คลองขลุงเด่นเครือข่ายดังแผนกลุ่มดี


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

          นับว่าเป็น Best  Practice  อีกรูปแบบหนึ่งในการทำงานกับกลุ่มอาชีพทางด้านการเกษตร ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 

         วันที่ 19 มิถุนายน 2550 ผมและ อ.สิงห์ป่าสัก ได้ร่วมกับทีมงานประกอบด้วย คุณกมลรัตน์ นาคคำ (นวส.7ว) คุณสราญจิตต์ หรุ่นขำ (นวส.7ว) เดินทางออกจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เวลา 09.00 น. เศษ เพื่อไปร่วมกับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง โดยมี CKO ระดับอำเภอ (คุณประยงค์ แว่นทอง : เกษตรอำเภอคลองขลุง) พร้อมด้วย คุณสุภาพ อุ่นเรือน นวส.6ว (รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอ) ได้ให้การต้อนรับด้วยบรรยากาศที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส

กระบวนการที่ได้ดำเนินการในวันนี้    ขั้นที่ 1 คุณอำนวยระดับอำเภอ คือ คุณสุภาพ อุ่นเรือน ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในวันนี้ ได้แนะนำทีมที่มาจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมได้แจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการกลุ่มตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 กลุ่มๆ ละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน

        ขั้นที่ 2 คุณสิงห์ป่าสัก ได้เปิด VCD จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) ปัญหามาปัญญามี (2) ชุมชนไม้เรียง (3) โรงสีข้าวชุมชนทุ่งมหาศาล จากนั้นมีการสรุปจากการได้เรียนรู้ร่วมกันจากการที่ได้ชม VCD เพื่อเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน

        ขั้นที่ 3 คุณกมลรัตน์ นาคคำ หนึ่งในทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ได้สร้างความเข้าใจ ในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. วิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญของการทำการประเมินศักยภาพของกลุ่มที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้ใช้เทคนิคการประเมินตนเองแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้กลุ่มมองเห็นศักยภาพของกลุ่ม ว่าอยู่ในระดับใด

        ขั้นที่ 4 คุณสิงห์ป่าสัก ได้นำเสนอเนื้อหาทางวิชาการพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์แผน คือ SWOT ANALYSIS

        ขั้นที่ 5 มีการแบ่งกลุ่มย่อย โดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมของกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ (1) กลุ่มผู้เลี้ยงโค (2) กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (3) กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีประเด็นของการแบ่งกลุ่ม คือ (1) การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS (2) การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ จากนั้นก็เปิดโอกาสให้ประธานกลุ่มอาชีพ จำนวน 3 กลุ่ม ได้นำเสนอโดยใช้เทคนิคเล่าเรื่อง จำนวน 3 เรื่อง คือ

(1) เรื่องการเลี้ยงโคขุน

(2) เรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (ข้าวกล้อง)

(3) เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

เมื่อเสร็จสิ้น เวลา 16.00 น. ทางทีมงานสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ขอตัวเดินทางกลับ

แหล่งความรู้

        (1) เรื่องการเลี้ยงโคขุน นายผล จันทา อยู่บ้านเลขที่ 17/1 หมู่ 7 บ้านสามแยก ตำบลวังบัว อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

        (2) เรื่องการแปรรูปข้าวกล้อง นางสมบรูณ์ บัวแปง อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 10 บ้านทุ่งหันตรา ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

                     (3) เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นายสมปอง เข็มเพชร อยู่บ้านเลขที่ 10 หมู่ 3 บ้านแม่ลาดน้อย ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

หมายเลขบันทึก: 105238เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โอกาสต่อไปผมจะบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกชาวบ้านให้ทำสวอท เพื่อเสริมกับบันทึกนี้ให้นะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ที่สุราษฎร์ฯ งานวิสาหกิจ เริ่มเดินทางไปทีละก้าว แล้วครับ

สวัสดีครับ อ.สิงห์ป่าสักและหนุ่มร้อยเกาะ   ต้องขอขอบคุณครับที่มาแวะเยี่ยม  หากมีอะไร จะแนะ  จะนำ ก็เชิญเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท