกาะครับ  ขอบคุณที่มาเยี่ยม หากมีอะไรดีฯฯฯ ก็มาลปรร.ด้วย

สวัสดีครับอ.ธุวนันท์ครับ ผมดีใจอย่างสุดฯฯ ที่อาจารย์ได้มาแวะเยี่ยมครับ โปรดติดตามตอนต่อไปน่ะครับ หากมีอะไร-จะแนะ-จะนำ อย่าได้เกรงใจ เชิญเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท