รายงานความก้าวหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดราชบุรี


วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนดังกล่าว มุ่งที่จะให้ประชาชน และครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้ โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวเคลื่อน

 

การประชุมหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดราชบุรีครั้งที่ 4/2550

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2550 ณ. ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3  

องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี        

การขับเคลื่อนนโยบายอยู่ดีมีสุข จังหวัดราชบุรี  ได้มีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 56 ล้านบาท ตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จากที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ พฤศจิกายน 2549ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภายใต้ กรอบความยั่งยืน และความพอดี รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด เป็นกรอบใหญ่ของการพัฒนา หมู่บ้าน และชุมชน

การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา 5 กลุ่มคือ

1.     งบประมาณตามภารกิจ (Function) ของกระทรวง กรม ต่างๆ จำนวน 57,000 ล้านบาทลงสู่จังหวัดทุกจังหวัด

2.     งบสวัสดิการชุมชน จำนวน 500 ล้านบาท ซึ่งจัดสรรผ่านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3.  งบประมาณตามโครงการขจัดความยากจน และพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดในการจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) จำนวน 300,000 บาท

4.   งบประมาณขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด โดยสภาพัฒน์เป็นเจ้าของเรื่องมีงบประมาณทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท

 5.  งบประมาณตามโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยมีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าของเรื่อง ซึ่งจังหวัดราชบุรียังไม่ได้รับแจ้งงบประมาณตามช่องทางนี้ 

สำหรับหลักการสำคัญการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด

1.   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 ได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

·       จัดสรรงบประมาณในส่วนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวน 5,000 ล้านบาท ไปตั้งจ่ายที่กระทรวงมหาดไทย

·   วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนดังกล่าว มุ่งที่จะให้ประชาชน และครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้ โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวเคลื่อน

·   มอบให้กระทรวงมหาดไทย รวมกับสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำแนวทางการดำเนินงาน และระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ และการใช้จ่ายเงิน

2.   แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ระดับจังหวัดมีแนวทางการดำเนินการ สรุป ได้ดังนี้

·   กลไกการขับเคลื่อน (จัดทำแผนงาน/โครงการ) แผนยุทธศาสตร์นี้ คือหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน / ชุมชน ที่ได้รับฉันทามติจากประชาคมหมู่บ้าน/ ชุมชน จำนวน 12-15 คนเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และเสนอโครงการ การจัดซื้อ จัดจ้าง การเบิกจ่าย การควบคุม การติดตามผลการดำเนินงานอย่างครบวงจร

·       กลไกสนับสนุน ประกอบด้วย

1.   คณะกรรมการระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ มีนายอำเภอเป็นประธาน ทำหน้าที่ในการบูรณาการ กลั่นกรอง จัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงาน โครงการที่เสนอมาจาก หมู่บ้าน/ชุมชน

2.   คณะกรรมการระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหน้าที่บูรณาการ กลั่นกรอง อนุมัติแผนงาน โครงการ งบประมาณ และการติดตามผลการดำเนินงาน         

3.  กรอบแผนงาน หมู่บ้าน/ชุมชน จะต้องเสนอโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด มีกรอบแผนงาน 5 ด้านคือ

1.       แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

2.       แผนงานพัฒนา และสร้างโอกาสให้ชุมชน

3.       แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน

4.       แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและ

5.       แผนงานการบริหารขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน

4. หน่วยดำเนินการ

·       หมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการเอง

·       หมู่บ้าน/ชุมชน มีมติให้หน่วยราชการ ร่วมกับชุมชนดำเนินการร่วมกัน

·   หมู่บ้าน/ชุมชน มีมติให้หน่วยราชการเป็นหน่วยดำเนินการซึ่งหน่วยราชการหมายถึง หน่วยงานของราชการที่เป็นระดับภูมิภาคไม่ว่าจะในระดับจังหวัดและอำเภอ หรือ หน่วยงานของส่วนราชการ ส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในจังหวัด (หน่วยงานท้องถิ่น มิได้ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยดำเนินการ

5. ขั้นตอนการดำเนินการ

·       หมู่บ้าน/ชุมชน เสนอโครงการเพื่อให้จังหวัดอนุมัติโดยผ่านคณะกรรมการระดับอำเภอ

·   คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอกลั่นกรองให้เป็นไปตามกรอบ 5 แผนงาน และจัดลำดับความสำคัญแล้วเสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด

·  คณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติโครงการแล้วแจ้งทางอำเภอ

·   อำเภอแจ้งหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ และเปิดบัญชีธนาคารออมสิน หรือ ธกส.ในพื้นที่ให้ใช้ชื่อบัญชีว่า โครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด พ.ศ. 2550 หมู่บ้าน/ชุมชน แล้วนำเลขที่บัญชีรายงานจังหวัด

·   จังหวัดโอนงบประมาณเข้าบัญชีหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน เบิกจ่าย โดยให้คณะกรรมการระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารงบประมาณและการใช้จ่ายเงินสำหรับดำเนินโครงการฯ ปี 2550

6.       การรายงานผล

·       หมู่บ้าน/ชุมชน รายงานผลตามแบบรายงานให้อำเภอภายในวันที่ 5 ของเดือน

·       อำเภอรายงานจังหวัดตามแบบรายงานภายในวันที่ 10 ของเดือน

·       จังหวัดรายงานส่วนกลางภายในวันที่ 15 ของเดือน สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ จังหวัดได้แจ้งให้อำเภอดำเนินการสนับสนุน และเป็นพี่เลี้ยงให้หมู่บ้าน/ชุมชน จัดทำแผนงาน/โครงการ ตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้อำเภอจะได้กลั่นกรองโครงการและจัดส่งให้จังหวัดภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 และคณะกรรมการระดับจังหวัดจะรายงานให้ส่วนกลางทราบภายในภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 100917เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท