แม่ครับ...คนเราเกิดมาทำไมครับ


คนเราเกิดมาทำไม

   จากความเข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตของแม่เอง คนเราน่าจะเกิดมาเพื่อทำความดี และแก้ไขปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น จนกว่าจะหมดกิเลส หรือปราบกิเลสในตัวได้หมด  พ้นจากทุกข์อย่างถาวร เข้านิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด  ตราบใดยังปราบกิเลสในตัวเองยังไม่หมด ก็ยังต้องเกิดต่อไป

   เมื่อลูกได้ใช้ชีวิต และศึกษาความจริงของชีวิต ลูกก็จะได้รับการพัฒนาตัวตนของตนเอง เกิดการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น และเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับชีวิต อย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง ตรัสรู้ คือ การศึกษาความจริงของชีวิต และเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

   ดังนั้นอะไรคือเป้าหมายชีวิตที่แท้จริง ของชีวิตคนเรา ถ้าลูกได้คำตอบว่า การเดินไปสู่การพ้นจากทุกข์อย่างถาวร คือไม่มาเวียนว่ายตาย-เกิดอีกต่อไป อย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง นิพพาน 

  ถึงจุดนี้แล้ว เรื่องแรกที่แม่อยากให้ลูกนึกถึง คือ ทำอย่างไรจึงจะได้เชื่อว่า เป็นคนดี  ซึ่งหลักการฝึกตนเบื้องต้นให้เป็นคนดีขั้นพื้นฐาน ก็คือ ศีล 5  ถ้าอยากเรียนรู้ก็อ่านด้านล่าง แต่ถ้ายังไม่พร้อมก็ถือหลักการเอาใจเขามาใส่ใจเราที่แม่ว่าไปก่อน คือ อยากให้เขาทำอย่างไรกับเราจงทำอย่างนั้นกับเขา ไม่อยากให้เขาทำยังไงกับเราก็จงอย่าไปทำอย่างนั้นกับเขา  

        ศีล 5 หรือ เบญจศีล (ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน — the Five Precepts; rules of morality)
       1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการปลงชีวิต, เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน — to abstain from killing)
       2. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้, เว้นจากการลักโกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน — to abstain from stealing)
       3. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน — to abstain from sexual misconduct)
       4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง — to abstain from false speech)
       5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ — to abstain from intoxicants causing heedlessness)

       ศีล 5 ข้อนี้ ในบาลีชั้นเดิมส่วนมากเรียกว่า สิกขาบท 5 (ข้อปฏิบัติในการฝึกตน — training rules) บ้าง ธรรม 5 บ้าง เมื่อปฏิบัติได้ตามนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล คือเป็นเบื้องต้นที่จัดว่าเป็นผู้มีศีล (virtuous) คำว่า เบญจศีล ที่มาในพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ชั้นอปทาน และพุทธวงส์ ต่อมาในสมัยหลัง มีชื่อเรียกเพิ่มขึ้นว่าเป็น นิจศีล (ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ — virtues to be observed uninterruptedly) บ้าง ว่าเป็น มนุษยธรรม (ธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ — virtues of man) บ้าง
 

หมายเลขบันทึก: 104889เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท