ปริญญาเอก ม.ศิลปากร


การเรียนรู้ช่วยสร้างให้องค์กรแข็งแกร่ง และยั่งยืน

ถึง  นักศึกษาปริญญาเอก ม.ศิลปากร      

        สำหรับวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน ที่ผมจะไปสอนนี้ ผมจะพูด โดยเน้น 4 เรื่องด้วยกัน คือ

เรื่องแรก  ทฤษฎี 4L’s 

เรื่องที่สอง ทฤษฎีของ Peter Senge

เรื่องที่สาม ทฤษฎีของ Edward De Bono

เรื่องสุดท้ายสำคัญที่สุดผมอยากสอนให้ทุกท่านเรียนรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  

        ทั้งนี้ผมเห็นด้วยกับหัวข้อในเรื่องการสร้างการเรียนรู้ในองค์กร เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนผมยังไม่เคยสอนปริญญาเอก ที่ ม.ศิลปากร แต่อย่างไร ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเรียนรู้ครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  และจะเป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างนึง ผมอยากขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และต่อยอดทางความรู้ระหว่าง กันได้ที่ Blog นี้ครับ                            

                          จีระ  หงส์ลดารมภ์  

หมายเลขบันทึก: 105520เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ผมและนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ได้รับความกรุณาจากอาจารย์ที่ช่วยจุดประกายความคิดในศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้รับรู้ในความสามารถของอาจารย์เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจและสร้างแรงศรัทธาให้กับผมยิ่งกว่านั้นคือ บุคคลิกที่โดดเด่นและความเป็นผู้นำทางความคิดของอาจารย์ได้จุดประกายความคิดให้ผมเกิดความกล้าที่จะคิดและทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แม้เราจะกลับไปอยู่ในวงจรชีวิตเดิมๆ แต่สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้ให้เป็นสิ่งที่พวกเราชาวเทคโนฯ ศิลปากรจะร่วมเปลี่ยนแปลงและเป็นพลังผลักดันไปพร้อมกับอาจารย์เช่นกันครับ

 สิ่งที่อยากแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากอาจารย์ในวันนั้น ซึ่งเป็นการรับรู้โดยปราศจากอคติและเห็นด้วยกับอาจารย์ ร้อยเปอร์เซนต์ คือ แนวคิด Happy Learning

ซึ่งโดยส่วนตัวของผมเวลาผมสอนนักศึกษาของผมหรือได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรที่ได้ก็ตาม ผมจะนำเสนอทฤษฏี KAP (ทฤษฏีนิเทศศาสตร์พัฒนาการ) ทฤษฏีนี้อยู่เสมอ ซึ่ง K คือ Knowledge A คือ Attitude และ P คือ Practis สิ่งผมเน้นอยู่เสมอ คือ Attitude หรือทัศนคติทางการเรียนซึ่งมีความสอดคล้องกับ Happy Learnning ของอาจารย์  โดยหากมีทัศนคติที่ดีทางการเรียนแล้ว ผลลัพธ์อื่นจะตามมา เมื่อเพราะการเรียนอย่างมีความสุข จะนำมาซึ่งการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมหรือการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ขั้นสูง ดังนั้น ความสุขในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ หากพูดว่าเรียนสิ่งแรกที่คนเข้าใจคือความเครียด แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยความสุขที่แปลเปลียนจากความเครียดมาก มาเป็นเครียดน้อย ด้วยทัศนคติที่ดีในการเรียน อาจารย์ได้ให้ข้อคิดถึงการแบ่งปัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งการพัฒนาที่ดีได้ต้องมีความรู้สึกที่ดีตามมา กล่าวได้ว่า จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว ดังนั้นหากมีใจที่สู้แล้วมนุษย์ทุกคนจะสามารถฝ่าฟันได้ การศึกษาเป็นความหมายที่กว้าง การมีการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในโรงเรียนหากเป็นการศึกษาอยู่ตลอดชีวิต (life long learning) ซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร ยิ่งสามารถทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างง่ายดาย แต่สิ่งที่มนุษย์ขาดสิ่งนั้นคือการกำกับตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยขาด กล่าวได้ว่า หากไม่มีสถานการณ์บังคับให้ต้องเรียนรู้ มนุษย์ (โดยเฉพาะคนไทย) จะไม่แสวงหาความรู้ หากไม่ให้รายงานเราก็จะไม่ทำการศึกษา ไม่ทำการ search ข้อมูล การกำกับตนเองที่ดีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่งนั้นคือ ความพึงพอใจในการเรียนรู้สิ่งนั้นเองที่ ดร.จีระได้จุดประกายความคิดให้กับผม

คนระดับ ศาสตราจารย์ อย่างอาจารย์ยังศึกษาหาความรู้จาก อินเทอร์เน็ตอยู่ทุกวัน นอกจากนี้ยัง share ความรู้ผ่าน blog แห่งนี้ ซึ่งเป็นการแบ่งบันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นับว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ Happy learning และ Long Life Learning อย่างแท้จริง ทำให้คนอย่างเราต้องลุกขึ้น "กำกับตัวเอง" และ "ทำอะไรให้กับสังคมบ้าง" จริงไหมครับอาจารย์

สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากครับ ผมจะนำความรู้ที่ได้ ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนไปขยายต่อในรูปแบบของผมเพื่อไปปรับใช้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

สิ่งที่อาจารย์สอนสั่งวันนั้นไม่เสียเปล่าอย่างแน่นอนครับ 

เอกนฤน บางท่าไม้ (นักศึกษา ปริญญาเอก ม.ศิลปากร)

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเป็นนักศึกษาที่โชคดีคนหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากท่าน การได้เป็นศิษย์ของท่านวันเดียวก็เหมือนเป็นศิษย์ท่านชั่วชีวิต ท่านได้จุดประกายแห่งการเรียนรู้และทำให้ผมรู้จักตนเองมากขึ้น ท่านเรียนรู้ตลอดชีวิต ท่านไม่ใช่นักการศึกษาโดยตรงแต่ท่านถ่ายทอดความรู้ให้พวกเราได้ประจักษ์ “.....ท่านเป็นผู้รู้ที่ดีและเป็นผู้ที่ให้ความรู้ที่เก่ง....” ท่านมีวิธีการที่หลากหลาย สร้างบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง และทำให้ผมได้เกิดประกายแห่งการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

ประกายแห่งการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องของการใฝ่รู้......เราพยายามให้นักเรียนของเราใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามที่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้.....แต่เราไม่เคยอยากรู้ว่าเด็กนักเรียนของเราต้องการเรียนรู้อะไร การที่เราให้พวกเขาเรียนรู้ในสิ่งที่เข้าอยากเรียนก่อนแล้วเชื่อมโยงเข้าสู่มิติที่เราต้องการตามแนวคิดของ Edword De Bono ในรูปแบบ Lateral Thinking คงจะทำให้ความคิดในแนราบขยายข้ามศาสตร์ได้

ประกายแห่งการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผมได้เห็นแนวทางในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้กับเพื่อนครูโดยเฉพาะการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ คงต้องอาศัยหลักทฤษฏี 4L’S • Learning Methodology • Learning Environment • Learning Opportunities • Learning Communities ในขณะเดียวกันผมก็มีต้นทุนด้าน Digital Capital หรือทุนทาง IT ผมคิดว่าชุมชนออนไลน์คงเกิดขึ้นได้ตามความหวังและความตั้งใจที่ผมอยากให้เพื่อนครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนคงต้องใช้เวลาพอสมควร

ผมมีประกายแห่งการเรียนรู้หลายอย่างที่ได้จากความรู้ที่ท่านให้เป็นวิทยาทาน.... แต่ให้เพื่อนๆได้แสดงความคิดเห็นต่อไปคงจะดีกว่าเพื่อความหลากหลายทางความคิดและผมคงต้องฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านทางออนไลน์ต่อไปครับ

วรากร หงษ์โต

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

              ดิฉันเป็นนักศึกษาคนหนึ่งได้มีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายของท่านอาจารย์ ในประเด็นเกี่ยวกับ "กระบวนการและกลยุทธ์การพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร"  เพียงช่วงเวลา 2-3 ชั่วโมงในการบรรยายดังกล่าว มีประเด็นที่ทำให้ดิฉันเกิดแนวความคิดที่หลากหลาย แต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ตรงกับใจและความคิด คือ เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในการเรียนรู้  เพราะนักศึกษาเราส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี ยังไม่เข้าใจในจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยังคงเรียนเพื่อที่จะให้ผ่านไปในแต่ละรายวิชา ในแต่ละเทอม แม้กระทั่งให้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี  ดังนั้นดิฉันคิดว่าครู อาจารย์ ควรจะสอน ชี้แนะแนวทาง ปลุกจิตสำนึกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ คุณค่าในการเรียน เห็นว่าเราจะได้อะไร เราจะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนนั้นไปใช้ ประยุกต์ใช้อย่างไร แล้วเราจะสร้างคุณค่าให้มีมากขึ้นได้อย่างไรกับความรู้นั้นโดยให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว องค์กรและสังคม  แต่ไม่ใช่เราจะเปลี่ยน ปรับผู้เรียนเพียงฝ่ายเดียว เราในฐานะที่เป็นครู อาจารย์ เป็นผู้ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้  เป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนนั้นควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนเพื่อเอื้อกับหลักและแนวทางในการส่งเสริมผู้เรียนให้คิดเป็น คิดดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติต่อไป

 ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เสียสละเวลาในการบรรยาย แสดงความคิดเห็นและชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ให้กับดิฉันและเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน แม้จะเป็นเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมงแต่เป็นประโยชน์ให้กับคน 8 คน ได้หยุดคิดและมีหลักในการคิดอันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ทั้งของตนเองและลูกศิษย์ของเรา และสำหรับตัวดิฉันเองจะได้นำทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม ที่อาจารย์ได้ให้ไว้มาปฏิบัติเพื่อให้ผลที่เป็นรูปธรรมต่อไปค่ะ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

จากที่ได้รับฟังอาจารย์บรรยาย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร สิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายทำให้ดิฉันสามารถเข้าใจ การเรียนรู้ในองค์กร ถึงแม้จะเป็นเพียง 3 ชม. เท่านั้น ในการเรียนในสิ่งที่อาจารย์ได้ฝากเป็นข้อคิดเพื่อนำไปพัฒนาความคิดของตัวเองและยังนำไปพัฒนาความคิดของผู้อื่นที่เกี่ยวได้ค่ะ ซึ่งดิฉันขออนุญาตสรุป ในสิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายไว้ดังนี้

การเรียนรู้ในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคนเราต้องเปลี่ยนนิสัย (Habbit)  ในการใฝ่รู้ ด้วยตนเอง เนื่องจากสังคมไทยมักมีข้อสมมุติฐานที่ว่า “เรียนคือเรื่องในระบบ เมื่อจบแล้วก็เลิกกัน” นั้นคือ คนไทยโดยส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าเมื่อเรียนจบในระบบการศึกษาแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุดไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ความคิดเหล่านี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่ขาดการใฝ่รู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่สังคมของการเรียนรู้ การสร้างสังคมให้เกิดการเรียนรู้ จึงต้องนำทฤษฎี 4L'S และ ทฤษฎี 2R'S มาใช้

            ทฤษฎี 4L'S
1.      Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ เป็นการเน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดให้มีการ Workshop การทำ assignment โดยใช้ ICT และMultimedia
2.      Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยการให้ความสำคัญกับวิธีนั่งเรียน การจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เกิดการ Relay เน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coacling , Facilitator , Mentoring
3.      Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมหารือกับวิทยากรกับผู้เชี่ยวชาญ สามารถสร้างให้เกิดโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน ซึ่งจะนำมาสู่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
4.      Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง
ทฤษฎี 2R'S
1.      Reality – มองความจริง
2.      Relevance – ตรงประเด็น
นอกจากทฤษฎี 4L'S และทฤษฎี 2R'S ของ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ แล้วกฎของ Peter Senge ที่ว่า
Personal Mastery    รู้อะไร รู้ให้จริง
Mental Models         แบบอย่างทางความคิด
Shared Vision          เห็นอนาคตร่วมกัน
Team Learning        เรียนเป็นทีม
System Thinking       คิดมีเหตุผล

 รวมทั้ง ทฤษฎี 6 Hats ของ Edward De Bono เป็นวิธีคิดแบบ Lateral Thinking เป็นการคิดในลักษณะแนวนอน เป็นการมองข้ามศาสตร์ ซึ่งมีวิธีคิด 6 วิธี ใช้หมวก 6  ใบ
1. คิดได้ แต่ต้องมีข้อมูล (หมวกขาว)
2. เป็นคนเก่งคิด คือ คิดเยอะ แต่คิดอย่างระวังและอนุรักษ์นิยม (หมวกดำ)
3. คิดเร็ว และไปข้างหน้า ชอบความเสี่ยง มองอะไรดีไปหมด (หมวกเหลือง)
4. คิดสร้างสรรค์ Creative Thinking (หมวกเขียว)
5. คิดตามอารมณ์ และความรู้สึก (หมวดแดง) (คนไทยมีเยอะ)
6. Control of Thinking มองทั้ง 5 หัวข้อ และมาวิเคราะห์ดูว่าใช้ตัวไหนให้ถูกต้อง ไม่ให้ขัดแย้งกัน (หมวกฟ้า)

จากทฤษฎี 4L'S ทฤษฎี 2R'S กฎของ Peter Senge และ ทฤษฎี 6 Hats ของ
 Edward De Bono จะทำให้มุมมองของการเรียนหนังสือในโลกยุคใหม่เปลี่ยนไปเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ซึ่งนำไปสู่ความชาญฉลาด ตามหลักทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้น การพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร จึงต้องสร้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมและให้โอกาสทุกคนได้มีความคิดที่นอกกรอบ เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างแท้จริง

 หลักการที่อาจารย์ได้บรรยายมาทั้งหมดนี้ ก็คงจะเป็นเพียงแค่หลักการและทฤษฏี สิ่งสำคัญที่อาจารย์ทำให้ดิฉันได้ข้อคิด นั่นก็คือ จะนำทฤษฏีหลักการที่อาจารย์ได้ให้แนวทางไว้กับพวกเราไปใช้ในชีวิตจริง ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทยได้อย่างไร ?

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ หวังว่าคราวหน้าคงได้มีโอกาสฟังบรรยายพิเศษจากอาจารย์อีกนะคะ 

สมัครสมร (นักศึกษาปริญญาเอก ม.ศิลปากร)

สมัครสมร ภักดีเทวา

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

จากที่ได้รับฟังอาจารย์บรรยาย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร สิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายทำให้ดิฉันสามารถเข้าใจ การเรียนรู้ในองค์กร ถึงแม้จะเป็นเพียง 3 ชม. เท่านั้น ในการเรียนในสิ่งที่อาจารย์ได้ฝากเป็นข้อคิดเพื่อนำไปพัฒนาความคิดของตัวเองและยังนำไปพัฒนาความคิดของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้ค่ะ ซึ่งดิฉันขออนุญาตสรุป ในสิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายไว้ดังนี้

การเรียนรู้ในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคนเราต้องเปลี่ยนนิสัย (Habbit)  ในการใฝ่รู้ ด้วยตนเอง เนื่องจากสังคมไทยมักมีข้อสมมุติฐานที่ว่า “เรียนคือเรื่องในระบบ เมื่อจบแล้วก็เลิกกัน” นั้นคือ คนไทยโดยส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าเมื่อเรียนจบในระบบการศึกษาแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุดไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ความคิดเหล่านี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่ขาดการใฝ่รู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่สังคมของการเรียนรู้ การสร้างสังคมให้เกิดการเรียนรู้ จึงต้องนำทฤษฎี 4L'S และ ทฤษฎี 2R'S มาใช้

            ทฤษฎี 4L'S
1.      Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ เป็นการเน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดให้มีการ Workshop การทำ assignment โดยใช้ ICT และMultimedia
2.      Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยการให้ความสำคัญกับวิธีนั่งเรียน การจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เกิดการ Relay เน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coacling , Facilitator , Mentoring
3.      Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมหารือกับวิทยากรกับผู้เชี่ยวชาญ สามารถสร้างให้เกิดโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน ซึ่งจะนำมาสู่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
4.      Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง
ทฤษฎี 2R'S
1.      Reality – มองความจริง
2.      Relevance – ตรงประเด็น
นอกจากทฤษฎี 4L'S และทฤษฎี 2R'S ของ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ แล้วกฎของ Peter Senge ที่ว่า
Personal Mastery    รู้อะไร รู้ให้จริง
Mental Models         แบบอย่างทางความคิด
Shared Vision          เห็นอนาคตร่วมกัน
Team Learning        เรียนเป็นทีม
System Thinking       คิดมีเหตุผล

 รวมทั้ง ทฤษฎี 6 Hats ของ Edward De Bono เป็นวิธีคิดแบบ Lateral Thinking เป็นการคิดในลักษณะแนวนอน เป็นการมองข้ามศาสตร์ ซึ่งมีวิธีคิด 6 วิธี ใช้หมวก 6  ใบ
1. คิดได้ แต่ต้องมีข้อมูล (หมวกขาว)
2. เป็นคนเก่งคิด คือ คิดเยอะ แต่คิดอย่างระวังและอนุรักษ์นิยม (หมวกดำ)
3. คิดเร็ว และไปข้างหน้า ชอบความเสี่ยง มองอะไรดีไปหมด (หมวกเหลือง)
4. คิดสร้างสรรค์ Creative Thinking (หมวกเขียว)
5. คิดตามอารมณ์ และความรู้สึก (หมวดแดง) (คนไทยมีเยอะ)
6. Control of Thinking มองทั้ง 5 หัวข้อ และมาวิเคราะห์ดูว่าใช้ตัวไหนให้ถูกต้อง ไม่ให้ขัดแย้งกัน (หมวกฟ้า)

จากทฤษฎี 4L'S ทฤษฎี 2R'S กฎของ Peter Senge และ ทฤษฎี 6 Hats ของ
 Edward De Bono จะทำให้มุมมองของการเรียนหนังสือในโลกยุคใหม่เปลี่ยนไปเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ซึ่งนำไปสู่ความชาญฉลาด ตามหลักทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้น การพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร จึงต้องสร้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมและให้โอกาสทุกคนได้มีความคิดที่นอกกรอบ เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างแท้จริง

 หลักการที่อาจารย์ได้บรรยายมาทั้งหมดนี้ ก็คงจะเป็นเพียงแค่หลักการและทฤษฏี สิ่งสำคัญที่อาจารย์ทำให้ดิฉันได้ข้อคิด นั่นก็คือ จะนำทฤษฏีหลักการที่อาจารย์ได้ให้แนวทางไว้กับพวกเราไปใช้ในชีวิตจริง ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทยได้อย่างไร ?

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ หวังว่าคราวหน้าคงได้มีโอกาสฟังบรรยายพิเศษจากอาจารย์อีกนะคะ 

สมัครสมร (นักศึกษาปริญญาเอก ม.ศิลปากร)

นายวิวรรธน์ จันทร์เทพย์

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

        เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2550 ผมได้เข้าร่วมฟังการบรรยายถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์  เรื่อง การพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร แม้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่สึกภูมิใจที่ได้สัมผัสกับครูผู้มี"ความรู้"ที่รู้จริง  และมี"ความสามารถ"ในการถ่ายทอดได้อย่างน่าทึ่ง  ยิ่งกว่าคนเรียนสายครูมาโดยตรงเสียอีก  ลีลาการสอนแพรวพราวทั้งขู่ ขย่ม ปลอบ ให้กำลังใจ เสริมแรง มีทุกกระบวนท่าซึ่งทั้งหมดถูกกลั่นมาจากจิตวิญญาณของความเป็นครูโดยแท้

        แรกพบนึกว่าท่านอาจารย์จะยึดติดกับมาตรของผู้รู้และมีชื่อเสียง แต่พอเรียน ๆ ไปความนึกคิดเช่นนั้นก็เริ่มคลายลงไปกลายเป็นความน่าทึ่ง  อาจารย์เล่นกับความรู้จนดูมันเชื่องไปเสียทุกศาสตร์ทุกแขนง  ต่างพรั่งพรูออกมาเชื่อมโยงกันให้เห็นแนวคิดเป็นภาพรวมของการพัฒนามนุษย์ด้วยปรัชญา  หลักการ และทฤษฎีทั้งตะวันตกและตะวันออก  อาจารย์ได้ขมวดและสรุปให้เห็นตลอดเวลาว่า มนุษย์จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการเรียนรู้หรือการศึกษาตลอดชีวิต (Long-life Education)เป็นสำคัญ

         มีหลายทฤษฎีที่อาจารย์บรรยายให้ฟัง  ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่มุ่งถ่วงดุลความไม่พอดีให้มีความพอดีด้วยการบูรณาการ เช่น แนวคิดของ Bonoที่เรียกว่า Lateral Thinking เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ในแนวราบที่ถ่วงดุลกับการเรียนรู้ในแนวดิ่งลึกจนไม่สามารถมีสัมพันธ์กับสิ่งอื่นได้  ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียถึงขั้นอันตรายได้  แต่ในทางตรงกันข้ามหากเรียนรู้ในแนวราบมากเกินไปไม่สนใจใฝ่รู้ในแนวลึก อาจแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนเฉพาะทางไม่ได้เช่นกัน

         ทฤษฎี 4Ls และ 2Rs ของท่านอาจารย์เองมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กร  โดยเน้นว่ามนุษย์มีวิธีการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดคุณค่าได้มี 4 วิธีได้แก่  การเรียนรู้วิธีการ (Learning Methodology)  การเรียนรู้ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อม (Learning Environment) การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ (Learning Opportunities) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Comunities) ส่วนทฤษฎี 2Rs เสมือนเป็นคาถาที่ใช้ฟันธงว่าการเรียนรู้ที่มีคุณค่าอีกมิติหนึ่งคือ ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นจริง(Reality)และตรงประเด็น(Relevance)

         ทฤษฎีของ Peter Senge มีส่วนที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับทฤษฎี 4Ls และ 2Rs รวมกัน  โดย Sengeกล่าวว่ามนุษย์จะเรียนรู้อย่างมีคุณค่าได้ต้องมีลักษณะดังนี้คือ ต้องรู้จริงรู้อย่างชำนาญ (Personal Mastery) การมีแบบอย่างทางความคิด (Mental Model) มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์กัน (Shared Vision) การเรียนรู้อย่างเป็นทีม (Team Learning) การคิดอย่างเป็นระบบ(System Thinking)

         หลักปรัชญา และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีพื้นฐานสำคัญจากหลักคำสอนของพุทธศาสตร์ ที่อาศัยแนวคิดอันเป็นกฎแห่งธรรมชาติซึ่งเป็นเหตุเป็นผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งยังเน้นให้เห็นว่าสรรพสิ่งใดใดดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพิงหนุนเนื่องซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  หลักปรัชญาและทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นทั้งระบบการคิด และการลงมือปฏิบัติโดยคำนึงถึงเหตุผลของความพอดีพอเหมาะพอสมของปัจจัยของแต่ละงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะแต่ละงาน แต่ละคน แต่ละสังคม แต่ละสถานการณ์ แต่ละยุคสมัยมีเหตุปัจจัยแตกต่างกัน  จะเห็นได้ว่าหากจะนำทฤษฎีนี้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความรู้ทั้งแนวราบและแนวดิ่งผสมผสานบูรณาการเข้าด้วยกัน  และในที่สุดทฤษฎีนี้ก็จะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้กับทุกสถานการณ์และตลอดเวลา

         ยิ่งฟังอาจารย์บรรยายก็ยิ่งเห็นภาพของการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน  แม้ในหลักสูตรจะแยกกันเป็นรายวิชา แต่ในการดำเนินชีวิตจริงมนุษย์ใช้ความรู้ทุกวิชาอย่างเป็นอันหนึ่งกันเดียวกัน  การใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาและทุกสถานการณ์เท่านั้นที่จะเพิ่มคุณค่าความเป็นมนุษย์ได้ ผมเรียนรู้ทั้งหมดนี้ด้วยความโชคดีที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ของอาจารย์  อาจารย์ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ทั้งหลายจนกลายเป็นปัญญา  ทำให้เห็นถึงสภาวะของความสว่างไสว เบาสบาย  ลื่นไหล ไม่ติดขัด จากการเรียนรู้จากครูผู้รู้จริงและตรงประเด็นครับ

                                     ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                                  จากศิษย์

                                   นักศึกษา ป.เอก ม.ศิลปากร

เรียน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์        เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา กระผมได้รับฟังอาจารย์บรรยายในหัวข้อ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ในองค์กรณ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร   โดยส่วนตัวแล้วกระผมทำงานทางด้านฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง   การได้รับฟังอาจารย์บรรยายทำให้เกิดประกายความคิดหลายประการเกี่ยวกับงานประจำที่ทำอยู่   เมื่อผมกลับมาทบทวนหลักการที่อาจารย์ได้กรุณาอธิบายให้ฟัง กลับมามองลักษณะงานที่ตนเองทำอยู่ในปัจจุบันว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด จุดสำคัญ ของการเรียนรู้ในองค์กร ก็คือบุคลากรต้องเปลี่ยนนิสัย (Habbit)  ในการใฝ่รู้ ด้วยตัวเอง จากประสบการณ์ทำงานของกระผมในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรพบว่า     ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมาก เข้ารับการอบรมตามหน้าที่ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนมากไม่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม จึงส่งผลให้หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมนั้นอาจมีอยู่ในระยะสั้น และไม่เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงกลับมาสู่คำถามที่ท่านอาจารย์ ได้ถามผมก่อนการบรรยายว่า หลังจากอบรมแล้วได้ผลตามที่ต้องการหรือเปล่า   ซึ่งอาจารย์ก็ได้กรุณาบรรยายปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมให้เกิดการเรียนรู้1. ทฤษฎี 2R'S
    1.1 Reality – มองความจริง
    1.2 Relevance – ตรงประเด็น       สอดคล้องกับความคิดของผมซึ่งเห็นว่า ถ้าเรายอมรับความจริง ทำให้เราสามารถมองทุกสิ่งทุกอย่างตรงประเด็น ( Relevance ) และสามารถดำเนินชีวิต หรือแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างตรงจุด  2. ทฤษฎี 4L'S     2.1 Learning Methodology  เข้าใจวิธีการเรียนรู้ เน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดเห็น    2.2 Learning Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
    2.3 Learning Opportunities  สร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน        
    2.4 Learning Communities  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้       สำหรับทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น กระผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าทฤษฎี 4L'S ของอาจารย์  มีความสำคัญในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร     ในการฝึกอบรมในปัจจุบัน หลายหน่วยงานทุ่มเงินในการสร้างบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมาก เช่นการศึกษานอกสถานที่ การอบรมสัมมนาตามโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ    เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยืนยาวในระดับต่อไป
3. ทฤษฎีของ Peter Senge
    3.1 Personal Mastery      รู้อะไร รู้ให้จริง
    3.2 Mental Models         แบบอย่างทางความคิด
    3.3 Shared Vision          เห็นอนาคตร่วมกัน
    3.4 Team Learning         เรียนเป็นทีม
    3.5 System Thinking       คิดมีเหตุผล

      จากหลักทฤษฎีที่อาจารย์ได้บรรยายมาทั้งหมดนี้  จะเป็นหลักการในการทำงานและการเรียนในชีวิตของผมได้เป็นอย่างดี

 นายธนภาส    อยู่ใจเย็น 
สุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง
                ก่อนอื่นต้องขอโทษท่านอาจารย์จีระเป็นอย่างสูงที่เขียนถึงอาจารย์ล่าช้าก่วาเพื่อนคนอื่นๆ  กระผม นายสุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม หลังจากได้ฟังท่านอาจารย์บรรยายให้ความรู้ในด้านต่างๆ ทำให้ผมค้นหาเรื่องราวการเรียนรู้ การใช้ชีวิต การอยู่รอดในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมต้องทำงานทางด้าน คนพิการ ที่ต้องเรียนรู้การดูแลเอาใจใส่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ จากคำที่อาจารย์กล่าว ถ้าให้ปลาเขากินเขาจะมีกินเพียงครั้งเดียวแต่เราควรจะสอนวิธีการจับปลาให้กับเขาเหล่านั้น จะทำให้เขาเหล่านั้นมีคุณค่า จากการบรรยายผมยังไปค้นหาในที่ต่างๆ และทบทวนเรื่องราวที่ผ่านๆมาจากประสบการณ์ประกอบกับการที่ได้ฟังการบรรยายในครั้งนั้น ทำให้ทราบถึงการที่เราจะทำอะไรนั้นไม่ได้จะเสร็จสมบูรณ์เพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งเท่านั้นแต่มันประสานกลมกลืนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หลักของ 4L,2R ในการเรียนรู้ในสิ่งต่างในบางครั้งยังมีหลายๆทฤษฏีที่นำมาใช้ในการเรียนรู้ก็อยู่ในวงของ 4L,2R หรือหลักการสอนที่ท่านอาจารย์ใช้บรรยาย แล้วแต่ใครจะหยิบตรงใหนในความรู้ที่อาจารย์ถ่ายทอดจากประสบการณ์ที่สะสมมาทั้งหมดบรรยายให้เหลือเพียง 3 ชั่วโมงเศษซึ่งน้อยมากแต่ผมก็ยังค้นหาในสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้ …..Who am I……แต่ต้องบอกว่าเป็นเพราะอาจารย์ที่จุดประกายในความรู้ให้กระจ่างขึ้นจากประสบการณ์และการเกี่ยวโยงของศาสตร์ต่างๆ                จึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านอาจารย์มาให้ความรู้ในครั้งนี้ละครั้งต่อๆไป นายสุวัฒน์ชัย  จันทร์เฮงนักศึกษาปริญญาเอกเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา....

ศ.ดร.จีระ ให้เกียรติกับนักศึกษาปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการศึกษา อีกครั้งในการบรรยายในหัวข้อ นวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งผมในฐานะศิษย์คนหนึ่ง ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง จากวันนั้นสิ่งที่อาจารย์ได้ให้ความรู้กับพวกเราซึ่งมีแนวคิดที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ในการทำงานได้จริง สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นและคิดว่าจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้ สิ่งนั้นคือ มุมมองการสื่อสารในด้านการศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในด้านการสร้างชื่อเสียง เนื่องจากการสื่อสารมวลชนเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Participant) ได้กว้างและรวดเร็วมากที่สุดและมีอิทธิพลสูง สถาบันการศึกษาจึงควรหันมาสนใจในการสื่อสารกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดตัวอาจารย์ให้เป็นทีรู้จักกับสังคมมากยิ่งขึ้น ทำให้ช่องทางในการสื่อสารในสถาบันกว้างและลึกถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้มุมมองด้านการสื่อสารที่อาจารย์ได้ให้แง่คิดอีกส่วนหนึ่งคือมุมมองการนำเสนอ (presentation) ซึ่งการนำเสนอที่ดีจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีเช่นกัน โดยส่วนมากสถาบันการศึกษามักจะมุ่งเน้นน้ำหนักไปในส่วนของ "เนื้อหา" "สาระ" ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งดี แต่ก็นับได้ว่า "หนัก" สำหรับผู้เรียน ผู้ชม ผู้รับรู้ ดังนั้นการการนำเสนอ ที่ดีจะช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาที่หนักจะผ่อนคลายลง ด้วยขั้นตอน การสร้างสรรค์ หรือการออกแบบต่าง  ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอเพื่อให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อและมีสาระแฝง เป็นสิ่งที่พวกเราต้องกลับไปคิด ทบทวน เพื่อช่วยให้งานที่เป็นสาระของพวกเรามีความน่าสนใจ จดจำได้เป็นอย่างดี สำหรับการศึกษาท่านดร.จีระยังแนะนำให้พวกเราติดตาม กระบวนการศึกษาเรียนรู้ของประเทศอินเดียซึ่งถือว่ามีความก้าวหน้า รวดเร็ว และสร้างกันอย่างจริงจัง เพราะอินเดียเป็นสังคมที่อุดมด้วยความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสิ่งที่เราต้องศึกษากันต่อไป

ศิษย์จึงขอกราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งในความกรุณา และจะเป็นพลังหนึ่งที่ช่วยในการผลักดันการสร้างฐานองค์ความรู้ต่อไป

 

วันนี้ผมอยากจะเข้ามาแสดงความคิดเห็นในเรื่อง ของผู้นำและผู้ผู้บริหาร โดยจากการ Lecture ของอาจารย์ที่กล่าวว่า

ผู้นำ จะเน้นที่คน Trust ระยะยาว what why  มองอนาคต ภาพลักษณ์ เน้นนวัตกรรม มChange

ส่วนผู้บริหาร จะเน้นระบบ ควบคุม ระยะสั้น when, How to กำไร ขาดทุน จัดการให้สำเร็จประสิทธิภาพ Static

ซึ่งผมมองว่า ก่อนที่จะเป็นผู้บริหารจะต้องมีความเป็นผู้นำก่อน เพราะการจะเป็นผู้บริหารจะต้องมีกระบวนการคิด การจัดการทั้งสองด้านจึงจะสำเร็จ ซึ่งในกระบวนการเรียนของพวกเราในครั้งนี้อาจารย์ให้แง่คิดในด้านการบริหารจัดการโดยใช้ทฤษฏี 2R's ซึ่งมองความจริง (Reality)  และตรงประเด็น (Relevance) อาจารย์ให้แงคิดกับพวกเราถึงการสร้างองค์ความรู้และการ Share Information เพื่อสร้างองค์กรทางการเรียนรู้ ซึ่งอาจารย์เน้นย้ำกับพวกเราว่าสิ่งนี้นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมเช่นกัน ดังนั้นพวกเราจึงควรคิดว่าควรจะสร้างความใหม่ (เนื่อจากนวัตกรรมเน้นความใหม่ กับการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย)

การส่ง blog ในครั้งนี้จึงไม่ควรหยุดกันแต่เพียงเท่านั้นการสร้างองค์ความรู้ และ share Information จึงเป็นส่งที่พวกเราควรร่วมกันสร้าง เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

สมัครสมร ภักดีเทวา

เรียน ศ.ดร.จีระที่เคารพ

จากวันเสาร์ที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา อาจารย์ได้บรรยายเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษานั้น ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดเรื่อง Innovation ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาว่า Innovation นั้น เป็นเรื่องของความคิดใหม่ หรือความคิดสร้างสรรค์และ บวกด้วยความรู้ นั่นคึอ ต้องทั้งฐานความรู้และฐานข้อมูลที่จะนำไปสู่เรื่องของ Product ใหม่ การให้บริการ การบริหารจัดการแบบใหม่ (Branding หรือ Process Management) รวมทั้งนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เช่น ชุมชนและการศึกษา โดยประเด็นดังกล่าว การจะทำให้เกิด Innovation ทางการศึกษาได้ ผู้นำเป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน Innovation โดยผู้นำที่ดีต้องมี Innovation จะต้องนำทฤษฏี 2R's คือ Reallity (มองความจริง) และ Relevence (ตรงประเด็น) มาใช้ เพราะในด้านของศึกษาศาสตร์ นอกจากจะต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ แล้วต้องคิดอย่างลึก เพราะจุดอ่อนของเราคือ ชอบลอกความคิดของคนอื่นมามากกว่าใช้ความคิดของตนเอง ดังนั้น Innovation ที่ได้มาจึงไม่ได้มาจาก ความคิดที่เกิดจากการสังเคราะห์ทำให้นวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้ ไม่เกิด Product ใหม่ ๆ ที่นำไปสู่นวัตกรรมทางสังคมของไทยได้

การบรรยายของอาจารย์ทุกครั้งจึงเปรียบเสมือนการจุดประกายความคิด ประกายไฟ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดพลังที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ขอกราบขอบพระคุณค่ะ

นายธนภาส อยู่ใจเย็น
เรียน ศ.ดร.จีระ     หงส์ลดารมภ์    เมื่อวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ได้กรุณามาบรรยายให้กับผมและเพื่อนๆ  ฟังอีกครั้ง  สำหรับผมและเพื่อนๆทุกคน  ถือเป็นความกรุณาอย่างสูงที่อาจารย์กรุณาสละเวลาเพื่อเข้ามาบรรยายเป็นอย่างมาก  เพราะแนวความคิดของอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการจุดประกายความคิดในการทำงานสำหรับผมเป็นอย่างมาก   เรื่องที่อาจารย์กรุณาสั่งสอนในวันนั้นล้วน เป็นเรื่องที่สำคัญในการทำงานทั้งสิ้น โดยมีเรื่องสำคัญและน่าสนใจมาก คือการเป็นผู้นำที่ดีในองค์กรต้องมี Innovation ซึ่งเป็นเรื่องของ  Ideas ใหม่ หรือ Creativity บวกกับความรู้ โดยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานยุคปัจจุบัน     โดยจุดอ่อนของเรื่องดังกล่าวในองค์กรปัจจุบัน  คือเรื่องของการ  Share ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร     ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้โดยการสร้างให้หน่วยงานให้มีวัฒนธรรมในการแสวงหาความรู้ หรือเรียกว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้”   โดยใช้ทฤษฎี 4L’s    ซึ่งต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม  และองค์กรจะต้องมีทุนที่สำคัญ ก็คือ Social Capital  และสร้าง Network ให้กว้างขึ้น เพราะข้อมูล ความรู้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานในทุกองค์กรในปัจจุบัน และอีกสิ่งที่จุดประกายอย่างมากในความสำเร็จของการทำงาน อาจารย์ได้กรุณาพูดถึงการให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customers) ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งผมเองถือว่านี่คือหัวในในการทำงาน ในบางองค์กรให้ความสำคัญกับลูกค้าภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวจนลืมลูกค้าภายในองค์กรตนเอง กระผมขอกราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งในความกรุณา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบอาจารย์อีกในโอกาสต่อไปเพื่อเรียนรู้สิ่งดีๆจากอาจารย์
นายสุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง
ดทน  / พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง / หาความรู้หลาย ๆ ศาสตร์และสด /ค่อย ๆ ทำเป็น Step อย่ารีบร้อน / สร้าง Innovation Cultgure ในระบบการศึกษาอาจารย์ครั้บ......ผมพยายามเข้า Blogของอาจารย์หลายครั้งจากระบบองมหาวิทยาลัยแต่ไม่สำเร็จวันนี้โชคดีจังครับที่ได้เขียนถึงอาจารย์......มีหลายครั้งที่ผมแก้ปัญหาจากการบริหารระบบไม่ได้เพราะอาจเป็นผู้ปฎิบัติไม่ร่วมมือ.....เมื่อมารับฟังอาจารย์บรรยายในเรื่องของการบริหารองค์กรการทำงาน......การแก้ปัญหา (บทเรียนจากความจริง) แต่บางคนที่ปฎิบัติอยู่รับไม่ได้หรือคิดว่าตนเองจะไม่มีอำนาจ (หรือไม่มีงานทำ/คิดงานทำไม่เป็น)ทำให้งานหลายด้านติดขัดการรอเวลาที่เหมาะสมและการเชื่อใจกันในการทำงานอาจจะไม่สำเร็จ ”บทเรียนจากความจริง” อาจจะเจ็บปวดบ้างมากน้อยต่างกันไปแต่ก็ทำให้เรารียนรู้ในบริบทรอบๆข้างได้เป็นอย่างดี.......จากทฤษฎี 3 C ที่ท่านอาจารย์สอนทำให้กระผมผูกโยงมาใช้ในการปฏิบัติได้จริงและพยายามที่จะสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจผมยังตามหาจริงหรือในปัจจุบันที่การสั่งการแบบ “ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ” หรือ “ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง” ขอขอบพระคุณที่อาจารย์ชี้แนะแนวทางจากประสบการณ์ของอาจารย์มาปรับใช้กับการทำงานและเห็นจุดแข็งจุดอ่อนและแนวโน้มการบริหารงานได้จริงๆ                  นายสุวัฒน์ชัย จันทร์เฮงนักศึกษาปริญญาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
นางสาวน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

             ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2  ที่ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกไซเบอร์แห่งนี้นะคะ   และก็เป็นครั้งที่ 2 เช่นกันที่ท่านอาจารย์ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้พวกเรา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เกิดแรงกระตุ้น แรงบันดาลใจ และจุดประกายให้ขวนขวายหาความรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป

             สิ่งที่ได้จากการบรรยายครั้งที่ 2 นี้คือ เรื่องของ Social Capital  ที่เห็นจะตรงใจมากที่สุดเนื่องมาจากว่า คนไทยไม่ค่อยสร้างเครือข่ายเท่าไหร่ มักจะเป็นไปในแนวที่ว่า ฉายเดี่ยว มากกว่า สังเกตได้จากกีฬาที่คนไทยได้เหรียญในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ จะเป็นลักษณะเดี่ยวทั้งสิ้น กีฬาที่เป็นทีม มักจะไม่เข้ารอบเท่าไหร่ ซึ่งสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้

             การสร้างเครือข่ายหรือที่เรียกว่า NetWork  นั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์เราไม่สามารถจะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ในตัวคนๆเดียว หรือแม้ว่าจะทำได้ แต่ไม่ได้ในระดับดีเลิศ  ดังนั้นในการที่เราจะทำอะไรให้สำเร็จ และสำเร็จอย่างดีนั้นจะต้องอาศัยความเป็นเครือข่าย ความเป็น Team Work  ถึงแม้จะไม่ได้ร่วมกันลงมือทำทุกคน แต่แม้ว่าคำแนะนำเพียงเล็กน้อยก็ทำให้งานนั้นสำเร็จได้เช่นกัน  เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ในสังคมของนักการศึกษา ครู อาจารย์ ก็น่าจะมีการสร้างเครือข่ายหรือแม้แต่สังคมเครือข่ายของนักศึกษาปริญญาเอกในสาขาเดียวกัน จะได้ให้ความรู้ คำแนะนำ ช่วยเหลือกันในด้านการวิจัย นอกจากจะเป็นการช่วยกันในด้านการเรียนแล้ว ยังช่วยสร้างสังคมให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

 สุดท้ายนี้ ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งนะคะ ที่เสียสละเวลาอันมีค่า มากระตุ้นให้พวกเราเกิดแรงบันดาลใจในการใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องค่ะ

 

    ผมกำลังรอการวิเคราะห์เรื่อง นวัตกรรมกับการศึกษาจากลูกศิษย์ของผม ซึ่งอาจจะเป็นแนวคิดใหม่ ที่หลายท่านยังไม่ค่อยเคยเห็น เรื่องสังคมการเีรียนรู้ สามารถต่อยอดไปได้ด้วยดี คงจะต้องหารือเพิ่มเติมในหัวข้อนวัตกรรม ในช่วงนี้ Blog ของเราเ้ข้ายากหน่อย เพราะมีคนเปิดเข้ามาดูมาก ผมขอฝาก 2 เรื่อง คือ

1.  ผมจะเชิญทั้ง 8 ท่านมาพบปะกันที่ Office ของผมที่ปิ่นเกล้า เพื่อสร้างความคุ้นเคยกัน สักเดือน 1 ครั้ง

2.  อยากให้โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนปริญญาเอก มีความสนใจในด้านวิชาการมากขึ้น

ตอนนี้ Blog นี้ของผมมีคนเปิดเ้ข้ามาดูแล้วเกือบ 400 คน

          หวังว่าลูกศิษย์ของผมทุกท่านคงจะร่วมกันคิดวิเคราะห์ ในเรืื่องนวัตกรรม และส่ง Blog เข้ามา Share กันนะครับ 

                                                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันนี้ (15 กันยายน 2550)

นักศึกษาปริญญาเอก ม.ศิลปากร ได้ร่วมกันสรุปประเด็น ที่ดร.จีระ ได้ให้ความรู้กับพวกเราไว้เมื่อ 25 สค. ที่ผ่านมา ประเด็นที่พวกเราสรุปกันจะอยู่ในเรื่องของบทบาทผู้นำ แต่ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ได้ให้ข้อคิดในเรื่องของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Management) นอกจากนี้อาจารย์แนะนำถึง จะทำอย่างไรให้ผู้นำเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ ซึ่ง Crativity จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้พัฒนากระบวนการคิด ซึ่งความคิดของคนน่าจะเกิดขึ้นก่อน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เป็นสิ่งที่อาจารย์ฝากให้พวกเราไปคิดกันต่อไป ผมจึงมองว่าการสร้างสรรค์ จึงไม่ใช่การนำความคิดของผู้อื่นมาใช้ แต่ควรปรับและยอมรับความคิดของผู้อื่นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองได้ การยอมรับซึ่งกันและกัน ผลัดกันเป็นผู้นำทางความคิดจะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์องค์วามรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี  

นายวิวรรธน์ จันทร์เทพย์

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

                เมื่อคราววันที่ 25 ก.ค.50นั้นผมนึกว่าผมโชคดีมากแล้วที่ได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ในห้องเรียน  แต่ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 ส.ค.50 อาจารย์ได้บรรยายเรื่อง นวัตกรรมทางการศึกษา ครั้งนี้ได้สาระที่เป็นแก่นและเป็นสัจจะของโลกหลายประเด็น  ทำให้ผมคล้อยตามด้วยเหตุผลของความจริงซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 4L’S ที่อาจารย์เคยบรรยายคราวที่แล้ว โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องคุณสมบัติของ นวัตกรหรือ innovator อาจารย์เน้นย้ำหลายครั้งว่านวัตกรต้องเป็นผู้ที่มีแนวคิดแบบ นอกกรอบ คิดจากจินตนาการ แล้วจึงค่อยๆจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์  สังคม  และสิ่งแวดล้อมต่อไป  ทำให้มองเห็นความหมายอันแยบยลของการคิด นอกกรอบ ซึ่งผมคิดว่าแตกต่างจากการคิดแบบ นอกคอก อย่างชัดเจน

                แนวทางหนึ่งที่นวัตกรจะสามารถคิดนอกกรอบได้ก็ต่อเมื่อมีความเป็นเสรีภาพและประชาธิปไตย  คำว่า เสรีภาพ ในความหมายของอาจารย์หมายถึงความเป็นอิสระของสภาวะจิตที่ปราศจากการยึดติดหรือลุ่มหลงไปกับสิ่งใดใดอย่างสุดโต่ง  ความมีอิสรภาพทำให้สมรรถภาพในความคิดมีความยึดหยุ่นสูง  สามารถระดมเอาสรรพความรู้จากหลายศาสตร์มารวมกันได้อย่างทันทีทันใดและสามารถผสมผสานกันในรูปแบบของการบูรณาการได้อย่างรวดเร็ว

                นวัตกรที่ดีต้องคำนึงถึง function ที่มีลักษณะเป็น cross  function  อันหมายถึงการคิดหรือการทำงานแบบองค์รวมซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ  ได้ผลดีกว่าการทำงานแบบไซโลหรือแบบเดี่ยวเพียงด้านเดียว

                นอกจากนี้อาจารย์ได้เปรียบเทียบให้เห็นลักษณะแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหารได้อย่างชัดเจน ทำให้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับวิธีคิดหรือความเชื่อในความหมายของผู้นำกับผู้บริหารทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ

                อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนในการพัฒนาของสังคมไทยเราหลายประเด็น เช่น สังคมเราขาดการ share ความรู้ร่วมกัน  การบริหารที่เป็นแบบสั่งการหรือ top  down   ขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีมแบบเครือข่าย  เป็นองค์กรที่ทำงานมากแต่คิดแบบเป็นยุทธศาสตร์น้อย   เป็นต้น

                อีกบทเรียนหนึ่งที่เป็นแก่นของเนื้อหาในครั้งนี้คือสาระจากการดูรายการสนทนาใน CDที่อาจารย์นำมาเป็นสื่อการสอน  จากเนื้อหาการสนทนาทำให้มองเห็นว่าผู้นำหรือผู้ใหญ่ในประเทศไทยเรายังมองเห็นนวัตกรรมเป็นเรื่องของเครื่องมือหรือผลิตผลทางวิศวกรรมศาสตร์ผมพยายามลุ้นอยู่ในใจลึกๆว่าอย่าให้สรุปด้วยความหมายเช่นนี้เลย  ในที่สุดอาจารย์ก็ได้เสริมแทรกความหมายของนวัตกรรมที่เน้นว่าเป็นเรื่องของมนุษย์เป็นสำคัญ  ความสำนึกและจิตวิญญาณในความเป็นมนุษย์จะนำไปสู่นวัตกรรมและความสำเร็จในการดำเนินงาน  ตรงนี้แหละครับที่ผมสรุปและประเมินได้ว่า เป็นแก่นหรือสัจจะของโลกที่อาจารย์ได้กรุณามาชี้นำได้อย่างตรงประเด็นทำให้เห็นความจริง  ต้องขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

                                     

จากศิษย์

นายวิวรรธน์  จันทร์เทพย์

นักศึกษา ป.เอก มหาวิทยาลัยศิลปากร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท