ความสำเร็จขององค์กร


การวัดความสำเร็จขององค์กรยุคปัจจุบันหรือยุคเศรษฐกิจใหม่(New Economy) จะวัดขีดความสามารถในการสร้าง คุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร (Value Creation) ซึ่ง บริหารเพื่อสร้างคุณค่าด้วยทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) ที่จับต้องไม่ได้(Intangible Asset) แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นทุนหรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Asset) "ความรู้" จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ทางปัญญาให้เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ บุคคลใน องค์กรจึงต้องอยู่ท่ามกลางการแข่งขันในการสร้างทุนทางปัญญา เพื่อให้สามารถสร้างสังคมของประเทศให้เป็น สังคมแห่งการใช้ความรู้ เป็นฐาน(Knowledge Based Society) สร้างเศรษฐกิจของประเทศด้วยการใช้ความรู้ เป็นฐานในการผลิตสินค้าและบริการ(Knowledge Based Economy) โอกาสที่จะเกิดสินทรัพย์และมูลค่าสินค้าหรือ บริการสูงจนได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็จะมากขึ้น การได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร และสังคมสมัยใหม่ จึงอยู่ที่การจัดการความรู้(Knowledge Management :KM) เป็นสำคัญ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นวิธีการจัดการข้อมูลที่เป็นความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วนตามที่ต้องการ ง่าย ต่อการค้นหาและใช้ประโยชน์ การจัดการความรู้สรุปเป็นกระบวนการ จัดการความรู้หลัก ๆ 3 ส่วน ได้แก่


การจัดระบบรวบรวมจัดเก็บความรู้ ได้แก่ การสร้างความรู้ใหม่ และ เสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบ สื่อต่าง ๆ มาประมวลและกลั่นกรอง เพื่อเป็นความรู้ของหน่วยงาน ซึ่งพร้อมที่จะขยายความรู้ และยกระดับ ความรู้กับบุคลากรในหน่วยงาน
การเข้าถึงความรู้ ได้แก่ การเข้าไปนำความรู้มาใช้ โดยอาศัยช่องทางการ สื่อสารที่ง่ายและสะดวก เช่น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เว็บบอร์ด และบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
การแบ่งปันความรู้ ได้แก่ การแลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจายถ่ายโอน ความรู้ ซึ่งทำได้หลายวิธีการ เช่น กิจกรรมกลุ่ม การจัดประชุมสัมมนา การ สอนงาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนถ่ายโอนความรู้ผ่าน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบ e-Learning เป็นต้น

เพื่อให้นำความรู้ไปใช้ได้สะดวก และตรงกับความต้องการผู้ใช้มากที่สุด จึงได้จัดทำระบบฐานความรู้ เป็นกลุ่มๆดังต่อไปนี้

 ความรู้ในการปฏิบัติงาน (Working Knowledge) หมายถึง
ความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ ส่วนใหญ่เป็นลำดับ
ขั้นตอนในการทำงานซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มาทำงานใหม่สามารถทำงานได้ทันที เมื่อผู้ที่ทำอยู่เดิม
ไม่อยู่ เช่น ขั้นตอนการปฎิบัติงาน ในกรณีของบประมาณ โรงเรียนประสบภัย การส่งคืน
เงินยืม และการเบิกค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) หมายถึง
ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาเทคนิควิธีการที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อปรับปรุงให้งานประสบความสำเร็จ
เกินเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อจำกัดของวิธีการนั้น ๆ ในการนำไปสู่การปฎิบัติ
สรุปสาระสำคัญของหนังสือที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (Book Brief) หมายถึง การสรุปย่อ
หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหรือเกี่ยวข้องกับสถานการณ์เด่นในขณะนั้นพร้อมทั้งวิเคราะห์เนื้อหา
ในหนังสือ
 ความรู้ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing Board)หมายถึง ความรู้
ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่าย ที่มีความสนใจร่วมกัน วิชาชีพเดียวกันซึ่ง
ความรู้ในลักษณะนี้ มักจะไม่มีการบันทึกหรือเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ
 ความรู้จากการสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญ (Ask an Expert) หมายถึง
ความรู้เกิดจากการศึกษา สอบถาม สนทนา กับ ผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งข้อมูล
สถานที่ ที่ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในองค์กร
ความรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้บันทึกจัดทำไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล
ใน Word, PowerPoint e-Book และ PDF เป็นต้น

การจัดการความรู้เป็นการบูรณาการความรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนางาน เพื่อให้ทุกคนสามารถ เติมเต็มความ รู้ในการปฎิบัติงานได้อย่างไรก็ตาม KM เป็นเรื่องใหม่ ที่ใกล้ตัวแต่เข้าใจยาก เป็นแนวคิดจากตะวันตกเข้ามา ทั้งที่ เป็นเรื่องของภูมิปัญญาของเราเอง แต่คนส่วนใหญ่มักจะละเลยความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนทำให้ความรู้นั้นสูญหายไปเมื่อ บุคคลนั้นย้ายหรือสูญหายไป
การเกิดความรู้เป็นกระบวนการที่หมุนเวียน หรือกระแสการจัดการความรู้ที่เคลื่อนที่ได้ตามกระบวนการ SECI (Socialization Externalization Combination Internalization) กล่าวคือ ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาหรือ Tacit มิได้มีการบันทึกให้เป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงต้องหาวิธีนำมาใช้ให้ได้มากที่สุด แนวทางหนึ่งคือ การใช้ช่องทางการสื่อสาร ด้วยกระบวนการทางสังคมหรือกระบวน การปฎิสัมพันธ์ทางสังคม (Socialization) ด้วยการพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน และเมื่อได้ความรู้ ประสบการณ์ ก็นำมาบันทึกลงในสื่อ ต่าง ๆ (Externalization) เพื่อให้เป็นความรู้ที่เป็นรูปธรรม หรือ Explicit Knowledge มีการบันทึกลงในสื่อที่หลาก หลาย  ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการหลอมรวมความ รู้ดังกล่าว (Combination) ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้และ นำความรูู้่ไปใช้ในการปฎิบัติงานได้ และความรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติงาน นั้น จะก่อให้เกิดความรูู้้แบบ Tacit ขึ้นใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Internalization) และส่งต่อเพื่อให้เป็นความรู้แบบ Explicit Knowledge ต่อไปอีกเป็นเกลียวคลื่นความรู้ ไม่มีที่สิ้นสุด



ความเห็น (4)

สวัสดีครับอาจารย์Pวรรธนชัย ๏(。◕‿◕。)๏ ♫ ♬ ♪ ♩ ♭

ขออนุญาตินำข้อความดีๆไปรวมในรวมตะกอนครับ ขอบคุณมากครับ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

สวัสดีครับคุณ
P

สิทธิรักษ์

ได้เลยครับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ให้กัน 

ชอบอ่านที่อาจารย์เขียนตรงใจมาก 

ทำอย่างไรให้คนที่เขาอยากทำได้ทำ

คนที่ไม่มีโอกาสได้มีโอกาส และคยไหนจะควบคุมการกระทำได้ดี นะ

สวัสดีค่ะอาจารย์...วรรธนชัย ๏(。◕‿◕。)๏ ♫ ♬ ♪ ♩ ♭

  • เย็นนี้  เมื่อกลับจากการพานักเรียนทัศนศึกษา  เตรียมตัวไปเที่ยวกับนักเรียน
  • ครูอ้อยก็เป็นวิทยากรรับเชิญ..พูดเรื่อง  การทำผลงานทางวิชาการ  ครูอ้อยจะดำเนินการแบบ Km  ค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับรายละเอียดที่ดีมากค่ะ

แล้วจะเล่าให้อ่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท