ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ทำอย่างไรจึงจะพอเพียง


ความพอเพียงมีหลายระดับ เพียงแต่ว่าจะเป็นความพอเพียงของใคร แต่ไม่ว่าจะอยู่ระดับใด ประเด็นสำคัญผมว่ามันอยู่ที่ใจ

หลายคนบอกว่ามันไม่มีหรอกเมืองพอ มันมีแต่เมืองพลนั่นแหละ...เออ...จริงซิเน๊าะ ...แต่ไม่ใช่... สิ่งที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ก็คือว่าความพอเพียงในการเกษตรนั้นมันอยู่ที่ใด?

จากโจทย์ดังกล่าว ก็มักจะมีคำคำถามซ้อนตามมาครับว่า

1. พี่น้องเกษตรกรจะต้องมีที่ดินเท่าไหร่ กี่ไร่ล่ะจึงจะพอเพียงในการทำเกษตรกรรมเลี้ยงชีวิตให้พออยู่พอกินได้

2. จะมีวิธีการผลิตอย่างไรในพื้นที่ที่มีอยู่ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างความสุข

3. จะมีวิธีการจัดการผลผลิตอย่างไร จึงจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4. จะมีวิธีการปลดเปลื้องหนี้สินได้อย่างไร

จากโจทย์ดังกล่าวเป็นปัญหาที่ถกกันแล้วถกกันเล่าก็ไม่สามารถหาทางออกได้ซักที ซึ่งผมก็ไม่อยากให้เป็นปัญหา "อมตะนิรันดร์กาล" เพราะผมยังเชื่อว่านักวิชาการไทยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และสามารถช่วยให้พี่น้องเกษตรกรหลุดพ้นจากวิบากกรรมนี้ได้ เพียงแต่ว่าท่านเหล่านั้นอาจจะยังไม่ได้ทุ่มกำลังกาย และกำลังใจลงมาช่วยอย่างจริงจัง และจริงใจ เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามเส้นทางสู่ความพออยู่พอกิน และการปลดหนี้ ของพี่น้องเกษตรกร ก็คงยังไม่ถึงทางตัน เพราะมีอีกหลายเส้นทางในการที่เราจะก้าวเดินต่อไป  แต่วันนี้ผมใคร่ขออนุญาตในการที่จะเล่าถึงแนวคิดของพันธมิตรทางวิชาการของผมอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ต่อสู้กับชีวิตมาโดยตลอด มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน อาสามาทำแปลงเรียนรู้ในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ท่านผู้นั้นคือ......คุณธงชนะ   พรหมมิ

คุณธงชนะ เป็นเกษตรกรที่ผลิตผักปลอดสารเคมี แบบประณีต ซึ่งได้รับตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร คุณธงชนะ ผลิตพืชผักบนพื้นที่ 1 - 2 ไร่ ในการเลี้ยงครอบครับให้พออยู่พอกิน สามารถหมุนเวียนขายพืชผักให้มีรายได้สัปดาห์ละประมาณ 7,000 บาท 

แนวคิดต่อกระบวนการผลิต ในระบบการผลิตของคุณธงชนะ ใช้หลักการที่ว่า

1. ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. ปลูกพืชที่หลากหลาย

3. ปลูกพืชหมุนเวียน

4. ที่สำคัญต้องปรับปรุงบำรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

5. และสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพืชผักที่ปลูก ไม่ว่าจะเป็น คะน้า กะหล่ำ แตง พริก มะเขือ ฯลฯ จะมีความสวยงาม กรอบ รสชาติดีไม่มีพวกแมลงต่างๆ รบกวน และที่สำคัญผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคอีกต่างหาก

จากแนวคิดของคุณธงชนะ ดังที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการทำการเกษตรแบบประณีตเพื่อให้เกิดความพอเพียงในครอบครัวของตนเอง แต่ผมมองว่าการวางแผนการผลิตที่ดีเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถดำรงอยู่อย่างพอเพียงได้นอกจากผู้ผลิตต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะต้อง "ละอบายมุข" และมีจิตจิตวิญญาณที่อยู่บนฐานของความพอเพียง ก็จะทำให้เราสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

18 มิถุนายน 2550

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 104273เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาดูครับ
  • คุณอุทัยเป็นอะไรครับ
  • อาการดีขึ้นบ้างหรือยังครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต ที่เป็นห่วง
  • Accident นิดหน่อยครับ ขับรถยนต์แล้วหลับในครับ
  • ตอนนี้กำลังพักฟื้นอยู่ที่อุบลฯ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท