การเรียนชุมชน คือการหัดมองโลกด้วยสายตาที่แตกต่าง


คนเราใช้ชีวิตแบบเดิมๆ

พบปะผู้คนเดิมๆ

เลือกที่จะเสพสื่อ ข้อมูล จากแหล่งเดิมๆ

ทีวีรายการเดิม คลื่นวิทยุเดิม website เจ้าประจำ แมกกาซีนหัวเดิมๆ

สิ่งเหล่านี้ถักทอ ก่อสานให้เรามี "โลกทัศน์" คือ วิธีที่เรามองโลกอย่างหนึ่ง

อาจเรียกได้ว่า มีกรอบ หรือวิธีการมองโลกของเราผ่านการหล่อหลอมจากวิถีชีวิตของเราและสื่อที่เราเสพ

เราให้ความหมายของสิ่งต่างๆ ตามที่เราถูกสร้างมา, เราคาดหวังสิ่งต่างๆ ตามความหมายที่เราให้นั้น

เปิดก๊อกแล้วต้องมีน้ำไหลออกมา, ผู้หญิงต้องมีรักแร้ขาวเนียน, ปลา ไก่ เป็นชิ้นเนื้อที่อยู่ในจาน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ต้องฆ่าเสียก่อนจึงจะกินได้ หรือแม้แต่ คนเรามีหน้าที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย

เรื่องเหล่านี้เป็น "ความจริง" ที่ถูกเราสร้างขึ้น จากกรอบในการมองโลกของเรา

การเรียนชุมชนเป็นโอกาสที่จะได้ "เขย่า" มุมมองของเราเสียใหม่

เพราะการได้ไปอยู่ในชุมชนเป็นเวลาหลายๆ วันเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเดิมๆ ของเรา ทำให้เราเห็น รู้สึกกับสภาพแวดล้อมใหม่

ไปเข้าใจ "ความจริง" อีกแบบ

ความจริงประเภทที่ว่า น้ำไม่ได้เป็นผลผลิตของก๊อกน้ำ แต่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่คนต้องไปจัดการกับมันเสียก่อนจะเอามาใช้

ความจริงประเภทที่ว่า จะเนื้อที่เราจะกินได้มาจากสัตว์ที่เราลงมือฆ่าเอง

เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับคำถามในกลุ่มย่อยที่ผมถามนักศึกษาว่า Matrix คืออะไร

แล้วให้นักศึกษาไปดูภาพยนต์ the Matrix เพื่อให้ได้คำตอบ

ในฐานะครู ก็ได้แต่คาดหวังว่า นักศึกษาจะแลกเปลี่ยน กรอบการมองโลกของตัวเอง กับเพื่อนๆในกลุ่ม กับอาจารย์ประจำกลุ่ม

เมื่ออยู่ในพื้นที่ฝึก ก็ไม่อยากให้นักศึกษาใช้วิธีคิด"เดิมๆ" มาใช้

อยากให้ไปสัมผัสผู้คน และธรรมชาติ เพื่อเปลี่ยนกรอบในการมองโลกของตัวเอง

ไปหัดมองโลกด้วยสายตาอีกแบบหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 104886เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่อ.ปิยะหรืออ.สุธีค่ะ? : )

 

 

ฮ่าๆ

เป็นอาจารย์สุธีที่แอบไปเข้ากลุ่มกับนักศึกษามาครับผม อาจารย์มัทนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท